สแกนผลงาน หุ้นยักษ์ใหญ่ Market Cap สูงสุดใน 10 หมวดธุรกิจ ใครแกร่งสุด
สแกนผลงาน หุ้นยักษ์ใหญ่ Market Cap สูงสุดใน 10 หมวดธุรกิจ "นักวิเคราะห์" แนะ ตลาดหุ้นไทยเดือนเม.ย. - พ.ค.67 ยังแก่วงตัวไซด์เวย์ คาดครึ่งปีหลังตลาดหุ้นไทยฟื้น เศรษฐกิจดี
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีการจัดกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจของบริษัทจดทะเบียน เพื่อให้บริษัทที่ประกอบธุรกิจใกล้เคียงกันได้อยู่ในหมวดเดียวกัน เพื่อความเหมาะสมในการเปรียบเทียบระหว่างกันและเป็นข้อมูลด้านการลงทุนได้อย่างเหมาะสม
โดยแนวทางการจัดกลุ่มนั้นให้สามารถสะท้อนประเภทธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนได้ชัดเจน และสะท้อนให้เห็นถึงอุตสาหกรรมของประเทศได้มากขึ้น ในแต่ละ Sector ที่ผ่านมา 3 เดือนของปี 2567 ผลงานเป็นอย่างไร
สรพล วีระเมธีกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย ให้ข้อมูลกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า ไตรมาสแรกของปี 2567 ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า ตลาดหุ้นไทยยังแกว่งตัวในกรอบ Sideway 1,355 - 1,400 จุด หลัก ๆ มาจากต่างชาติที่ขายทำกำไรไปกว่า 7 หมื่นกว่าล้านบาท
ทั้งนี้หากดูในช่วงตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ต่างชาติขายทำกำไรใน 3 Sector ได้แก่ กลุ่มพลังงาน กลุ่มค้าปลีก และกลุ่มแบงก์ และซื้อกลุ่ม ICT และสามารถฟื้นตัวได้บ้าง ขณะที่ค่าเงินบาทแกว่งตัวอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้หุ้นใน SET50 ค่อนข้าง Perform ได้ยาก และระมัดระวังในการขายออกของกลุ่มธนาคารด้วย
โดยมองว่า หลังจากนี้เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2567 ภาพรวมของตลาดหุ้นไทยยังคงไม่ต่างจากไตรมาส 1/67 ยังคงแกว่งตัวในกรอบ 1,355 - 1,400 จุด ส่วนในเดือนมิถุนายน และครึ่งปีหลัง 2567 เป็นต้นไป ตลาดหุ้นไทยคาดว่า จะสามารถปรับตัวขึ้นมาได้
ทั้งนี้การฟื้นตัวของตลาดหุ้นไทยในช่วงครึ่งปีหลังมาจาก 3 สาเหตุ คือ 1.ตัวเลขการฟื้นตัวส่งออกของประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา โดยเฉพาะจีน สหรัฐฯ ดูดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ เพราะฉะนั้นส่งออกที่ประมาณการไว้ที่จะโตแค่ 2% อาจจะยังมีอัพไซด์ 2. ตัวเลขงบประมาณที่จะเข้ามาเต็มในช่วงไตรมาส 3/67 เป็นต้นไป เทียบกับ QoQ มากกว่าไตรมาส 1 และไตรมาส 2/67 อย่างมีนัยสำคัญเป็นเท่าตัว และ 3.Valuation ของบ้านเราที่ ณ ปัจจุบันเทรดอยู่ที่ประมาณ 4 เท่า น่าจะ Laggard แล้ว
ขณะที่เศรษฐกิจจีนมองว่าจะฟืิ้นตัวในกลางปีนี้เป็นต้นไป แน่นอนว่า ไทยจะได้ประโยชน์โดยตรง จาก พ.ร.บ.งบประมาณ และเม็ดเงินก่อสร้าง รวมถึง จีดีพีส่งออกของจีนที่ฟื้น
“ในระยะสั้น ๆ เมษายน แนะนำให้นักลงทุนติิดตามในวันที่ 10 เมษายนนี้ ว่าเม็ดเงินดิจิทัลวอเล็ตจะมาจากไหน และกนง.จะลดอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ เบื้องต้นคิดว่า หุ้นขนาดใหญ่ยังไม่น่า Perform เนื่องจากว่าในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ และมีนาคม 2567 หุ้นใหญ่ไม่ Perform แต่หุ้นกลาง และเล็กวิ่งได้หลายตัวประมาณ 20 -30% จึงมองว่า ภาพการซื้อขายน่าจะคล้าย ๆ กัน ยังคงเบาบาง”
