"Progesterone Test Kit" นวัตกรรมนักวิจัยจุฬาฯ ช่วยหมูสาวสู่วัยเจริญพันธุ์
UTC จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม "ชุดทดสอบสำหรับตรวจหาฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนในสุกร หรือ Progesterone Test Kit” ช่วยหมูสาวของไทยเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ลดอัตราการสูญเสียแม่หมู ระบุ ต้นแบบงานวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์ใช้ได้จริง ร่วมมือภาคเอกชน วางตลาดเริ่มชายที่ประเทศจีน
ประเทศไทยมีแม่หมูประมาณ 1 ล้านแม่ และในแต่ละปีต้องทดแทนแม่หมู ประมาณ 40% หรือประมาณ 4 แสนแม่ แต่ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ไทยต้องสูญเสียสุกรสาวจำนวนมาก เนื่องจากไม่สามารถเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ได้ หรือบางตัวเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์แล้ว แต่ไม่สามารถตรวจสอบได้
นวัตกรรม "ชุดทดสอบสาหรับตรวจหาฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนในสุกร หรือ Progesterone Test Kit” จึงเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของทีมห้องปฎิบัติงานวิจัย โดยมีรศ.ดร. กิตตินันท์โกมลภิส จากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาฯ (IBGE-CU) และ ทีมวิจัยและทดสอบภาคสนามในกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรในประเทศไทย โดยมีศ. ดร. เผด็จ ธรรมรักษ์ คณะ สัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดูแลโดยชุดทดสอบดังกล่าว
วันนี้ (19 ก.ย.2565) ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (University Technology Center: UTC) ได้งานแถลงข่าวความร่วมมือนวัตกรรม Progesterone Test Kit และพิธีลงนามสัญญาอนุญาตใหัใช้สิทธิ และการจัดซื้อ ระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ MSD Animal Health
โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานในพิธี นวัตกรรม: ชุดแถบทดสอบสาหรับตรวจหาฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนในสุกร (Progesterone Test Kit) ว่ามหาวิทยาลัยในปัจจุบันต้องมีการเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้ งานวิจัยเพื่อสู่ผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้งานได้จริง ไม่ใช่งานวิจัยขึ้นหิ้งเหมือนอดีต
- "Progesterone Test Kit" ต้นแบบวิจัยจากห้องแล็ปสู่ตลาด
จุฬาฯ ได้สนับสนุนให้อาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิจัยได้มีการทำงานวิจัยที่เกิดขึ้นได้จริง โดยที่ผ่านมา มีการจดสิทธิบัตรงานวิจัยมากมายแต่เมื่อได้มีโอกาสไปร่วมมือกับต่างชาติกลับพบว่า สิทธิบัตรเหล่านั้นล่าสมัยไปแล้ว จุฬาฯมองหาแนวทางในการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ UTC จึงก่อตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัยของจุฬาฯ ให้ก้าวสู่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้จริง รวมถึงเชื่อมโยงการทำงานของนักวิจัยเข้ากับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน
ศ.ดร.บัณฑิต กล่าวต่อว่าProgesterone Test Kit เป็นชุดตรวจหาฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนในสุกร ด้วยสารคัดหลั่งหรือซีรั่มจากร่างกาย อาทิ เลือด หรือ ปัสสาวะในสุกร ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน และการผลิตโดยชุดแถบทดสอบนี้มีลักษณะเปฌน Strip Test ที่สามารถใช้งานง่าย น้ำหนักเบา พกพาสะดวก และให้ผลที่แม่นย้ำสูงกว่า 95% ภายในระยะเวลาเพียง 15 นาที
โดย Progesterone Test Kit ถือเป็นงานวิจัยชิ้นแรกของ UTC และศูนย์ พัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยตามมาตรฐานสากล (Qualified Development Diagnostic Center, QDD center) จุฬาฯ ซึ่งได้มาตรฐานสากล และได้ความร่วมมือกับภาคเอกชน MSD Animal Health ในการเป็นผู้จัดจำหน่าย โดยจะเริ่มจำหน่ายที่ประเทศจีน และกลับเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยในราคาที่ไม่แพง
- ลดอัตราการสูญเสียแม่หมูสาว ช่วยเกษตรกรไทยและต่างชาติ
ศ.ดร.เผด็จ กล่าวว่าตามปกติ สุกรจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์อายุ 6-7 เดือน แต่ในตอนนี้พบว่า สุกรเข้าสู่วัย 8 เดือน แล้ว ยังไม่แสดงพฤติกรรมการเป็นสัด หรือแสดงให้เห็นว่าเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ จึงต้องมีเครื่องมือเพื่อตรวจเช็กว่าสุกรวัยสาวพร้อมเข้าสู่วัยเจริญพันธ์ุแล้วหรือยัง
โดยหลักการจะตรวจได้จากการตกไข่ เมื่อเกิดการตกไข่ หลังไข่จะมีการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนขึ้นมาและปล่อยสู่กระแสเลือด ก็จะตรวจโดยใช้เลือดสุกร ว่าสุกรเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์แล้วหรือยัง ซึ่งเมื่อสุกรเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ก็จะสามารถวางแผนผสมพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และล่นระยะเวลาในการรอไปเรื่อยๆ
“ก่อนหน้านี้ ตรวจเช็กการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์โดยใช้ชุดตรวจจากห้องแลป เรียกว่า ELISA TECHNIQUE ซึ่งชุดตรวจดังกล่าว ไม่เหมาะสมที่จะนำไปใช้ในภาคสนาม หรือพกติดตัวได้ ยังไม่มี ทำให้การวางแผนการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ได้ไม่ดีพอ ทำให้สูญเสียสุกรสาวจำนวนมาก ดังนั้น ชุดตรวจ Progesterone Test Kit ซึ่งสามารถพกพาไปได้สะดวก มีความแม่นยำสูง มีอายุการใช้งานค่อนข้างนาน”ศ.ดร.เผด็จ กล่าว
เนื่องจากการจำแนกสุกรเพศเมียที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุออกจากสุกรสาวที่เป็นสัดเงียบ และการบ่ง บอกการเข้าสู่ระยะการเป็นสัด(ยอมรับการผสมพันธุ์) ของสุกรเพศเมีย เดิมทีจะเป็นการสังเกตพฤติกรรมหรืออาการของสุกรโดยผู้มีประสบการณ์
ทว่า ปัญหาหลัก คือ สุกรเพศเมียบางตัวไม่ยอมแสดงอาการเป็นสัด หรือไม่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่อถึงอายุที่เหมาะสม หรือหากแสดงอาการ แต่เมื่อผสมพันธุ์แล้วผสมไม่ติด เป็นต้น ต่อมามี การศึกษาและรายงานถึงความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนในสารคัดหลั่ง หรือซีรั่มกับการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ของสุกรสาว โดยปริมาณฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนอยู่ในระดับต่ำาก่อนสุกรเข้า สู่วัยเจริญพันธุ์ในขณะที่ปริมาณโปรเจสเทอโรนจะอยู่ในระดับสูง เมื่อสุกรเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์
อีกทั้ง ที่ผ่านมา การจำแนกโดยใช้ประสบการณ์ สังเกตพฤติกรรมจะพบว่า สุกรที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ มีประมาณ 1 ล้านตัวแต่สามารถเข้าสู่การผสมพันธุ์ได้เพียง4 แสนตัว ทำให้สูญเสียแม่พันธุ์ที่ดีไป ดังนั้น ด้วยเหตุผลทั้งหมด ทาง ทีมวิจัยจึงได้คิดค้น พัฒนาการตรวจวัดปริมาณฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนในสารคัดหลั่งหรือซีรั่ม เพื่อระบุการเป็นสัดแทนการสังเกตอาการ
- พกพาสะดวก แม่นยำสูงกว่า 95% ราคาไม่แพง
ทั้งนี้ สำหรับชุดตรวจดังกล่าว ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งราคาประมาณ 400 กว่าบาท แต่สำหรับชุดตรวจที่พัฒนาขึ้นนั้น เพื่อเกษตรกรไทยและเกษตรกรประเทศต่างๆ จะราคาประมาณ 180 บาท ดังนั้น งานวิจัยสู่นวัตกรรมนี้ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารงานและจัดการทุนด้วยการเพิ่มความสามารถใน การแข่งขันของประเทศ (บพข.) และการให้ความช่วยเหลือด้านการเจรจากับภาคธุรกิจ (MSD Animal Health), การให้คำปรึกษาในการจดทะเบียน จากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นการยื่นจด IP, การทำ Licensing Agreement, การทำสัญญาซื้อขาย
รวมถึงให้คำแนะนําในการดำเนินงานนวัตกรรมทางธุรกิจ จาก UTC ในการต่อ ยอดนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ และผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิต โดย QDD center จุฬาฯ ซึ่งถือเป็นสถานที่ผลิตเครื่องมือแพทย์ที่ได้ขึ้นทะเบียนสถานประกอบการจาก อย.เป็นที่เรียบร้อย และได้รับการสนับสนุนจากโครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม จุฬาฯ และสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์
การลงนามในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิระหว่างจุฬาฯ โดย อธิการบดี และ Hongyao Lin (Regional Marketing Director) จาก MSD Animal Health ซึ่งเป็นบริษัท ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย และพัฒนายา วัควีนที่เป็นนวัตกรรม จะเป็นแนวทางในการส่งเสริมต่ยอดนวัตกรรมของนักวิจัยไทยสู่เชิงพาณิชย์ และช่วยในการพัฒนานวัตกรรมป้องกันโรคและรักษาโรคต่างๆ