TTB กำไร Q3/67 เพิ่มขึ้น 10 % ที่ 5,229 ล้าน แต่ตั้งสำรองฯเพิ่ม

TTB กำไร Q3/67 เพิ่มขึ้น 10 % ที่  5,229 ล้าน แต่ตั้งสำรองฯเพิ่ม

TTB กำไร Q3/67 ที่ 5,229 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.45 % จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยชะลอเข้มงวดการปล่อยมากขึ้นและตั้งสำรองฯ พิเศษ Management overlay อีก 154 ล้านบาท

         ธนาคารทหารไทย (TTB) รายงาน ผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2567 กำไรสุทธิอยู่ที่ 5,230 ล้านบาท ลดลง 2.3 % จากไตรมาสก่อนหน้า แต่เพิ่มขึ้น 10.5 %  จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน

        ด้านมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเป็นจำนวน 14,062 ล้านบาทในไตรมาส 3/2567 ลดลง เล็กน้อย 0.9 %เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) และลดลง 4.1 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY)

         รายได้ดอกเบี้ยลดลง  1.8 % QoQ แต่เพิ่มขึ้น  2.2  %YoY อยู่ที่ 20,664 ล้านบาท ซึ่งการลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากอัตราผลตอบแทนของสินเชื่อที่ลดลงและกลยุทธ์ การเติบโตสินเชื่ออย่างระมัดระวังเพื่อรักษาคุณภาพพอร์ตสินเชื่อท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย

         ขณะที่อัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุนปรับดีขึ้นต่อเนื่องจากกลยุทธ์การปรับพอร์ตการลงทุน นอกจากนี้ การปรับสัดส่วนสินเชื่อไปยังสินเชื่อรายย่อยที่ให้ผลตอบแทนสูงและการบริหารจัดการพอร์ตการลงทุน ช่วยสนับสนุนยังคงช่วยหนุนการเติบโตของรายได้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในก่อนหน้า (YoY)

       ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลดลง 3.7 % QoQ แต่เพิ่มขึ้น  18.9 % YoY มาอยู่ที่6,602 ล้านบาท ซึ่งการลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าเป็นผลมาจากต้นทุนทางการเงินที่ปรับลดลงจากการครบกeหนดของหุ้นกู้ และการออกใหม่เพื่อทดแทนเพียงบางส่วนในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า รวมถึงการลดลงของเงินฝากตาม แผนการบริหารจัดการสภาพคล่องและต้นทุนทางการเงินของธนาคาร ฃ

       ขณะที่การปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) มาจากต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นตามแรงกดดันระยะสั้นของกลยุทธ์ การระดมเงินฝากล่วงหน้า (Pre-funding strategy) ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 เพื่อรักษาฐานเงินฝาก ท่ามกลางความไม่แน่นอนในปี 2567

       

     โดยรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยจำนวน 3,163 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย 0.8 % จากไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) และ 5.2 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ส่วนใหญ่มาจากกำไร จากการลงทุนและรายได้จากเงินปันผลรับที่ลดลง โดยรายการสำคัญมีดังต่อไปนี้

         รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิมีจำนวน 2,242 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.5  %QoQ แต่ลดลง 10.5  %YoY ซึ่งการเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลมาจากค่าธรรมเนียมหลักอย่างค่าธรรมเนียม กองทุนรวม และค่าธรรมเนียมแบงก์แอสชัวรันส์ที่ปรับเพิ่มขึ้น ท่ามกลางภาวะตลาดที่ท้าทาย ธนาคารเห็นค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยสินเชื่อใหม่ยังอ่อนตัว สอดคล้องกับสินเชื่อใหม่ที่ชะลอลง ขณะที่ค่าธรรมเนียมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อเริ่มฟื้นตัวได้