ขณะเดียวกันหุ้น กลุ่มขนาดกลาง และขนาดเล็กที่น่าติดตาม เนื่องจากได้พึ่งพิงนักลงทุนต่างชาติ มองเป็นกลุ่มไฟแนนซ์ และ กลุ่ม F&B หากให้เลือกเป็นรายตัวมองเป็นหุ้น OSP AEONTS MTC และ SAK
ธนวัฒน์ รื่นบันเทิง หัวหน้านักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์(บล.) ทิสโก้ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หุ้นไทยตั้งแต่ต้นปี 2567 ลงไป 3.6% ซึ่ง Sector ที่ออกมาแย่กว่าคาด คือ อิเล็กทรอนิกส์ แบงก์ และฟู้ด ซึ่งมีผลมาจากงบไตรมาส 4/66 ออกมาไม่ค่อยดีนักหรือต่ำกว่าคาด จึงทำให้มีแรงเทขายทำกำไรออกมา ในขณะที่อีกฝั่งที่ทำได้ดี เช่น กลุ่มโรงแรม กลุ่มปิโตรเคมี และเฮลแคร์ ซึ่งงบออกมาค่อนข้างดี แม้ว่าตลาดหุ้นไทยจะเป็นลบก็ตาม
“กลุ่มโรงแรม หรือกลุ่มเฮลแคร์ ยังสามารถ Perform ได้จากงบที่ออกมาดี และเมื่อมองไปข้างหน้าผลประกอบการปีนี้ก็น่าจะยังดีอยู่เช่นกัน เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเข้ามาช่วยใช้บริการทำให้กำไรจะดูดีขึ้น”
โดยมองว่า หลังจากนี้ไปหากเทีียบจากงบการเงินที่ออกมาถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เซกเตอร์นั้น ๆ Perform หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจเป็นหลักด้วย เมื่อเศรษฐกิจแย่มาจากแรงขับเคลื่อนจากภาครัฐค่อนข้างน้อย ซึ่งมาจากการ พ.ร.บ.งบประมาณล่าช้า แต่เมื่อได้เห็นความชัดเจนแล้วจะทำให้เศรษฐกิจกลับมาดีขึ้น
จึงมองตลาดหุ้นไทยต่อจากนี้ในช่วงปลายไตรมาส 2/67 เป็นต้นไป เมื่อมีพ.ร.บ.งบประมาณแล้ว หุ้นไทยน่าจะกลับมารีบาวน์ได้ กลุ่มที่ลิงค์กับกลุ่ม DOMESTIC เช่นกลุ่มค้าปลีก ต้องยอมรับว่าช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจแย่ ทำให้ยอดขายไม่ดี หากเศรษฐกิจกลับมาดียอดขายก็จะกลับมาดีด้วย
ทั้งนี้ นักลงทุนสามารถเริ่มเข้าไปสะสมหุ้นได้รอไปขายในช่วงเศรษฐกิจเริ่มฟื้นหรือหุ้นเริ่มฟื้นขึ้นมาแล้ว ซึ่งหุ้นที่สนใจมี 4 หลักทรัพย์คือ CPALL BJC HMPRO และ MC
“กรุงเทพธุรกิจ” ได้รวบรวมข้อมูล 10 SECTOR ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงสุด ใครแข็งแกร่งสุดณ (ข้อมูล ณ วันที่ 3 เมษายน 2567)
1. ENERG (พลังงาน-สาธารณูปโภค) มูลค่า 9,770.01 ล้านบาท
- บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT
- มาร์เก็ตแคป 971,141.87 ล้านบาท
- ผลตอบแทนราคา YTD -4.90%
- อัตราเงินปันผล YTD 5.88%
- P/E 8.67 เท่า
- P/BV 0.87 เท่า
- กำไรสุทธิปี 2566 ที่ 112,023.88 ล้านบาท
- ราคา 52 สัปดาห์ สูงสุด/ต่ำสุด 36.50 / 29.75 บาท
2. COMM (พาณิชย์) มูลค่า 4,597.13 ล้านบาท
- บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL
- มาร์เก็ตแคป 485,087.47 ล้านบาท
- ผลตอบแทนราคา YTD -3.57%
- อัตราเงินปันผล YTD 1.85%
- P/E 26.25 เท่า
- P/BV 4.37 เท่า
- กำไรสุทธิปี 2566 ที่ 18,482.13 ล้านบาท
- ราคา 52 สัปดาห์ สูงสุด/ต่ำสุด 67.75 / 50.50 บาท
