ออกแบบอย่างไร? ให้โดนใจคนจ้างงาน ผู้ประกอบการ
“เศรษฐกิจสร้างสรรค์” หรือ Creative Economy เป็นแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ประเทศไทย ภายใต้การนำสินทรัพย์ ทุนทางวัฒนธรรม เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ เข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญทำให้ประเทศมีเอกลักษณ์ ซึ่งสามารถส่งออกให้ต่างชาติยอมรับได้
รายงานการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ปี 2565 สาขาการออกแบบ (Design) จัดทำโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ระบุว่า อุตสาหกรรมการออกแบบของไทยมีจำนวนแรงงานประมาณ 2 หมื่นคน และมีรายได้รวมของธุรกิจในอุตสาหกรรมสูงเกือบ 2 พันล้านบาทในปี 2564 ทั้งยังเชื่อมโยงใกล้ชิดและช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมแฟชั่น อุตสาหกรรมออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งอุตสาหกรรมสถาปัตยกรรม โดยช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการต่าง ๆ อีกด้วย
ขณะที่ สาขาสถาปัตยกรรม (Architecture) ซึ่งมีแรงงานประมาณ 3.6 หมื่นคน สร้างรายได้รวมประมาณ 3 หมื่นล้านบาทในปี 2564 เชื่อมโยงใกล้ชิดกับอุตสาหกรรมการก่อสร้างและอุตสาหกรรมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของไทย ศักยภาพของแรงงานสร้างสรรค์ในสาขานี้ สามารถยืนยันได้จากการที่ผลงานของสถาปนิกไทยได้รับรางวัลในระดับนานาชาติ เช่น Architecture Masterprize โดยประเทศไทยได้รับการจัดอันดับที่ 16 จาก 60 ประเทศ มาร่วมพลิกโฉมอุตสาหกรรมสถาปัตยกรรมไทย เพื่อก้าวเป็นดาวรุ่งที่สดใส ด้วยเป้าหมายรายได้เติบโตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 5.8 ในช่วงปี 2566-2570
"จากการเติบโตของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ Creative Industries ประเทศไทยไว้ทั้งหมด 15 สาขา สาขาการออกแบบและสาขาสถาปัตยกรรม เป็นสาขาดาวรุ่นที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศได้มหาศาล"
ดังนั้น การเตรียมพร้อมศักยภาพ ทรัพยากรบุคคลจึงมีความสำคัญอย่างมาก เพราะการจะสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ หรือคุณค่าทางสังคมได้ ต้องผลิตพัฒนาคนให้กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
“วิศวกรรมจีโนม”เทคโนโลยี การออกแบบชีวิตแห่งอนาคต
แต่งบ้านโทน "สีดำ" สไตล์ Black in Black ไม่เศร้าแต่คลาสสิก น่าค้นหา มีเสน่ห์
"ออกแบบ" งานกระบวนการคิดสร้างสรรค์ ไม่ใช่เพียงการวาดรูป
“คณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม” มหาวิทยาลัยที่สอนการเรียนออกแบบ Design เท่ากับการเรียนกระบวนการคิดและถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นอย่างเข้าใจได้ ไม่ใช่เพียงศาสตร์แห่งการวาดรูป ซึ่งคำว่า Design Thinking หรือการคิดเชิงออกแบบ เป็นการเรียนการสอนที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะ
“ธีรบูลย์ พิศาลอภิพงศ์” คณบดีคณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เล่าว่าม.ศรีปทุม จะให้ความสำคัญในการเรียนที่ตอบโจทย์ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในประเทศ และต่างประเทศ ซึ่งนี่คือแนวทางที่มหาวิทยาลัยขับเคลื่อนมาตลอด โดยที่ผ่านมาได้มีการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน ของโลก และมีการเปิดหลักสูตรระยะสั้น เชื่อมโยงอุตสาหกรรมภายนอก
ขณะนี้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างพัฒนากำลังคนให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ซึ่งคณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ จะพัฒนานักออกแบบ ที่ปรึกษา ผู้รับเหวา หรือวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในภาคอุตสาหกรรม ที่มองถึงภาพรวมของประเทศ ซึ่งประเทศไทยได้สนับสนุนเรื่องความคิดสร้างสรรค์ เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าและโอกาสของประเทศไทย
ดังนั้น ในกระบวนการการศึกษาทุกคณะทุกศาสตร์ต้องมีการบูรณาการเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีการพูดเรื่องความคิดสร้างสรรค์มานาน ผลิตบัณฑิตบุคลากรจำนวนมาก และเมื่อเปิดหลักสูตรการออกแบบ สาขานวัตกรรมการออกแบบ ทำให้คณะสามารถผลิตบัณฑิตให้ตรงกับความของตลาดแรงงาน ภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น
ผลิตนักออกแบบตอบโจทย์ตลาดแรงงาน
“หลักสูตรการออกแบบ จะเน้นการเรียนรู้จากการลงมือทำ และจากการรวมกันของหลายๆ ศาสตร์ ทั้ง สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ซึ่งเดิมภาคการศึกษาจะเรียนรู้คนละส่วน และเชื่อมโยงกันน้อย แต่การเรียนรู้แบบใหม่ จะเชื่อมโยงทุกศาสตร์เข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในการออกแบบ สร้างสรรค์นวัตกรรมที่ส่งเสริ่มการประกอบวิชาชีพเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก ขนาดกลาง แบบครบวงจร และสามารถทำงาน ประสานงาน ทำงานที่ใช้ความรู้ในองค์ประกอบด้านการออกแบบ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในงานนิทรรศการและอีเว้นท์ได้ รวมถึงการมีธุรกิจสตาร์ทอัพของตนเอง” ธีรบูลย์ กล่าว
ธีรบูลย์ เล่าวต่อว่า ปัจจัยที่ทำให้หลักสูตรนวัตกรรมการออกแบบ และคณะสามารถผลิตบัณฑิตตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานได้ เพราะได้เปิดรับให้ภาคอุตสาหกรรม คนที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบการศึกษา เริ่มตั้งแต่การมาช่วยพัฒนาหลักสูตร ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักศึกษาในคณะ ให้นักศึกษาได้เข้ามีส่วนร่วมในการทำโปรเจคงานต่างๆ ฝึกงานในภาคอุตสาหกรรมผ่านโปรแกรมสหกิจศึกษา หนึ่งภาคการศึกษา
อีกทั้ง หลักสูตรดังกล่าว ยังมีจุดแข็งในการมองสิ่งที่มีอยู่ ไม่ว่าจะสินค้า ผลิตภัณฑ์ ธุรกิจบริการ ฯลฯ ล้วนต้องอาศัยการออกแบบ ความคิดสร้างสรรค์ในการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า หรือบริการนั้นๆ ซึ่งศาสตร์นวัตกรรมการออกแบบ จะประกอบด้วยการเรียนรู้ 4 เรื่องหลักๆ คือ
1. เรื่องของการออกแบบผลิตภัณฑ์ สินค้า ตามความต้องการของผู้บริโภค และภาคธุรกิจ
2. เรื่องของบริการ ตอบโจทย์ภาคธุรกิจบริการ ทั้ง โรงแรม การท่องเที่ยว เป็นการเปิดประสบการณ์ที่ดี ทำให้เกิดการมาใช้บริการซ้ำ และทัวร์การท่องเที่ยว เป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดี ทำให้เกิดการใช้ซ้ำ
3.กระบวนการออกแบบ เพื่อตอบโจทย์กระบวนการผลิต การออกแบบคิดค้นสินค้าใหม่ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ลดขั้นตอน ลดการลงทุน
4.Business Model มุ่งเน้นให้นักศึกษาและนักเรียนม.ปลาย เด็กรุ่นใหม่มีศักยภาพสามารถสร้างธุรกิจของตัสเอง ได้มุมมองการจัดการธุรกิจของตนเองที่จะตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมทุกด้าน
“วิธีการเรียนการสอน จะเป็น 3+1 นั่น คือ 3 ปีแรกจะเรียนในมหาวิทยาลัย โดยมีภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจเข้ามาช่วยสอนช่วยออกแบบการเรียนรู้ และปี 4 ผู้เรียนต้องไปทำงานในภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจทั้งปี ซึ่งผู้เรียนต้องดึงภาคอุตสาหกรรมเหล่านั้นให้เป็นงานวิตัน โปรเจคที่ตรงกับภาคอุตสาหกรรมที่ตนเองเข้าฝึกงาน จากการเรียนรู้ในแบบดังกล่าว ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสได้งานทำ100%"
วิธีการเรียนการสอนในศาสตร์ดังกล่าว จะมี 4 ศาสตร์ และศาสตร์ดีไซต์ ความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบเป็นเรื่องของมนุษย์ การทำความเข้าใจมนุษย์ และเทคโนโลยี การตลาด การบริหารจัดการ ซึ่งคณาจารย์ผู้สอนต้องปรับตัว บูรณาการศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน
บูรณารายวิชา เรียนรู้แบบมัลติ เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน
"ธีรบูลย์" เล่าต่อไปว่าลักษณะของเด็กปัจจุบัน พวกเขาต้องการทักษะความรู้รอบตัว ต้องการทำงานที่หลากหลาย ไม่ใช่เพียงทำงานสายใดสายหนึ่ง และการเตรียมความพร้อมให้เด็กเหล่านี้ต้องเป็นการเรียนรู้แบบมัลติ บูรณาการหลายวิชาเข้าด้วยกันอีกทั้งต้องมี Soft Skill ที่ต้องเข้าใจปัญหาของคนอื่น เพื่อที่จะได้สร้างไอเดียตอบปัญหาเหล่านั้น
"ความสำคัญของกระบวนการคิดแบบมี Design thinking เป็นการเรียนรู้พื้นฐานที่ต้องมี Design thinking และงานด้าน UX/UI Service Design ที่ต้องการใช้นวัตกรรมการออกแบบเพื่อแก้ปัญหา รวมถึงการสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจใหม่ๆ แก่ผลิตภัณฑ์และบริการ ทำให้ผู้มาใช้บริการ หรือใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ เกิดความพึงพอใจ ฉะนั้น สิ่งแรกที่มหาวิทยาลัยสอน Design thinking คือ การออกแบบ และคำว่า Design ไม่ใช่เพียงวาดรูปแบบเป็น แต่ต้องออกแบบอย่างมีความสามารถคิด ถ่ายทอดความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ซึ่งการ Design เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของทุกคน" ธีรบูลย์ กล่าว
ใครที่ไม่มีทักษะวาดรูปก็สามารถเรียนออกแบบได้ เพราะความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นได้ทุกวันโดยความคิดสร้างสรรค์มีความคล้ายคลึงกับนวัตกรรมพอสมควร ถ้าเราเข้าใจความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมก่อเกิดสิ่งใหม่จากตัวเราที่ไม่เคยทำมาก่อน
ออกแบบชีวิต ออกแบบกระบวนการคิดสร้างสรรค์
"ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเราคิด ดีไซต์ กระบวนการได้ อธิบายได้ สื่อสารได้ ในวิชาชีพสถาปัตยกรรม มีการพูด Design thinking มานาน แต่เราเรียกอย่างอื่น ซึ่งความสามารถของคนที่อยู่ในวิชาชีพนี้อยู่ในธุรกิจ การออกแบบอธิบายด้วยขั้นตอนง่ายๆ รู้ว่ามีขั้นตอนอย่างไร และการรู้เพียงขั้นตอนไม่ได้หมายถึงเราทำงานได้แต่ต้องเข้าไป ต้องเรียนรู้ เราสอนให้คนทำธรรมดา ออกแบบอาคารที่มีความซับซ้อน งานดีไซต์ที่ใช้ได้จริง"ธีรบูลย์ กล่าว
ก่อนที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้ปรับเปลี่ยนเป็นคณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ เปิดหลักสูตรนวัตกรรมการออกแบบ ได้มีการใช้องค์ความรู้ Design thinking และ Design Innovation ผลิตผลงานในหลายๆ โปรเจค
ทั้งนี้ ในงานBangkok Design Week 2023 (BKKDW2023) ที่ทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ผู้จัดงาน ได้ประกาศออกมาแล้วว่าจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 4-12 กุมภาพันธ์ 2566 โดยจัดขึ้นใน 5 พื้นที่หลักอีกเช่นเคย ได้แก่ ย่านเจริญกรุง-ตลาดน้อย, สามย่าน, อารีย์-ประดิพัทธ์, ทองหล่อ-เอกมัย และพระนคร คณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งเดียว ที่ได้เข้าร่วมงานออกแบบในส่วนของตลาดวงเวียนใหญ่ และนางเลิ้ง
"นวัตกรรมการออกแบบ" เป็นหลักสูตรที่เหมาะกับคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรในการขับเคลื่อนก้าวป่านการดิสรัปชั่นต่างๆ โดยการออกแบบและใช้ความคิดสร้างสรรค์ และเหมาะกับเด็กรุ่นใหม่ที่ต้องการมีธุรกิจของตัวเอง ดังนั้น เมื่อเรียนจบ นักศึกษาสามารถเป็นดีไซต์เนอร์ นักนวัตกร สตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการธุรกิจSME เพราะการออกแบบเท่ากับทักษะความคิด กระบวนการการคิดสร้างสรรค์
"ฝากนักเรียน และนักศึกษาที่อยู่ในวุฒิเทียบเท่า มองหาอาชีพใหม่ในอนาคต คณะการออกแบบและสถาปัตยกรรม ทุกหลักสูตรตอบโจทย์ในสิ่งที่กำลังมองหาอย่างแน่นอน และการเรียนในสาขาวิชาที่เป็นนักออกแบบ มีความคิดสร้างสรรค์ ถ่ายทอดได้สามารถเข้าไปทำงานในอุตสาหกรรมที่หลากหลายได้ เพราะสิ่งที่เรียนเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมเกือบทุกประเภท"