“HappyU” ม.หอการค้าไทย มหาวิทยาลัยความสุข ตอบโจทย์ชีวิตเด็ก GenZ

“HappyU” ม.หอการค้าไทย มหาวิทยาลัยความสุข ตอบโจทย์ชีวิตเด็ก GenZ

เมื่อช่วงวัยหรือเจเนอเรชั่นของคนที่แตกต่างกันออกไป ทำให้การใช้ชีวิตร่วมกันของแต่ละคนย่อมต่างกัน โดยเฉพาะเด็ก Gen Z ที่มักจะถูกมองเข้าใจผิดในหลายเรื่อง ทั้งที่เด็กกลุ่มนี้มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก

เจเนอเรชั่น Z หรือ Gen Z หรือผู้ที่เกิดระหว่างปี 2540 – 2555 และมีอายุระหว่าง 9 – 24 ปี ซึ่งในปี 2564 นี้ พวกเขากำลังจะกลายเป็นประชากรกลุ่มค่อนข้างใหญ่ในภูมิภาคอาเซียน โดยปัจจุบันจำนวนประชากรกลุ่มนี้คิดเป็นประมาณ 24% ของจำนวนประชากรทั้งหมด 

”แวดวงอุดมศึกษา” กลุ่มเด็ก Gen Z ถือเป็นผู้บริโภคหลัก เพราะมหาวิทยาลัยจะอยู่รอดหรือไม่ ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับจำนวนของนักศึกษา ขณะที่หลักสูตร การจัดการเรียนการสอนในแต่ละวิชาแต่ละมหาวิทยาลัยอาจไม่แตกต่างกัน  แต่การใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยแตกต่างกันอย่างแน่นอน หลายมหาวิทยาลัยจึงได้ปรับสภาพแวดล้อมให้ตอบสนองกับการใช้ชีวิตของนักศึกษา

“HappyU” ม.หอการค้าไทย มหาวิทยาลัยความสุข ตอบโจทย์ชีวิตเด็ก GenZ

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (ม.หอการค้าไทย หรือ UTCC)  มหาวิทยาลัยด้านบริหารธุรกิจ ที่มุ่งเน้นความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยแนวคิด Student Centered Learning ทุกพื้นที่ของมหาวิทยาลัยต้องเชื่อมต่อไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่ตอบโจทย์ของนักศึกษา โดยปี 2565 ที่ผ่านมาได้มีการรีโนเวทพื้นที่แห่งการเรียนรู้ครั้งใหม่ ให้กลายเป็น Lifestyle & Learning Space สำหรับเด็กหัวการค้า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

เด็กหัวการค้า' ปล่อยหนังสั้นแคมเปญ 'FOLLOW YOUR DREAMS'

ม.หอการค้าฯ สร้างบัณฑิตสู่โลกการทำงาน รับมือ "Disruption"

ม.หอการค้าฯ เปิด Co-working Space ปั้นนักธุรกิจรุ่นใหม่

"หอการค้า"เตือนเอกชนไทย บริหารความเสี่ยงสู้ปัญหา "ภูมิรัฐศาสตร์"

 

ออกแบบภูมิทัศน์ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์เด็กGenZ

ปัจจุบัน ม.หอการค้าไทย ได้มีการออกแบบภูมิทัศน์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิด  Design thinking ที่ผ่านกระบวนการ Social listening โดยที่ขนาดพื้นที่ไม่ใช่สิ่งจำเป็นเท่ากับการเชื่อมต่อไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่ตอบโจทย์

"สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าห้องเรียน คือ พื้นที่ส่วนกลางที่นักศึกษาทุกคนจะได้ใช้ชีวิตอย่างผสมผสานระหว่างการศึกษาที่ควบคู่ไปกับความบันเทิง นำไปสู่แนวคิด Edutainment ซึ่งสอดคล้องกับคอนเซ็ปต์ Lets play to win และ Follow Your Dreams ทำให้โจทย์การพัฒนาภูมิทัศน์ภายในมหาวิทยาลัยฯ เต็มไปด้วยสีสันและความสนุกที่นักศึกษาจะได้ใช้ชีวิตในพื้นที่ส่วนกลาง"

เริ่มจากการสร้างห้อง IDE Learning Space ที่อาคาร 1 ซึ่งในอนาคตนักศึกษาสามารถมาใช้เป็นพื้นที่ Co-Working Space ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือบริเวณใต้อาคาร 3 ซึ่งเป็นพื้นที่อากาศปลอดโปร่ง จึงได้มีการตกแต่งในลักษณะ Wall paint เพื่อเป็นจุดเช็คอินถ่ายภาพ พร้อมติดกระจกเพื่อให้เด็ก ๆ นักศึกษา ได้มีพื้นที่ฝึกซ้อมสำหรับการเต้น Cover dance และในพื้นที่เดียวกัน

