มวยไทยเมืองลุง เยือนแดนซามูไร ผงาดเด่น บนเวที Thai Festival Tokyo 2024
มวยไทยเมืองลุง พลังเครือข่ายแบบมีส่วนร่วมและการจัดการทุนวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน” นำทีมครูมวยเมืองลุงและนักเรียน แสดงศิลปะป้องกันตัวที่มีมนต์เสน่ห์ โชว์ผงาดเด่นในงานเทศกาลไทย ปี 2567 (Thai Festival 2024)
มวยไทยเมืองลุง พลังเครือข่ายแบบมีส่วนร่วมและการจัดการทุนวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน” สนับสนุนโดยกองทุน ววน. และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) โดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยทักษิณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยทักษิณ ฝ่ายมัธยม ภาคีเครือข่ายจังหวัดพัทลุง ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานโตเกียว
นำทีมครูมวยเมืองลุงและนักเรียน แสดงศิลปะป้องกันตัวที่มีมนต์เสน่ห์ โชว์ผงาดเด่นในงานเทศกาลไทย ปี 2567 (Thai Festival 2024) ระหว่างวันที่ 11-12 พฤษภาคม 2567 ณ สวนสาธารณะโยโยงิ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ศิลปวัฒนธรรมมวยไทยเมืองลุงยังดินแดนซามูไร ในฐานะกีฬาประจำชาติไทย และศิลปะป้องกันตัวที่สืบสานประวัติมาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นที่ยอมรับและมีชื่อเสียงในระดับโลก
แน่นอนว่า นี่จะเป็นแรงจูงใจสำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวและผู้สนใจจากประเทศญี่ปุ่นในการมาเยือนและสำรวจเมืองไทยโดยเฉพาะในจังหวัดพัทลุง นับว่าเป็นการเชื่อมโยงศิลปวัฒนธรรมและการพัฒนาทางการท่องเที่ยวได้อีกทางหนึ่ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
ต่างมุม!! "นายจ้าง ลูกจ้าง" หนุน-ค้าน ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท
ม.ทักษิณ (TSU) เปิดหลักสูตร 2 ปริญญา Double Degree แห่งแรกในภาคใต้
เผยแพร่มวยไทย ส่งเสริม Soft Power
รศ.ดร.สมัคร แก้วสุกแสง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า มหาวิทยาลัยทักษิณผลักดันนโยบายมหาวิทยาลัยนวัตกรรมสังคมจากรากสู่โลกภายใต้การนำของ รศ.ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดี การนำมวยไทยเมืองลุงมาเผยแพร่ในงานเทศกาลนี้ ถือเป็นการส่งเสริม Soft Power ที่จะนำสู่การขับเคลื่อนทั้งมิติด้านสังคม เศรษฐกิจ ศิลปะวัฒนธรรม การศึกษา สุขภาพ การกีฬา และการท่องเที่ยว รวมถึงสามารถต่อยอดกลไกด้านการตลาดของมวยไทยเมืองลุงสู่ตลาดโลก
เอกลักษณ์เด่นของ “มวยไทยเมืองลุง” คือ การรัดเอวคู่ต่อสู้ให้แน่นแล้วตีเข่า ที่เอาศาสตร์การรัดของงูเหลือมบนเทือกเขาบรรทัดมาปรับใช้ในลักษณะ “จับ – เลื้อย – รัด – ฟัด - ทุ่ม”
ขณะเดียวกันก็ได้สอดประสานท่าร่ายรำของศิลปะการแสดง “โนรา” มาประยุกต์ใช้เป็น “ท่าไหว้ครู” และ “ท่าต่อสู้” ซึ่งเป็นวัฒนธรรมรากเหง้าของจังหวัดพัทลุง ถิ่นกำเนิดโนรา มรดกทางวัฒนธรรมของโลก