รู้ก่อนใคร ! 5เทรนด์การท่องเที่ยวปี 66
คณะการท่องเที่ยวฯ มธบ.จัดสัมมนา “โอกาสและความท้าทายของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพไทย” ททท.เผย 5 เทรนด์การท่องเที่ยวปี 2023 Wellnessและอาหารมาแรง
หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ส่งผลให้คนทั่วโลกให้ความสำคัญในด้านการดูแลสุขภาพมากขึ้น รวมถึงมีการเดินทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพิ่มขึ้นเช่นกัน
คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) จัดสัมมนาวิชาการ “โอกาสและความท้าทายของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทย”
ผศ.ดร.มณฑกานติ ชุบชูวงศ์ คณบดีคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) เปิดเผยว่า ทั้งนี้ ทางคณะฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดเวทีสัมมนาวิชาการขึ้น
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฉลองการครบรอบ 55 ปีของการก่อตั้งมธบ. และเพื่อให้ความรู้แก่นักศึกษาและอาจารย์ของมหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในเครือข่าย ให้ได้รับความรู้อย่างกว้างขวางและเท่าทันสถาณการณ์ปัจจุบัน เพื่อเตรียมความพร้อมในผลิตบุคคลากรให้ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในอนาคต
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
"ธุรกิจ Wellness" โตก้าวกระโดด W9 แนะลงทุนเทรนด์ที่น่าสนใจยุคโควิด
คาดปี 2567 "ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ" โตก้าวกระโดด 1 ล้านล้านเหรียญ
กินดี-สุขภาพดี มาแรงหลังโควิด ดันไทยสู่เป้า "การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ"
"Wellness tourism" ฟื้นหลังโควิด คาดปี 67 มูลค่า 1 ล้านล้านเหรียญ
การเดินทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโตขึ้นทันที
ดร.วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและการกีฬา กล่าวว่า ขณะนี้ประชากรโลกมีจำนวน 8 พันล้านคน และเป็นครั้งแรกที่คนเหล่านี้ตื่นตัว และเห็นความสำคัญของเรื่องสุขภาพพร้อมกัน ความสนใจเรื่องสุขภาพของคนทั้งโลก ทำให้ประเด็นเรื่องการทำงานด้านสุขภาพ รวมถึงการเดินทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโตขึ้นทันที
ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น คือ ก่อนการแพร่ระบาดโควิด-19 นักท่องเที่ยวทั่วโลกเดินทางมาเที่ยวไทยกว่า 40 ล้านคนต่อปี ขณะนี้เมื่อสถานการณ์คลี่คลายแล้วแต่ตัวเลขเดิมยังไม่กลับมา เพราะคนยังกลัวโรคภัยไข้เจ็บ ทำให้ตั้งการ์ดสูงเป็นพิเศษส่งผลให้การเดินทางหลายๆที่ยังไม่เปิดเต็มที่
ขณะเดียวกันปัจจัยจากการเกิดสงคราม ส่งผลให้ สินค้าด้านพลังงานและอาหารทั่วโลกสูงขึ้น กระทบถึงค่าเดินทางระหว่างประเทศด้วย ในขณะที่จีนยังไม่เปิดประเทศ ทำให้ตัวเลขของนักเที่ยวจีนที่มีสัดส่วนที่สูงที่สุดหายไปเช่นกัน
ดร.วีระศักดิ์ กล่าวอีกว่า ภาพรวมของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของทั่วโลกและไทย มี Segment ต่างๆให้เข้าไปเติมเต็มได้ เช่น การจัดโปรแกรมทัวร์ แบบไม่ Fixed Cost โดยการพานักท่องเที่ยวไปทำกิจกรรมที่สร้างคุณค่าเพิ่ม อย่าง การนั่งสมาธิ ออกกำลังกาย ทานอาหารคลีน เป็นต้น
นอกจากนี้ อยากให้มองกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุและผู้พิการ เพราะว่าเมื่อไหร่ที่เราสามารถสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกรับกลุ่มคนเหล่านี้ได้ก็สามารถรับได้ทุกกลุ่ม ในส่วนของผู้ประกอบการท่องเที่ยวอาจเจออุปสรรคในเรื่องของการขาดแคลนบุคลากร เนื่องจากสถานการณ์การโควิด-19 ที่ผ่านมา
5 เทรนด์การท่องเที่ยวในปี 2023
ดังนั้น จึงต้องการเปิดรับสมัครคนที่มีประสบการณ์มาทำงาน โดยเน้นคนที่มีความสามารถในการใช้ Digital มี Knowledge และ Skill เชื่อว่าเป็นโอกาสอันดีของนักศึกษาหากมีคุณสมบัติตามที่ตลาดต้องการ รวมถึงมีความรู้ที่หลากหลายในองคาพยพ สามารถเชื่อมโยงกันได้ระหว่างสิ่งที่จับต้องได้กับสิ่งที่จับต้องไม่ได้ รับรองไปได้รุ่งแน่นอน
