BCH โกยรายได้ฟื้นต่อเนื่องไฮไลต์ฐานต่างชาติหนุนโต 20% ปี 68
ธุรกิจโรงพยาบาล กำลังเป็นประเด็นร้อนแรงในสังคมเมื่อกลุ่มโรงพยาบาลประกันสังคมตบเท้าถอนตัวจากการให้บริการ ด้วยสาเหตุถูกตัดงบกลุ่มโรคเรื้องรังที่มีผู้ป่วยจำนวนมากและอยู่ช่วงสูงวัยเหลือ 7,200 บาทต่อรายจาก 12,000 บาทต่อราย
กระทบไปยังภาครัฐภายใต้ส่วนงานสำนักงานประสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน จนต้องมีการตั้งคณะอนุกรรมการพิจาณาประเด็นดังกล่าวเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิการรักษาของประชาชน
โรงพยาบาลใหญ่ที่มีความเคลื่อนไหวประเด็นดังกล่าวและอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ บริษัท บางกอก เชน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน) หรือ BCH ซึ่งมีฐานลูกค้าประกันสังคมจำนวนมาก มีผลต่อผลประกอบการไปด้วย แต่ปัจจัยอื่นที่มีโอกาสเพิ่มการเติบโตในปี 2567-2568 “นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการ BCH ประกาศรันการเติบโตต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 หลังจบสถานการณ์โควิดปี 2565
“ตั้งแต่ปี 2565 ปี non covid จากปี 2565 รายได้ 1.8 หมื่นล้านบาท ปี 2566 รายได้ 1.2 หมื่นล้านบาท ดันเจอรับผลกระทบจากฐานลูกค้าประกันสังคม กลุ่มโรคเรื้องรังหรือที่มีค่า Adjusted RW มากกว่า 2 ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2565-2566 รวมทั้งฐานลูกค้าคูเวตหายไป แต่ครึ่งปี 2567 BCH ทำรายได้ที่ 5,744 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าช่วงครึ่งปีแรกปี 2566 มีรายได้ 5,568 ล้านบาท คาดการณ์ทั้งปี 2567 รายได้ปิดที่ 1.2 หมื่นล้านบาท และปี 2568 โตได้อีก 20 %”
แนวโน้มดังกล่าวมาจากฐาน "คนไข้ 3 กลุ่มหลัก มีข่าวบวก" พร้อมกันประกอบไปด้วย กลุ่มประกันสังคม ที่มีประเด็นอยู่ขณะนี้เชื่อว่าเจรจาและหาทางร่วมกันได้ก่อนเดือนพ.ย เพื่อไม่ไห้กระทบสิทธิรักษาพยาบาล ซึ่ง BCH มีโควต้าผู้ประกันตนขยับขึ้นจาก 1.5 ล้านคนเป็น 1.8 ล้านคน แต่ให้บริการได้จริงอยู่ที่ 1 ล้านคนเนื่องจากสาขาที่เข้าร่วมให้บริการเต็มศักยภาพแล้ว แต่แนวโน้มด้วยแผนการขยายโรงพยาบาล 5 ปี หรือภายในปี 2572 เป็น 20 โรงจะสามารถสามารถเพิ่มโควต้าได้แบบก้าวกระโดด
ตามหลักการทุกโรงพยาบาลจะมีกาารเซ็น MOU 5 โรค เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็งเต้านม มีการค้ำประกันค่ารักษาอีกก้อนสำหรับผู้มีประกันสังคมสามารถรักษาที่ไหนก็ โดยได้มีค่าใช้จ่ายที่ 15,000 บาท หากเป็นศูนย์ใหญ่มีศักยภาพทำต้นทุนและบริการได้ดีทำให้ไม่มีความเสี่ยงการันตรีรายได้ 100 ล้านบาทแต่ไม่ได้กำไรสูงเพราะต้องเพื่อค่าความเหวี่ยงไว้ด้วย
กลุ่มฐานลูกค้าต่างชาติ จะเป็นกลุ่ม
‘’รัฐบาลคูเวตจะแจ้งรายชื่อน่าจะมีผลต่อรายได้ปี 2568 ไปเลย ทางคูเวตมีงบด้านการรักษาค่อนข้างสูง ทำให้เป็นตลาดใหญ่ทุกโรงพยาบาลอยากได้พอร์ตตรงนี้ แต่รอบนี้จะเน้นกลุ่มโรคที่เป็นเฉพาะทางและขาดแคลน เช่น ศูนย์เบาหวาน และภาวะแทรกซ้อนของเราไม่น่าพลาดซึ่งเดิม BCH มีรายได้จากตลาดนี้เฉลี่ย 600-700 ล้านต่อปี"
ทั้งนี้หากได้โควต้า
กลุ่ม CLMV มีประเทศมาใช้มากสุด กัมพูชา ลาว เมียนมา ภายใต้แผนการเจาะตลาดกลุ่มนี้ผ่านการเปิดโรงพยาบาลใหม่ช่วงที่ผ่านมา เริ่มจากการเข้าไปตั้งโรงพยาบาลที่ลาวรับผู้ป่วยต่างชาติผ่านกระทรวงสาธารณสุข ที่กัมพูชาและเมียนมาจะผ่านเอนเจนซี โดยเมียนมามีโรงพยาบาลรองรับอยู่ที่ที่แม่สาย ยังสามารถรับจาก รัฐฉาน ตองกี รวมไปถึงโรงพยาบาลในอรัญประเทศ ยกเว้นประเทศเวียดนามที่ยังไม่น่าสนใจเพราะมีระบบสุขภาพประกันสังคม 100 %
สุดท้าย กลุ่มเงินสด ไม่น่ากังวลเพราะครึ่งปีหลังเป็นช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจโรงพยาบาลอยู่แล้ว บวกกับแผนการเปิดบริการโรงพยาบาลและ การขยายศูนย์การแพทย์เฉพาะทางเพิ่มขึ้นอาทิ ศูนย์ศัลยกรรม มีแผนจะเป็นเพิ่มจากปัจจุบัน 2 แห่ง เป็น 4 แห่ง และขยายธุรกิจไปยังเวียงจันทน์ สำหรับรพ.ใหม่สามแห่งที่มีผลขาดทุนคาดจะเริ่มพลิกกลับมามีกำไร ปรับปรุงรพ.เดิม ที่สุขาภิบาล 3 -ประชาชื่น -รามคำแหง - ปทุมธานี และบางแค
โดยคาดรพ.เกษมราษฎร์อรัญประเทศและเกษมราษฎร์เวียงจันทน์กำไรกลับเป็นบวกปีนี้ส่วนเกษมราษฎร์ปราจีนบุรีคาดกลับมาบวกปลายปี 2568 ขณะที่บริษัทมีแผนที่จะขยายสาขาอีก5 แห่งได้แก่รพ.เกษมราษฎร์สุวรรณภูมิ200 กว่าเตียง EIA กำลังก่อสร้าง 2568 มูลค่า 1,600 ล้านบาท -รพ.เกษมราษฎร์ระยองยังต้องรอ และรพ.เวิลด์เมดิคัลพัทยารอ EIA คาดเปิดช่วงปี2569-2571 มีแผนเปิด รพ.ใหม่ กรุงเทพกีฑา