ธรรมะ 7 ข้อ ลงทุนในหุ้นอย่างมีความสุข ที่นักลงทุนต้องอ่าน

ธรรมะ 7 ข้อ ลงทุนในหุ้นอย่างมีความสุข ที่นักลงทุนต้องอ่าน

การลงทุนในหุ้น หรือการลงทุนอื่น ๆ อย่างมีความสุข นักลงทุนควรยึดหลักธรรมะ คำสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งมี 7 ข้อ ถ้าลงทุนอย่างมีสติ รู้กำลัง รู้เท่าทันหน้าตักตนเอง โอกาสพลาดก็น้อยลง

วันนี้ 22 พฤษภาคม “วันวิสาขบูชา” ตรงกับขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งเกิดขึ้นในวันและเดือนเดียวกัน คือ ในวันเพ็ญ เป็นวันที่สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน โดยพุทธศาสนิกชนมักเข้าวัดทำบุญ และทำกิจกรรมที่นิยมกันมากคือ ตักบาตรเพื่อถวายแด่พระสงฆ์ การฟังพระธรรมเทศนา และเวียนเทียน 

ขณะเดียวกันการ"ลงทุนในหุ้น" หรือการลงทุนอื่น ๆ อย่างมีความสุข นักลงทุนควรยึดหลักธรรมะ คำสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งมี 7 ข้อดังนี้ 

คำสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งมี 7 ข้อดังนี้ 

1."สติ" อันเป็นบ่อเกิดของปัญญา คนส่วนใหญ่หมดตัวกับหุ้นก็เพราะอารมณ์โลภ โกรธ หลง อิจฉาริษยา แค้น เสียดาย เสียใจ เสียความรู้สึก โดยความรู้สึกเหล่านี้ แน่นอนว่าคนเดินดินธรรมดาทำได้ยาก แต่การมี “สติ” นั้นจะช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ลงได้บ้าง 

2."ความแน่นอน คือ ความไม่แน่นอน" (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) เหล่าบรรดานักลงทุนทั้งหน้าเก่า มือใหม่ต่างรับรู้ถึงสัจธรรมข้อนี้เป็นอย่างนี้  ยิ่งยามใดที่ราคาหุ้นเผชิญกับ "ความผันผวน" อันเกิดจากปัจจัยหลากหลายทั้ง เศรษฐกิจ การเมือง และอื่น ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ นั้นแหละ…ความไม่แน่นอน มาเยือนเราแน่ ๆ

3."การเดินสายกลาง" นั้นคือกลวีธีบริหารจัดการพอร์ตให้ "กระจายความเสี่ยง" อย่างเหมาะสม การลงทุนที่เสี่ยงเกินไปนั้น อาจจะทำให้เกิดหายนะ หรือการที่เราถือหุ้นน้อยตัวเกินไป ก็ไม่ดี เพราะผลตอบแทนที่ได้ก็จะไม่ได้ตามที่เราหวังและต้องการ ฉะนั้นเอาให้เหมาะให้ควรนั้นเอง

4. "อิทธิ บาท 4" ทำสิ่งใดให้ประสบความสำเร็จ ประกอบไปด้วย ฉันทะ หรือความพอใจ นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จต้องรักในการลงทุน วิริยะ หรือ ความพากเพียร ชัดเจนว่าต้องหาข้อมูลในการลงทุนในหุ้น หรือกองทุนที่หมายตาอ่านให้มากโอกาสพลาดยิ่งน้อย  จิตตะ หรือ ความฝักใฝ่เอาใจใส่ นักลงทุนที่ดีควรติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งตรวจสอบพื้นฐานของธุรกิจ และ วิมังสา หรือ ความไตร่ตรอง คือ หมั่นใช้ปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผลว่า เราจะซื้อหุ้นตัวนี้ กองทุนนี้ เพราะอะไร มีเหตุผลอะไรบ้าง เขียนใส่กระดาษ เปรียบเทียบข้อดี ข้อด้อยกันไปเลย

5."การปล่อยวาง" หรือ  อุเบกขา ธรรมะข้อนี้ ใช้ได้ดีมาก ๆ เมื่อเวลาหุ้นหรือสินทรัพย์เสี่ยงของเรา ไม่เป็นไปตามสิ่งที่หวังและตั้งใจจะมามัวนั่งเสียใจไม่ใช่ที่ เสียเวลาและเสียประโยชน์เราควรหักห้ามใจ ปล่อยวางมันไปคิดว่า มันไม่ใช่จังหวะของเรา ชีวิตเริ่มได้ใหม่เสมอ

6."ความโลภบังตา ตัณหาบังใจ" เมื่อครอบงำเราแล้ว "ความอยาก" จะตามติดๆ อยากรวยเร็วๆ เหมือนเพื่อนๆ อยากเล่นตัวไหนที่พุ่งปรี๊ดด เล่นหุ้นจัดหนัก อยากได้กำไรเยอะๆ แต่ได้ไม่ได้ศึกษาให้ถ่องแท้ สุดท้ายก็บัวแล้งน้ำ ฉะนั้นท่องไว้ ไม่โลภ พอเพียง ไม่โลภ พอเพียง

7."อย่าไปยึดมั่นถือมั่น" เราต้องเรียนรู้และเข้าใจ ในสัจธรรมข้อนี้ให้ดี เพราะใครก็ตามที่เคยสัมผัสกับความหอมหวานของกำไรในสินทรัพย์ที่ลงทุนไปแล้ว จะปลื้มปริ่มตามมาด้วยการติดอกติใจ เลิกยาก ส่วนผู้ใดอกหักรักคุดจากหุ้นตัวโปรดก็เก็บงำความคิดแค้น หมายมั่นแก้มือในหุ้นตัวต่อไป ฉะนั้นเอาแค่พองาม

อย่างไรก็ตาม การลงทุนในทุกรูปแบบ ล้วนแต่มีความเสี่ยงมากน้อยแตกต่างกันไป ถ้าลงทุนอย่างมีสติ รู้กำลัง รู้เท่าทันหน้าตักตนเอง โอกาสพลาดก็น้อยลงไปนั้นเอง