น.ส.ภัทรอนงค์ ณ เชียงใหม่ ผู้อำนวยการภูมิภาค ภาคเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ศูนย์วิจัยด้านการตลาดท่องเที่ยว ททท. เผยเทรนด์การท่องเที่ยวในปี 2023 มี 5 เทรนด์ คือ
- การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Brighter Future of Culinary Tourism)
- การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (Sustain to Regain)
- การท่องเที่ยวพร้อมการทำงาน(Work from Anywhere & Digital Nomad)
- การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ (Wellness a Gift from Pandemic)
- นวัตกรรมใหม่ๆที่ทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น (Innovation for a Betterment)
เทรนด์ดังกล่าวทำให้ไทยมีข้อได้เปรียบในเรื่องของอาหารและWellness เนื่องจากพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาไทยต่างให้ความสนใจในเรื่องของการทานอาหารและการทำสปา เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเหล่านี้ ตรงกับเทรนด์การท่องเที่ยวในอนาคต มีความสอดคล้องและเป็นโอกาสทำให้ประเทศไทยสามารถก้าวเข้าไปสู่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้
ผลักดันไทยเป็น Wellness Destination
น.ส.ภัทรอนงค์ กล่าวอีกว่า ททท.พยายามผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Wellness Destination หรือMedical Tourism โดยดำเนินการทางด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ก่อนการเดินทางมาท่องเที่ยว เนื่องจากการเดินทางเพื่อท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวเป็นสิ่งสำคัญ
ททท.จึงพยายามสร้าง Image on Top of Mind ให้แก่นักท่องเที่ยว ซึ่งไทยมีความพร้อมทั้งเรื่องของบุคลากรทางด้านการแพทย์และเรื่องของอาหารไทย ในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพยังต้องมองถึง Supply Chain เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม ทำให้เกิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนในระบบทั้งหมด ดังนั้น ททท.จึงเข้ามาช่วยทำการตลาดและประชาสัมพันธ์ สร้างภาพลักษณ์ดีพร้อมปิดอุปสรรค ทำความท้าทายเหล่านั้นให้ยั่งยืนได้
ปักหมุดการแพทย์ไทยแนวป้องกันที่ดีสุดอันดับต้นๆ
ผศ.นพ.พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ เวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และอาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ มธบ. กล่าวว่า โควิด-19 เป็นตัวช่วยที่ทำให้คนใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น ทำให้โอกาสการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนี้มาถึงไทย แต่จะมีวิธีสื่อสารอย่างไรให้คนทั่วโลกมาประเทศไทยเพื่อเป็น Destination
ดังนั้น หลายหน่วยงานจึงได้รวมตัวกันเพื่อทำให้ไทยเป็น Destination ทางด้านสุขภาพ เพราะมองว่าถ้าเราเปลี่ยนประเทศไทยให้เป็น Destination of Medical Spa ให้เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวที่มาทำสปาพร้อมมีบริการทางการแพทย์และเรื่องสุขภาพเป็น Backup จะสร้างรายได้มหาศาล
“ไทยเป็นหมุดหมายที่มีการแพทย์ในแนวป้องกันที่ดีสุดอันดับต้นๆของโลก แน่นอนถ้าวิทยาการทางการแพทย์เข้ามาหลอมรวมอยู่ในการดูแลสปา จะสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยวได้ แต่จะทำอย่างไรให้ภาพลักษณ์นี้ออกไปสู่สายตาชาวโลกได้ ดังนั้น จึงต้องพึ่ง Soft Power ด้วยการสร้างภาพประทับใจไม่ว่าเรื่องอะไรที่ดีงามในประเทศไทยที่เราได้รู้ได้เห็น ให้อัพโหลดลงโซเชียลมีเดียไปเรื่อยๆ ท้ายที่สุดจะเป็นไวรัลให้นักท่องเที่ยวเห็นและเกิดความประทับใจที่ได้เห็นสิ่งดีๆของประเทศไทย”ผศ.นพ.พันธ์ศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย
อย่างไรก็ตาม อยากฝากถึงนักศึกษาว่า ท่านเป็นกลุ่มคนที่จะช่วยประเทศไทยในอนาคตเพื่อให้มีการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน หากเราจะดำรงหน้าที่ตรงนั้นในวงการท่องเที่ยว เราต้องรู้เหตุผลหลักการรวมทั้งข้อมูลเสียก่อน เพื่อนำมาสื่อสารและพัฒนาSkillในด้านต่างๆให้ตรงตามสายงาน