“HappyU” ม.หอการค้าไทย มหาวิทยาลัยความสุข ตอบโจทย์ชีวิตเด็ก GenZ

รวมทั้ง ติดตั้ง Wall screen สำหรับเหล่าเกมเมอร์ สามารถใช้เป็นพื้นที่แห่งความสนุกร่วมกัน และยังสร้างสไลเดอร์ไว้เป็นกิมมิคของอาคารและเคยเป็นกระแสไวรัลมาแล้วในสื่อสังคมออนไลน์ จัดเป็น Entertainment space สำหรับนักศึกษาโดยเฉพาะ

ขณะที่ บนชั้น 2 ของอาคารเดียวกันนี้ ได้รีโนเวทเป็นพื้นที่ของสโมสรนักศึกษา ตกแต่งใหม่และแบ่งโซนพื้นที่เป็นห้อง Meeting room ห้องล็อคเกอร์สำหรับเก็บสัมภาระ และชั้น 4 ได้จัดเป็นพื้นที่สำหรับห้องจัดเลี้ยง กล่าวคือทั้งหมดของพื้นที่อาคาร 3  ทางมหาวิทยาลัย จะยกให้เป็นอาคารสำหรับกิจกรรมสันทนาการของนักศึกษา ที่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบ

“HappyU” ม.หอการค้าไทย มหาวิทยาลัยความสุข ตอบโจทย์ชีวิตเด็ก GenZ

 

ปรับมหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่แห่งความสุข

จากการสำรวจความสุขของนักศึกษาม.หอการค้าไทย ในช่วงปีใหม่ 2566 ซึ่งเป็นการดำเนินงานวิจัยทั้งส่วนปริมาณ และคุณภาพ พบว่า นักศึกษารู้สึกว่าตัวเองมีความสุข ค่าเฉลี่ย 8.41 เต็ม 10 และหลังจากผ่านพ้นโควิด-19 นักศึกษาส่วนใหญ่ยังคงต้องการมาใช้ชีวิตอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย

ดร. มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ รองอธิการฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  เล่าว่าช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้มหาวิทยาลัยต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอน ที่เน้นการเรียนออนไลน์มากกว่าการเรียนการสอนตามปกติในมหาวิทยาลัย ทำให้นักศึกษาไม่ได้มาทำกิจกรรม หรือมาใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย

“HappyU” ม.หอการค้าไทย มหาวิทยาลัยความสุข ตอบโจทย์ชีวิตเด็ก GenZ

ต่อมาเมื่อสถานการณ์โควิด-19 รุนแรงน้อยลง มหาวิทยาลัยเปิดการเรียนการสอน ซึ่งมีนักศึกษาทยอยกลับมาเรียนปกติ และพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ชอบใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย

“ทางสภามหาวิทยาลัย และรศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จึงได้มีนโยบาย HappyU และให้โจทย์มาว่าต้องทำให้นักศึกษามีความสุข  ทำให้นักศึกษาอยากมามหาวิทยาลัย อยากใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย 24 ชั่วโมง รวมถึงได้ให้ลองนำแนวคิด Happy Model ของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยมาประยุกต์ใช้”  ดร.มานะ กล่าว

ระบบการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย องค์ความรู้ หลักสูตรคงไม่ได้แตกต่างกัน แต่การใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยที่จะได้รับย่อมแตกต่างกัน Happy Model ของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จะประกอบด้วย 4 ด้าน คือ กินดี อยู่ดี ออกกำลังกายดี และแบ่งปันสิ่งดีๆ เมื่อมาบูรณาการเข้ากับม.หอการค้าไทย ซึ่งต้องการให้นักศึกษามีความสุข สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ การสอบถามจากนักศึกษา

“HappyU” ม.หอการค้าไทย มหาวิทยาลัยความสุข ตอบโจทย์ชีวิตเด็ก GenZ

ผู้ใหญ่ต้องเปิดใจ เข้าใจความสุขของเด็ก

ดร.มานะ เล่าต่อว่าจากการสอบถามนักศึกษา ซึ่งทำเป็นงานวิจัยทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ รวมถึงการสัมภาษณ์นักศึกษา เพื่อค้นหาคำตอบว่าจะทำอย่างไรให้นักศึกษามีความสุขในมหาวิทยาลัย จึงเริ่ม