3. ICT (เทคโนโลยีสารสนเทศฯ) มูลค่า 3,617.25 ล้านบาท
- บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC
- มาร์เก็ตแคป 603,764.58 ล้านบาท
- ผลตอบแทนราคา YTD -6.45%
- อัตราเงินปันผล YTD 4.24%
- P/E 20.76 เท่า
- P/BV 6.67 เท่า
- กำไรสุทธิปี 2566 ที่ 29,086.11 ล้านบาท
- ราคา 52 สัปดาห์ สูงสุด/ต่ำสุด 231.00 / 200.00 บาท
4. BANK (ธนาคาร) มูลค่า 6,597.14 ล้านบาท
- บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB
- มาร์เก็ตแคป 383,850.23 ล้านบาท
- ผลตอบแทนราคา YTD +7.55%
- อัตราเงินปันผล YTD 9.07%
- P/E 8.82 เท่า
- P/BV 0.80 เท่า
- กำไรสุทธิปี 2566 ที่ 43,521.33 ล้านบาท
- ราคา 52 สัปดาห์ สูงสุด/ต่ำสุด 118.50 / 95.50 บาท
5.TRANS (ขนส่งและโลจิสติกส์) มูลค่า 2,189.14 ล้านบาท
- บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT
- มาร์เก็ตแคป 935,713.35 ล้านบาท
- ผลตอบแทนราคา YTD +9.62%
- อัตราเงินปันผล YTD 0.55%
- P/E 71.92 เท่า
- P/BV 8.14 เท่า
- กำไรสุทธิปี 2566 ที่ 4,563.03 ล้านบาท
- ราคา 52 สัปดาห์ สูงสุด/ต่ำสุด 74.25 / 58.00 บาท
6. FOOD (อาหารและเครื่องดื่ม) มูลค่า 1,577.37 ล้านบาท
- บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF
- มาร์เก็ตแคป 152,285.59 ล้านบาท
- ผลตอบแทนราคา YTD -7.65%
- อัตราเงินปันผล YTD -%
- P/E - เท่า
- P/BV 0.62 เท่า
- กำไรสุทธิปี 2566 ที่ -5,207.35 ล้านบาท
- ราคา 52 สัปดาห์ สูงสุด/ต่ำสุด 22.10 / 17.00 บาท
7. PROP (พัฒนาอสังหาริมทรัพย์) มูลค่า 2,333.59 ล้านบาท
- บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN
- มาร์เก็ตแคป 283,866.00 ล้านบาท
- ผลตอบแทนราคา YTD -9.64%
- อัตราเงินปันผล YTD 2.85%
- P/E 18.85 เท่า
- P/BV 3.08 เท่า
- กำไรสุทธิปี 2566 ที่ 15,061.62 ล้านบาท
- ราคา 52 สัปดาห์ สูงสุด/ต่ำสุด 71.75 / 60.50 บาท
8. HELTH (การแพทย์) มูลค่า 1,559.59 ล้านบาท
- บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) หรือ BDMS
- มาร์เก็ตแคป 452,922.05 ล้านบาท
- ผลตอบแทนราคา YTD +2.70%
- อัตราเงินปันผล YTD 2.46%
- P/E 31.51 เท่า
- P/BV 4.76 เท่า
- กำไรสุทธิปี 2566 ที่ 14,375.27 ล้านบาท
- ราคา 52 สัปดาห์ สูงสุด/ต่ำสุด 30.75 / 25.00 บาท
9. FIN (เงินทุนและหลักทรัพย์) มูลค่า 1,120.00 ล้านบาท
- บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC
- มาร์เก็ตแคป 117,314.20 ล้านบาท
- ผลตอบแทนราคา YTD +4.60%
- อัตราเงินปันผล YTD 2.79%
- P/E 16.08 เท่า
- P/BV 3.29 เท่า
- กำไรสุทธิปี 2566 ที่ 7,295.39 ล้านบาท
- ราคา 52 สัปดาห์ สูงสุด/ต่ำสุด 57.00 / 40.50 บาท
10. CONMAT (วัสดุก่อสร้าง) มูลค่า 650.68 ล้านบาท
- บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) หรือ SCC
- มาร์เก็ตแคป 310,800.00 ล้านบาท
- ผลตอบแทนราคา YTD -15.36%
- อัตราเงินปันผล YTD 2.32%
- P/E 11.99 เท่า
- P/BV 0.85 เท่า
- กำไรสุทธิปี 2566 ที่ 25,914.98 ล้านบาท
- ราคา 52 สัปดาห์ สูงสุด/ต่ำสุด 340.00 / 249.00 บาท