        โดยค่าธรรมเนียมกองทุนรวมสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง จากการที่ธนาคารสามารถเชิญลูกค้าที่มีตราสารหนี้ ที่ครบกำหนดมาลงทุนในผลิตภัณฑ์กองทุน อย่าง structured notes และ interest rate-linked notes สำหรับลูกค้าที่ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำท่ามกลางสภาวะตลาดที่ผันผวน

ส่วนค่าธรรมเนียมแบงก์แอสชัวรันส์นั้น ค่าธรรมเนียมแบงก์แอสชัวรันส์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปล่อยสินเชื่อใหม่ อย่างค่าธรรมเนียมแบงก์แอสชัวรันส์จากประกันภัยและประกันชีวิตปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่ค่าธรรมเนียม แบงก์แอสชัวรันส์ที่เกี่ยวเนื่องกับการปล่อยสินเชื่อใหม่ยังคงอ่อนตัวตามการชะลอตัวของสินเชื่อเช่าซื้อและ สินเชื่อบ้าน

       ทั้งนี้ รายได้จากค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตทรงตัวในไตรมาสนี้ อย่างไรก็ดี ภายใต้สภาวะตลาดที่ ไม่เอื้ออำนวย การฟื้นตัวสู่ระดับก่อนหน้าของรายได้ค่าธรรมเนียมยังคงท้าทาย

            การบริหารคุณภาพสินทรัพย์ยังคงธนาคารงเน้นย้ำความรอบคอบและติดตามคุณภาพสินทรัพย์อย่างใกล้ชิดด้วยโมเดลการวัดมูลค่าผลขาดทุนด้านเครดิต (ECL) ที่มีความเข้มงวดและพิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตผ่าน Management Overlay ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ธนาคารยังคงระมัดระวังและรักษาคุณภาพของพอร์ตสินเชื่อ

         ด้วยแผนการปรับปรุงคุณภาพพอร์ตสินเชื่อลดความเสี่ยงของสินเชื่อที่อ่อนแออย่างต่อเนื่องและการขายและการตัด หนี้สงสัยจะสูญ (Write-off) รวมถึงเพิ่มความเข้มงวดของเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อใหม่ ส่งผลคุณภาพสินทรัพย์ อยู่ในระดับที่ควบคุมได้

          โดยค่าใช้จ่ายตั้งสำรองฯ ในไตรมาส 3/2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,764 ล้านบาท ลดลง  9.8 % เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2567 ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อ สินเชื่อที่149 bps และด้วยความสถานะการเงินที่แข็งแกร่ง ธนาคารจึงเพิ่มความสามารถในการรองรับความ เสี่ยงในอนาคตผ่านการตั้งสำรองฯ พิเศษ Management overlay จำนวน 154 ล้านบาท

        ขณะที่ต้นทุนความ เสี่ยงในระดับปกติ (Normal provision) อยู่ที่ 4,610 ล้านบาท หรือเทียบเท่าอัตราส่วนผลขาดทุนด้านเครดิตที่ คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อสินเชื่อที่ 144 bps ทั้งนี้ ระดับสำรองฯปกติที่ปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/2567 เป็นผลจาก กิจกรรมการขายและการตัดหนี้สงสัยจะสูญ

        สำหรับรอบ 9 เดือน ปี 2567 ธนาคารตั้งสำรองฯ จำนวน 15,162 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.8 %  เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันปี ก่อนหน้า ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อสินเชื่อที่ 156 bps ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก MO พิเศษเป็นสำคัญ ในขณะที่การตั้งส ารองฯ ตามการดำเนินธุรกิจปกติอยู่ที่ 13,319 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อสินเชื่อที่ 137 bps สะท้อนโมเดลการตั้ง ECL อย่างรอบคอบและสอดคล้องกับเป้าหมายทางการเงินของธนาคาร

       นอกจากนี้ อัตราส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อด้อย คุณภาพ หรือ Coverage ratio ยังคงอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งที่ 149  % ณ สิ้นเดือนกันยายน 2567