ปรับเปลี่ยนบรรยากาศที่มีอยู่ให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ และรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา พบว่า หลายๆ สิ่งที่นักศึกษาเขาอยากให้มหาวิทยาลัยมี เช่น การติดกระจกเพื่อพวกเขาจะได้ใช้ซ้อมเต้น เพราะการจะไปซ้อมเต้นตามห้องซ้อมเต้นต่างๆ ต้องเสียเงินมาก เขาอยากให้มหาวิทยาลัยมีพื้นที่ซ้อมเต้นให้แก่เขา เป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยลงทุนไม่มาก แต่สร้างความสุขให้แก่นักศึกษาได้มหาศาล

“ความสุขของเรากับนักศึกษาแตกต่างกัน หลายๆ อย่างที่เราหรือผู้ใหญ่พยายามมอบให้แก่นักศึกษา เพราะมองว่าพวกเขาน่าจะมีความสุข ควรจะได้รับสิ่งนั้นสิ่งนี้ และบังคับให้พวกเขาทำแต่ในความเป็นจริงพวกเขาไม่อยากทำ  อย่าง นักศึกษาที่ถนัดซ้าย เขาอยากได้โต๊ะเลคเชอร์สำหรับคนถนัดซ้าย หรือนักศึกษา Oversize เขาก็อยากได้โต๊ะที่เหมาะกับพวกเขา มหาวิทยาลัยก็ได้จัดเตรียมให้   หรือนักศึกษากลุ่ม LGBTQ ที่เขาต้องการห้องน้ำที่ไม่ระบุเพศ มหาวิทยาลัยก็ได้มีการสร้างห้องน้ำ All Gender  สำหรับพวกเขา เป็นต้น” ดร.มานะ กล่าว

นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยยังให้อิสระในการทำสีผม ให้พวกเขาได้เสนอในสิ่งที่พวกเขาอยากทำ เพราะการคัดเลือกกิจกรรมให้นักศึกษาทำนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่นักศึกษาเสนอแล้วอยากทำ

“HappyU” ม.หอการค้าไทย มหาวิทยาลัยความสุข ตอบโจทย์ชีวิตเด็ก GenZ

เช่น ชมรมคนรักแมว Cat Society ชมมรมโหราศาสตร์  ฯลฯ และอีกกลุ่มจะเป็นกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยต้องการให้เด็กมีทักษะ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้เป็นการบังคับ หากเปิดมาแล้วไม่มีเด็กสนใจก็จะปิดกิจกรรมนั้น และเสนอตัวเลือกใหม่ๆ ให้แก่พวกเขา

เติม Soft Skills สร้าง Empathy ลดการตัดสินผู้อื่น

ดร.มานะ เล่าต่อว่ากรรมการสภามหาวิทยาลัยเน้นย้ำให้นักศึกษาทุกคนที่จบออกจาก ม.หอการค้าไทย ต้องทำงานเป็น ฉะนั้น นักศึกษาจะไม่ได้เพียงเก่าทฤษฎี แต่ต้องลงมือปฎิบัติ และไม่ใช่มีเพียงHard Skills เท่านั้น แต่ต้องมี Soft Skills ติดตัวร่วมด้วย ซึ่งการเพิ่ม Soft Skills ถือเป็นการพัฒนาทักษะการใช้ชีวิต การทำงานร่วมกับผู้อื่น ยิ่งในยุคที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเรื่องของวัย หรือเพศ การเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกันมีความจำเป็นอย่างมาก

“การทำงานในยุคนี้จะเป็นการทำงานของคนหลายรุ่นเข้าด้วยกัน มีประสบการณ์ ความคิด ความเชื่อแตกต่างกัน สิ่งที่จะทำให้ทุกคนที่มีความคิด ค่านิยมหลากหลายสามารถทำงานร่วมกันได้ ต้องมีทักษะด้านการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะเรื่องEmpathy หรือการเข้าอกเข้าใจผู้อื่น”ดร.มานะ กล่าว

กิจกรรมดังกล่าวนี้ เกิดจากการทำ Focus Groups ไปพูดคุยกับนักศึกษาแล้วพบว่า ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม มุมมองต่อชีวิต สังคมและโลก รวมถึงการให้คุณค่าต่อการทำงานและเป้าหมายชีวิตของคนรุ่นนี้แตกต่างและแปลกแยกจากคนรุ่นก่อนๆอย่างสิ้นเชิง

