UCEP โควิด-19 พลัส ความรับผิดชอบของทุกคน
หลักการของ “UCEP โควิด-19 พลัส” จะเป็นการขออนุมัติในหลักการบริหารงบประมาณเพื่อให้สถานพยาบาลที่รักรักษาผู้ป่วยอาการสีเหลือง สีแดง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วสามารถเบิกจ่ายงบที่ใช้ในการรักษาได้เร็วขึ้นไม่ได้มีอะไรที่กระทบกับผู้ติดเชื้อ
วันนี้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะเสนอเรื่อง UCEP โควิด 19 พลัส ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งยืนอยู่บนหลักการที่ว่าผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีโรคเรื้อรังร่วมที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต จะสามารถเข้ารักษาฟรีในสถานพยาบาลได้ทุกที่ตามนิยามของโรคฉุกเฉิน ส่วนผู้ป่วยที่สีเขียวที่มีอาการน้อย สามารถรับยาและรักษาตัวที่บ้านในรูปแบบของ “Home Isolation” หรือแบบ โควิด 19 ผู้ป่วยนอก “เจอ แจก จบ” รับยาและกลับบ้าน ตามความสมัครใจเป็นการบริหารจัดการโรคโควิด 19 ในแนวทางที่กำลังเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น เพื่อบริหารจัดการเตียงไว้ให้ผู้ป่วยที่มีอาการ “เหลือง-แดง” หากมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากสถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นทะลุ 2 หมื่นรายอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการ ดูแล รักษา ผู้ป่วยตามอาการน้อย ป่วยหนัก ตามอาการให้มีความเหมาะสม โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ต้องเข้าถึงการรักษา มีเตียงรักษาในโรงพยาบาล ไม่ให้ผู้ติดเชื้ออาการสีเขียวเข้าไปครองเตียง ซึ่งหลักการของ “UCEP โควิด 19 พลัส” จะเป็นการขออนุมัติในหลักการบริหารงบประมาณเพื่อให้สถานพยาบาลที่รักรักษาผู้ป่วยอาการสีเหลือง สีแดง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วสามารถเบิกจ่ายงบที่ใช้ในการรักษาได้เร็วขึ้นไม่ได้มีอะไรที่กระทบกับผู้ติดเชื้อ
หากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้มีการนำ "UCEP โควิด 19 พลัส" มาใช้ จะส่งผลให้ประชาชน ที่จะเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จะกลับภูมิลำเนา หรือท่องเที่ยว มีการระมัดระวังในการรวมตัวของญาติพี่น้อง พบปะสังสรรค์ การรับประทานอาหารร่วมกัน รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ทำบุญใส่บาตร สรงน้ำพระ กิจกรรมรวมตัว ประเพณีท้องถิ่น วัฒนธรรมพื้นบ้าน การสาดน้ำ ประแป้ง และกิจกรรมรื่นเริงต่างๆ มากขึ้น เพราะหากผู้ป่วยที่ติดเชื้อ แต่ไม่เข้าข่ายของ “UCEP โควิด 19 พลัส” จะต้องรักษาฟรีตามสิทธิ ไม่สามารถรักษาฟรีได้ทุกที่แล้ว อย่างไรก็ตามผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสีเขียวมีอาการน้อยส่วนใหญ่รักษาแบบ โควิด 19 ผู้ป่วยนอก “เจอแจกจบ” ได้
อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาด ซึ่งส่วนใหญ่จะพุ่งขึ้นมากหลังจากเทศกาล ประชาชนคนไทย โดยเฉพาะกลุ่ม ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยเรื้อรังและเด็กเล็ก ควรฉีดวัคซีนให้ครบทุกเข็มให้มากขึ้น ถ้าเป็นไปได้ควรเลี่ยงการพบปะ มีกิจกรรมร่วมกันค่อนข้างมาก เพราะอาจมีความเสี่ยงที่จะพบผู้ติดเชื้อมากขึ้น เนื่องจากวันหยุดสงกรานต์มีหลายวันอย่างน้อย 5 วัน และสถานที่ต้องเฝ้าระวัง และกำชับ คือ ขนส่งสาธารณะ สถานีขนส่ง ปั้มน้ำมัน จุดพักรถ บ้าน ร้านอาหาร สถานบันเทิง และศาสนสถาน เพราะขณะนี้สายพันธุ์โอมิครอน ที่มีการระบาดมากและแพร่เร็วถึง 1.4 เท่าขยายไปทั่วประเทศคิดเป็น 99.6% พบในทุกจังหวัดแล้วและส่วนใหญ่ติดเชื้อในครอบครัว ซึ่งประชาชนคนไทยทุกคนสามารถช่วยให้ยอดผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยจะลดลงได้