Soft Power ของไทย พลังศิลปวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขง
ความเคลื่อนไหว Soft Power ของไทย พลังศิลปวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขง
Soft Power ของไทย ไม่ใช่เรื่องที่เราคนไทย จะคิดเอง ทำกันเอง ชื่นชมกันเองเพียงฝ่ายเดียว แต่ต้องการเปิดโอกาสให้เพื่อนบ้าน มิตรประเทศที่มีรากวัฒนธรรมบางอย่างใกล้เคียงกัน ช่วยกันคิด ช่วยคิดช่วยทำ ช่วยกันสร้าง จึงจะเกิดพลังที่ยั่งยืน
น่าสนใจ ศิลปวัฒนธรรมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน สัมมนาวิชาการ วิจัย และอบรมเชิงปฏิบัติการด้านศิลปวัฒนธรรมระดับนานาชาติ The 1st International Conference on Art and Culture for Sustainable Development "ICACSD" และ รางวัลศิลปกรรมร่วมสมัยภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (CLMTV&CN)
จัดขึ้นที่ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มมส เมื่อวันก่อน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีระ พันลูกท้าว คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ กล่าววัตถุประสงค์การจัดโครงการสัมมนาวิชาการ วิจัย และอบรมเชิงปฏิบัติการด้านศิลปวัฒนธรรมระดับนานาชาติ ครั้งที่ 1 นับเป็นการความเข้าใจร่วมกัน และความร่วมมือของเครือข่ายศิลปะของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ถือเป็นการสร้างสรรค์ของศิลปินและนักวิชาการด้านศิลปะจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีน
ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์ กล่าวว่า แบ่งปันความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมในหลากหลายแง่มุม พันธมิตรมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ปัจจุบันสมาชิกเครือข่ายศิลปะ ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา ไทย เวียดนาม และจีน เรียกโดยย่อว่า CLMTV & CN ซึ่งเน้นย้ำถึงการทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มความเข้าใจซึ่งกันและกัน
มุ่งเน้นการนำเสนอและสนับสนุนงานวิจัยเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืน มุ่งหวังให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างนักวิจัยและผู้ที่สนใจในการใช้ศิลปวัฒนธรรมเพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องของการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับนานาชาติ โดยนำเสนอผ่านการสัมมนาวิชาการ การนำเสนอผลงานวิจัย และอบรมเชิงปฏิบัติการต่าง ๆ
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเชื่อว่า ศักยภาพของคนไทยและบริบทความเป็นอีสาน จะเป็น Soft Power ของไทย ได้ดีด้านการศึกษาและวัฒนธรรม เนื่องจากด้วยเอกลักษณ์คนอีสานทำให้ชาวต่างชาติหรือเพื่อนบ้าน รู้สึกถึงความเป็นมิตร และสร้างงานศิลปะร่วมสมัยได้อย่างมีจิตวิญญาณ ท่ามกลางวิถีสังคมเมืองและสังคมชนบทที่มีเสน่ห์ จากรากของความเชื่อ ศาสนา และภาษาก็ยิ่งดี
กล่าวคือ ยิ่งเราเปิดรับคนต่างชาติประเทศเพื่อน เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมร่วมกันและแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดพลังเกิดอิทธิพลโดยอ้อมในการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ เกิดการรับรู้เอื้อหนุนการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจฐานรากได้อย่างยั่งยืน.
อ้างอิง
- มมส
เรื่องที่เกี่ยวข้อง :