“HappyU” ม.หอการค้าไทย มหาวิทยาลัยความสุข ตอบโจทย์ชีวิตเด็ก GenZ

ม.หอการค้าไทย ได้ร่วมกับโครงการของธนาคารจิตอาสา จัดโปรเจค “Human Library” ฝึกฝนทักษะด้านEmpathy โดยเป็นการฝึกอบรมในเรื่องความต่างมนุษย์ ชวนผู้ที่มีความหลากหลายมาจับคู่นั่งคุย เพื่อทำให้เข้าใจกันได้อย่างเต็มที่ เพราะในสังคมไทยตอนนี้ ต้องยอมรับว่าหลายคนมักจะตัดสินผู้อื่นจากภายนอก  บางคนมีรอยสักเต็มตัว หรือเป็นมุสลิมก็ไปเกรงกลัว หรือตัดสินพวกเขา ซึ่งจากการจัดกิจกรรม 2-3 ครั้งที่ผ่านมา พบว่านักศึกษาที่เข้าร่วมมีการเปิดใจยอมรับ เข้าใจมุมมอง และมีความสุขในเชิงร่างกาย จิตใจ และเข้าอกเข้าใจผู้อื่น

“Human Library” เป็นพื้นที่ให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจในตัวตนของผู้อื่น และต้นเอง เป็น “หนังสือมนุษย์” ที่ผ่านการพูดคุยแบบเปิดใจ ช่วยลดอคติที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ลดการตัดสินผู้อื่น และพร้อมเข้าใจผู้อื่น อันนำไปสู่การทำงานร่วมกัน ใช้ชีวิตร่วมกันในสังคม

“HappyU” ม.หอการค้าไทย มหาวิทยาลัยความสุข ตอบโจทย์ชีวิตเด็ก GenZ

ทุกกิจกรรมที่ทางมหาวิทยาลัยจัดขึ้น จะมีการสื่อสาร สอบถามไปยังนักศึกษาว่าพวกเขาต้องการหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมาหลายๆ กิจกรรมที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้น ได้รับความร่วมมือ ความสนใจจากนักศึกษา

ไม่มีถูกผิด เรียนรู้ รับฟังในสิ่งที่ต้องการ

ดร.มานะ เล่าด้วยว่า หลายครั้งที่ผู้ใหญ่มักจะมองว่าสิ่งที่ตนเองกำลังทำ ทำเพื่อความสุข ทำเพื่อการเจริญเติบโตที่ดีของเด็ก แต่ในความเป็นจริง สิ่งที่ดีสำหรับเด็ก ต้องรับฟังในสิ่งที่เขากำลังสื่อสาร มหาวิทยาลัยต้องเป็นพื้นที่แห่งความสุข ความสบายใจแก่พวกเขา

เพราะในสังคมที่เต็มไปด้วยวิกฤต อบายมุขมากมาย ล้วนทำให้เด็กเกิดความเครียด ม.หอการค้าไทย ได้มีนักจิตวิทยา ได้อบรมทำความเข้าใจกับผู้บริหาร คณาจารย์ในการรับฟัง เข้าใจความคิด ความแตกต่างระหว่างเด็กรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่า

“HappyU” ม.หอการค้าไทย มหาวิทยาลัยความสุข ตอบโจทย์ชีวิตเด็ก GenZ

“เด็กรุ่นนี้ต้องการความเข้าใจ พวกเขาไม่ได้มองเรื่องถูกผิด ดังนั้น  มหาวิทยาลัยต้องปรับตัว ให้นักศึกษาได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ ทุกพื้นที่ของมหาวิทยาลัยจะเป็นแหล่งเรียนรู้ ลองผิดลองถูกให้แก่เขาผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ เพราะถ้าออกนอกรั้วมหาวิทยาลัยอาจจะไม่มีเบาะรองรับ ไม่มีผู้ใหญ่ ครูอาจารย์คอยให้คำแนะนำ ประสบการณ์ตลอด 4 ปี ในรั้วมหาวิทยาลัย อยากให้นักศึกษาฝึกฝน เรียนรู้ พัฒนาตัวเองอย่างเต็มที่ ทำอย่างที่ตนเองต้องการ เดินตามความฝันและไปให้ถึงฝัน อย่าเลียนแบบคนอื่น ให้ทำในสิ่งที่จะช่วยพัฒนา เติมเต็มความสุขให้แก่ตนเอง"  ดร.มานะ กล่าว

อยากรู้ว่า ม.หอการค้าไทย จะเป็น HappyU ได้อย่างไร? สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ LINE Official : @utcccare  เว็บไซต์ www.utcc.ac.th/admission หรือ โทร 02-6976767 เปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30-17.00  น. 

“HappyU” ม.หอการค้าไทย มหาวิทยาลัยความสุข ตอบโจทย์ชีวิตเด็ก GenZ