EA แจงบันทึกหนี้สงสัยสูญ 2% จากยอดค้าง 6.6 พันล้านรอบคอบ แม้ NEX เลิกเพิ่มทุน
"พลังงานบริสุทธิ์" ชี้แจง ตลท. ระบุตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 133 ล้าน รอบคอบโดยอิงข้อมูล ณ วันพิจารณา แม้ NEX ยกเลิกเพิ่มทุน แต่หากสถานการณ์ธุรกิจเปลี่ยนอาจทบทวนอีกครั้ง อีกทั้งมีนโยบายติดตามลูกหนี้ต่อเนื่อง โมเดลธุรกิจระหว่างกันยังคงเดิม
นายวสุ กลมเกลี้ยง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) แจ้งผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า ตามที่ ตลท.ให้ EA ให้ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลในงบการเงินไตรมาสที่ 2 ปี 2567 เนื่องจากบริษัทมีลูกหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยวข้องกันที่ค้างชำระหนี้จำนวนที่มีนัยสำคัญนั้น
ทั้งนี้ ลูกหนี้ค้างชำระส่วนใหญ่เป็นการขายรถให้ บริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) (NEX) ซึ่งได้ยกเลิกการเพิ่มทุน โดยอาจกระทบต่อการบันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และสภาพคล่องของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ
โดยมีลูกหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยวข้องกันยอด 6,794 ล้านบาท ค้างชำระทั้งหมด 6,616 ล้านบาท มีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 133 ล้านบาท
กลุ่มบริษัทมีโครงสร้างระหว่างกันดังนี้
ในการนี้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งพิเศษที่ 6/2567 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 ได้พิจารณาในประเด็นข้อสอบถามดังกล่าวของตลาดหลักทรัพย์ฯ และมีความเห็นในประเด็นต่างๆ ดังนี้
1. ความเพียงพอที่บริษัทบันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 2% ของยอดหนี้ค้างชำระ
ในการพิจารณาตั้งประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับลูกหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทได้ใช้วิธีการพิจารณาอัตราส่วนการผิดนัดชำระหนี้ (Default Rate) แยกตามการจัดชั้นอายุของลูกหนี้ โดยผู้บริหารได้พิจารณาใช้สมมติฐานและข้อมูลที่ดีที่ที่สุดที่มีอยู่ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567
ภายโต้สมมติฐานว่าลูกหนี้ บริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) (NEX) ยังมีความสามารถในการชำระหนี้จากกระแสเงินสดรับชำระจากลูกหนี้ของ NEX เอง จากแผนการส่งมอบสินค้าและแผนการเก็บเงินจากลูกหนี้การค้าของ NEX และจากแผนการเพิ่มทุนของ NEX ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาและยังไม่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการของ NEX ณ ช่วงเวลาที่บริษัทมีการพิจารณาค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
ด้วยเหตุดังกล่าว คณะกรรมการได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการตั้งประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับลูกหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เป็นวิธีการที่เหมาะสมและเพียงพอตามมาตรฐานรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามบริษัทจะมีการทบทวนประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญหากมีข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนแปลงไปจากสมมติฐานที่เคยได้ประมาณการไว้
2. นโยบายและมาตรการติดตามลูกหนี้การค้าที่ค้างชำระ ผลกระทบต่อฐานะการเงิน สภาพคล่องและการดำเนินธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าของ AAB และ EA
บริษัทได้มีการติดตามหนี้ลูกหนี้การค้าที่ค้างชำระรวมทั้งได้มีการพิจารณาประเมินความสามารถในการชำระหนี้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้มีการส่งจดหมายติดตามการชำระหนี้ เพื่อนำกระแสเงินสดมาใช้ในการดำเนินงานของบริษัท
ทั้งนี้ ผลกระทบของลูกหนี้ค้างชำระของบริษัทที่เกี่ยวข้องกันดังกล่าว ได้รายงานในงบการเงินของบริษัทซึ่งได้รับการตรวจทานจากผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ เรียบร้อยแล้ว โดยบริษัทได้ชำระค่าวัตถุดิบรวมทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัทเรียบร้อยแล้ว
3. รูปแบบในการดำเนินธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าของ EA ในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบันที่ขายผ่าน NEX ตามรูปข้างต้นหรือไม่ อย่างไร รูปแบบดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์สุงสุดของบริษัทอย่างไร
ปัจจุบัน รูปแบบการดำเนินธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าของบริษัทยังเป็นรูปแบบการขายผ่าน NEX ตามเดิม
ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาแล้วและเห็นว่า รูปแบบการดำเนินธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าของบริษัทดังกล่าวยังเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทและกลุ่มบริษัทเนื่องจากการดำเนินธุรกิจดังกล่าวมีผสมผสานความรู้และจุดแข็งที่แต่ละฝ่ายมีความเชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นการเสริมธุรกิจร่วมกัน ทั้งในด้านเทคโนโลยี การตลาด การขาย และบริการหลังการขายที่ครบวงจร
4. นโยบายการดำเนินธุรกิจและผลประกอบการของ บริษัท เปย์ป๊อป จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย 100% และมาตรการติดตามการดำเนินธุรกิจของบริษัทย่อย
ปัจจุบัน บริษัทถือหุ้นทางอ้อมในบริษัท เปย์ป๊อป จำกัด (POP) ในสัดส่วนร้อยละ 99.99 ผ่านบริษัท อีเอ โมบิลิตี โฮลดิง จำกัด โดย POP มีนโยบายการดำเนินธุรกิจหลักเกี่ยวกับการให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อยานยนต์ไฟฟ้า
ทั้ง Financing lease และ Operating lease โดยมีการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยและค่าบริการเช่าส าหรับการทำสัญญาเป็นไปตามอัตราตลาดโดยพิจารณาจากความเสี่ยงของลูกหนี้ซึ่งผลประกอบการ 2 ปีย้อนหลังของ POP มีผลการดำเนินงานดังนี้
- ปี 2566 มีก าไรสุทธิ 96.64 ล้านบาท
- ปี 2565 มีก าไรสุทธิ 19.73 ล้านบาท
สำหรับมาตรการการติดตามหนี้ของลูกหนี้สัญญาเช่า บริษัทมีกระบวนการควบคุมและติดตามการให้สินเชื่อเช่าซื้ออย่างต่อเนื่อง โดยตรวจสอบและพิจารณาความสามารถในการชำระของลูกหนี้อย่างสม่ำเสมอ