TRIS หั่นเครดิตเรตติ้ง EA ทันควัน จาก A- สู่ BBB+ เหตุ’การเงินถดถอย’

TRIS  หั่นเครดิตเรตติ้ง EA ทันควัน  จาก  A- สู่ BBB+ เหตุ’การเงินถดถอย’

ทริส "หั่น" เรตติ้ง EA จาก A- อยู่ที่ BBB+ และคงมุมมอง 'ลบ' สะท้อนหนี้สินเพิ่มสูง 5 เท่าในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ผลจากขยายเวลาชำระเงินให้ NEX - ไทยสมายล์บัสค้างชำระเงินกู้ และผลกระทบจากโรงไฟฟ้า พร้อมจับตาหนี้มีโอกาสตรึงตัวพุ่ง 6.5 เท่าหากไม่รีบแก้ไขส่อลดเครดิตอีกรอบ

      ทริสเรทติ้งรายงานลดอันดับเครดิตองค์กรของ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์จำกัด (มหาชน) หรือ EA และอันดับ เครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันชุดปัจจุบันของบริษัทเป็นระดับ “BBB+” จาก “A-” ในขณะที่ยังคงแนวโน้มอันดับเครดิต “Negative” หรือ “ลบ” เช่นเดิม

    และยังจัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันชุดใหม่ในวงเงินไม่เกิน 5.5 พันล้านบาท ของบริษัทที่ระดับ “BBB+” ด้วย โดยบริษัทจะนำเงินที่ได้รับจากการออกหุ้นกู้ในครั้งนี้ไปใช้ในการไถ่ถอนหุ้นกู้ที่กำลังจะครบกำหนดชำระในเดือนสิงหาคมและเดือนกันยายนที่จะถึงนี้

        การปรับลดอันดับเครดิตสะท้อนถึงการคาดการณ์ของทริสเรทติ้งว่าอัตราส่วนหนี้สินทางการเงิน ต่อ EBITDA ของบริษัทจะยังคงอยู่สูงกว่าเกณฑ์ในการปรับลดอันดับเครดิตของทริสเรทติ้งที่ระดับ 5 เท่าในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า

         โดยสถานะทางการเงินที่ถดถอยลงของบริษัทมีสาเหตุหลักมาจากยอดขายยานยนต์ไฟฟ้าที่ต่ำกว่าคาดและภาระหนี้สินของบริษัทที่อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง  จากการขยายระยะเวลาในการรับชำระเงินจากการจำหน่ายยานยนต์ไฟฟ้าให้แก่ บริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) หรือ NEX 

        นอกจากนี้ ทริสเรทติ้งยังมีความกังวลเกี่ยวกับ ความสามารถของ บริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด (TSB) ในการชำระคืนเงินกู้เช่าซื้อที่ค้างชำระแก่บริษัทจากการที่ TSB มีฐานะทางการเงินที่อ่อนแออีกด้วย อย่างไรก็ตาม อันดับเครดิตของ บริษัทยังคงมีปัจจัยสนับสนุนจากกระแสเงินสดที่คาดการณ์ได้ในระดับสูงและมีจำนวนมากจาก ธุรกิจผลิตไฟฟ้าของบริษัท   

    แนวโน้มอันดับเครดิต “Negative” หรือ “ลบ” สะท้อนถึงความเสี่ยงที่สถานะทางการเงินของบริษัทอาจอ่อนแอลงไปอีกเนื่องจากความไม่แน่นอนของแผนการเพิ่มยอดขายยานยนต์ไฟฟ้า โดยการตั้งเป้าหมายไปที่ลูกค้ากลุ่มใหม่และการมุ่งเน้นการจำหน่ายในพื้นที่ซึ่งมีความพร้อมด้าน สาธารณูปโภคที่ดีกว่า

      TRIS  หั่นเครดิตเรตติ้ง EA ทันควัน  จาก  A- สู่ BBB+ เหตุ’การเงินถดถอย’

     ไตรมาสแรกของปี 2567 EBITDA ของบริษัทลดลง 40% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยลดลง เหลือ 2.27 พันล้านบาทในขณะที่ภาระหนี้สินของบริษัทยังคงอยู่ที่ระดับ 6.42 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ การลดลงของกำไรมีสาเหตุหลักมาจากยอดขายยานยนต์ไฟฟ้าที่อ่อนแอลง รวมถึงการ สิ้นสุดลงของส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า (Adder) ของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของบริษัทที่จังหวัด นครสวรรค์และการปรับลดค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าFt)

     นอกจากนี้ ภาระหนี้สินของบริษัทยังคงอยู่ในระดับสูงซึ่งมีสาเหตุบางส่วนมาจากการขยายระยะเวลาในการเรียกเก็บชำระหนี้การค้าจาก NEX   โดย ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2567 มูลค่า    ลูกหนี้การค้าค้างชำระจาก NEX มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น ประมาณ 7 พันล้านบาทซึ่งเป็นลูกหนี้การค้าค้างชำระเกินกว่า 6 เดือนมีมูลค่าถึง 2.5 พันล้านบาท

     อันดับเครดิตยังคงมีข้อจำกัดจากการที่บริษัทมีความเสี่ยงด้านเครดิตของ TSB อย่างมีนัยสำคัญ โดยบริษัทมีการให้สินเชื่อเช่าซื้อแก่ TSB ที่มูลค่าถึงประมาณ 9.4 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือน มีนาคม 2567 ในขณะที่ผลการดำเนินงานของ TSB ยังคงอ่อนแอและต้องพึ่งพาการสนับสนุน ทางการเงินจากบริษัทแม่คือ บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) (BYD) เป็นอย่างมากใน การชำระหนี้ ในการนี้ ทริสเรทติ้งมีข้อสังเกตถึงความเป็นไปได้ที่บริษัทจะมีการส่งมอบรถ

     โดยสารไฟฟ้าอีกประมาณ 200-300 คันให้แก่ TSB ในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 เพื่อสนับสนุนการเดินรถในเส้นทางใหม่ ๆ ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจทำให้ บริษัทมีความเสี่ยงจากคู่ค้าเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากผลการดำเนินงานที่ยังอ่อนแอของ TSB ในอนาคตข้างหน้า

      ทริสเรทติ้งคาดว่าอัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อ EBITDA ของบริษัทน่าจะยังยืนอยู่ในระดับที่สูงกว่า 5 เท่าต่อไปซึ่งต่างไปจากที่ ทริสเรทติ้งเคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งเห็นว่าความเสี่ยงที่ตัวชี้วัดด้านเครดิตของบริษัทอาจจะด้อยลงต่อไปอีกเนื่องจากผลของความ พยายามในการลดภาระหนี้ของบริษัทยังคงไม่แน่นอน

      หากปัญหาในการเรียกเก็บชำระเงินที่ล่าช้ายังคงไม่ได้รับการแก้ไข ทริสเรทติ้งก็คาดว่า อัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อ EBITDA ของบริษัทอาจจะปรับตัวสูงขึ้นเกินกว่า 6.5 เท่าและอัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อหนี้สินทางการเงินของบริษัทอาจจะลดลงต่ำกว่า 10% ในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า

        กรณีดังกล่าว อันดับเครดิตก็อาจได้รับการปรับลดลงได้อีก ทริสเรทติ้งประเมินว่าสภาพคล่องของบริษัทค่อนข้างตึงตัว แต่ยังอยู่ในระดับที่จัดการได้ โดยในช่วง 12 เดือนข้างหน้าบริษัทน่าจะสามารถชำระคืนหนี้ได้โดยอาศัยเงินทุนจากหลายแหล่ง ได้แก่ กระแสเงินสดจากโรงไฟฟ้าต่าง ๆ ของบริษัท การขอวงเงินกู้ระยะสั้นใหม่เพื่อทดแทนหนี้เดิม (Rollover) และการออกหุ้นกู้ชุดใหม่ เป็นต้น