ส่องนโยบายการศึกษา "เรียนดี มีความสุข" เพิ่มพูน ชิดชอบ (คลิป)
พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงนโยบายการศึกษาและแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย "เรียนดี มีความสุข" เตรียมลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง และลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา
(14 ก.ย.2566) ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึง นโยบายการศึกษาและแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย "เรียนดี มีความสุข" เตรียมลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง และลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา
พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ กล่าวว่า นโยบายการศึกษา "เรียนดี มีความสุข" นโยบายอุปกรณ์การเรียน ต้องยอมรับว่าผู้มีโอกาสก็จะมีสื่อการเรียนการสอน แต่ผู้ด้อยโอกาส อาจจะไม่มี ดังนั้น เพื่อความเท่าเทียมเสมอภาคทางการศึกษาเราต้องจัดการ"แท็บเล็ต" ส่วนการดำเนินการต้องมาศึกษาและดูงบประมาณในการดำเนินการโดยดูว่า สามารถชื้อได้หรือไม่ ถ้าซื้อไม่ได้อาจจะเช่าหรือยืม โดยทำอย่างไรให้ทั่วถึง แต่อยู่บนพื้นฐานว่าสื่อการเรียนการสอนต้องมีก่อน สามารถเข้าถึงสื่อการเรียนการสอนได้ทุกที่ ซึ่งเราจะยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนและดำเนินการ
การลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา ปรับวิธีประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษา ลดขั้นตอนมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
- ปรับระบบการประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เน้นตามสภาพจริง ลดการทำาเอกสาร ลดขั้นตอนการประเมิน ไม่ซับซ้อน ไม่ยุ่งยากและเป็นธรรม โดยเน้นผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนตามช่วงวัยเป็นสำคัญ คำนึงถึงสภาพบริบทของสถานศึกษา และสอดคล้องกับการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อไม่ให้เป็นการสร้างภาระงานให้แก่ครูจนเกินไป
- ปรับระบบการประเมินเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือนและการประเมินวิทยฐานะ ให้มีความเชื่อมโยงกันและออกแบบการประเมินให้สามารถนำาไปใช้กับการประเมินต่างๆได้อย่างหลากหลาย
- นำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินวิทยฐานะ และสนับสนุนอุปกรณ์สำหรับใช้ในการประเมินให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา
ครูและบุคลากรทางการศึกษาคืนถิ่น คือ โยกย้ายกลับภูมิลำเนา ด้วยความโปร่งใสไม่มีการซื้อขายตำแหน่ง
- กำหนดหลักเกณฑ์การย้าย การช่วยราชการ ให้มีความชัดเจนและยืดหยุ่นตามแต่กรณี รวมทั้งการใช้บทลงโทษอย่างเข้มงวดและเด็ดขาดกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการเรียกรับผลประโยชน์ในการโยกย้ายหรือแต่งตั้ง
- สถาบันผลิตครูและหน่วยใช้ครู ร่วมกันสำรวจความต้องการครูในแต่ละสาขาวิชาที่ขาดแคลนในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งพิจารณาให้ผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษากลับมาเป็นครูหรือครูผู้ช่วยในภูมิลำเนาเดิมของตน
แก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา
- สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการวางแผนการใช้เงินและการเก็บออมเงินให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งปลูกฝังผู้ที่ได้รับการบรรจุใหม่ ให้มีความรู้ สร้างวินัยการบริหารจัดการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- หน่วยงานต้นสังกัดประสานการจัดการ ให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รีไฟแนนซ์ (Refinance) หรือรวมหนี้เป็นก้อนเดียว เพื่อลดภาระการผ่อนชำาระหนี้จากหลายที่ โดยลดดอกเบี้ยให้ถูกลง ระยะเวลาผ่อนส่งยาวขึ้น สามารถชำาระเงินต้นเพิ่มเติมจากเงินที่ผ่อนชำระเป็นรายงวดได้
- พักชำระดอกเบี้ยให้แก่ครูทุกคนที่เป็นลูกหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ครู และสถาบันการเงินโดยรัฐบาล จ่ายดอกเบี้ยให้แก่ผู้มีวงเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านบาทเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยลูกหนี้ชำระเพียงเงินต้น เพื่อสร้างขวัญกำาลังใจและลดภาระค่าใช้จ่ายของครูไทยทั่วประเทศ
จัดหาอุปกรณ์การสอนและสวัสดิการ (1 ครู 1 Tablet)
- สนับสนุน จัดหาอุปกรณ์ ในการช่วยจัดการเรียนการสอนต่าง ๆ
- สนับสนุนจัดหาแท็บเล็ต (Tablet) ที่มีประสิทธิภาพ สามารถเชื่อมโยงระบบออนไลน์รองรับการใช้งานให้เพียงพอกับจำานวนครูผู้สอน เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ และส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
- บูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน (ผู้เป็นเจ้าของสัมปทานสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และภาครัฐ ในการพัฒนาเครือข่ายสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ที่มีการสอน)
- สนับสนุนงบประมาณ เป็นงบลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อพัฒนาให้ครอบคลุมทั้งด้าน Hardware, Software และ Peopleware
ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง
- นักเรียน เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) เรียนฟรี มีงานทำา “ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง” มีระบบหรือแพลตฟอร์มการเรียนรู้ โดยผู้เรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา (1 นักเรียน 1 Tablet)
- 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ
- ระบบแนะแนวการเรียน (Coaching) และเป้าหมายชีวิต
- การจัดทำาระบบวัดผลรับรองมาตรฐานวิชาชีพ (Skill Certificate) ผู้เรียนสามารถเรียนเพิ่ม เพื่อรับประกาศนียบัตรในการประกอบอาชีพ
- การจัดทำาระบบวัดผลเทียบระดับการศึกษา และประเมินผลการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนที่มีความสามารถเป็นเลิศ ไม่ต้องเสียเวลาเรียนในระบบประหยัดเวลาประหยัดค่าใช้จ่าย
- มีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำา (Learn to Earn)
สรุปประเด็นนโยบายด้านการศึกษาของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
1.ปฏิรูปการศึกษาและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งส่งเสริมให้เป็นคนดี มีวินัย
ภูมิใจในชาติ
2.เสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียนตามความถนัด ส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างอนาคตสร้างรายได้ กระจายอำานาจการศึกษาให้ผู้เรียนได้เข้าถึงการเรียนรู้อย่างทั่วถึง มีอุปกรณ์การเรียนที่เหมาะสมต่อผู้เรียนแต่ละวัย และใช้ระบบเทคโนโลยีการศึกษาสมัยใหม่
3.จัดทำาหลักสูตรและให้คำาแนะนำาที่เหมาะสมกับความรู้ความสนใจของผู้เรียน
4.ส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาทั้งในด้านสังคม ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) และการวิจัยขั้นแนวหน้า (Frontier Research) เพื่อต่อยอดให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม
5.การศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของประเทศและการปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติ เพื่อให้มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของโลกสมัยใหม่อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม
6.ความมีคุณภาพของครูทั้งประเทศ รวมไปถึงครูแนะแนว เพื่อช่วยให้นักเรียนได้รับคำแนะนำด้านเนื้อหาของวิชาการและการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเลือกเรียนและประกอบอาชีพ รวมไปถึงการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจของนักเรียนทุกคน
7.ส่งเสริมการสร้างรายได้ให้แก่นักเรียน นักศึกษาทั้งสายวิชาการและสายอาชีพให้มีรายได้จากวิชาที่เรียน โอกาสฝึกงานระหว่างเรียน เพื่อสร้างบุคลากรที่มีทักษะและความสามารถตรงต่อความต้องการของการจ้างงาน
8.แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำาทางการศึกษาที่เป็นรากฐานสำคัญของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสังคมไทย
สามารถดาวน์โหลด e-Book นโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการได้ที่นี่ (คลิก)