มรดกภูมิปัญญาถิ่นใต้ สู่พระแท่นที่ประทับพระราชทานปริญญาบัตร ม.ทักษิณ

มรดกภูมิปัญญาถิ่นใต้ สู่พระแท่นที่ประทับพระราชทานปริญญาบัตร ม.ทักษิณ

งดงามล้ำค่า มรดกภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม นวัตกรรมสังคม รวมศาสตร์ศิลป์ โนรา การแทงหยวก สู่พระแท่นที่ประทับพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีการศึกษา 2566

สำหรับพระแท่นที่ประทับพระราชทานปริญญาบัตร และบริเวณเวทีในปีการศึกษานี้ได้นำเสนอเรื่องราว “นวัตกรรมสังคม” ที่ได้รวมศาสตร์ศิลป์ “โนรา” และ “การแทงหยวก” มรดกภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรมล้ำค่าของชาวใต้ ประกอบด้วย ลวดลายการแทงหยวก เทริด เครื่องแต่งกายโนรา ลูกปัดโนรา และดอกไม้พื้นถิ่นใต้

ผศ.ดร.ธัญญา พันธ์ฤทธิ์ดำ รองอธิการบดีวิทยาเขตพัทลุง ม.ทักษิณ ได้เปิดเผยแนวคิดการจัดแสดงองค์ความรู้ผ่าน “วัตถุมรดกภูมิปัญญา” จากตระกูลช่างและยุคของการทำเทริดและการสร้างลวดลายลูกปัดโนรา ยึดรูปแบบการร้อยลายลูกแก้วโบราณเป็นหลัก  โดยปรับรูปแบบบางส่วนจากชุดโนราของสายตระกูลโนราเติม วิน วาด ตั้งแต่ปี พ.ศ.2502 มีลายลูกแก้วโบราณ และลายเส้นแบบสีธงชาติ  พัฒนากลีบดอกให้มีความโค้งมน อ่อนช้อย สวยงาม เข้มขรึมเป็นสีม่วงประจำพระองค์ ซึ่งเป็นสีหลักในการเรียงร้อยลูกปัด เสริมด้วยสีอื่นๆ ในโทนสีที่ใกล้เคียงกัน ทำให้ดูสดใส สว่าง โดดเด่น ทันสมัย 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

"EdTech พันล้าน" ช่วยสร้างLifelong Learning ได้อย่างไร?

เล็งเปิดตลาดนัดโชว์ผลิตภัณฑ์ งานวิจัย ผลงาน มทร.ล้านนา ต.ค.นี้

รวมศาสตร์ศิลป์ สู่งานพระราชทานปริญญาบัตร

ในส่วนของการแทงหยวกสกุลช่างจังหวัดสงขลา กลุ่มร่องลายไทย เป็นผลงานการสร้างสรรค์ศิลปะพื้นบ้านอันเกิดจากภูมิปัญญาในการสรรหาวัสดุทรัพยากรธรรมชาติรอบตัวมาสร้างสรรค์เป็นลวดลายเพื่อใช้ประดับตกแต่ง มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของคนในสังคมไทยทุกระดับทุกชนชั้น ตั้งแต่ชาวบ้านธรรมดา กระทั่งถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ “การแทงหยวก” เป็นชื่อเรียกกรรมวิธีในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยการใช้มีดปลายเรียวแหลมคล้ายใบข้าว มีคมทั้ง 2 ด้าน ที่เรียกว่ามีดแทงหยวก แทงฉลุกาบกล้วย  เป็นลวดลาย หรือเรียกว่า “การฉลุลายหยวก”

ลวดลายในการแทงหยวก เป็นลวดลายที่เกิดจากการฉลุแบบสด ๆ ไม่มีการร่างรูปแบบลายลงบนกาบกล้วย เป็นวิธีการฉลุเพื่อนำช่องไฟออกจะเหลือไว้เพียงส่วนของลวดลาย โดยจะต้องคำนึงถึงการฝากตัวลายไว้กับกาบกล้วยและส่วนที่คงเหลือของตัวลายเป็นสำคัญ ไม่นิยมการย้อมสี แต่จะให้ความสำคัญกับโครงสร้างของตัวลายและช่องไฟเป็นสำคัญ 

มรดกภูมิปัญญาถิ่นใต้ สู่พระแท่นที่ประทับพระราชทานปริญญาบัตร ม.ทักษิณ

สำหรับเวทีงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรจะนำการประดับลวดลายในแนวนอน ที่เรียกว่า ลายนอ มาใช้ประดับตกแต่ง รูปแบบลายจำแนกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

1.ลายเครื่องประกอบ ได้แก่ ลายกลีบบัวเล็ก  ลายกลีบบัวใหญ่  

2.ลายนอ ได้แก่ ลายลูกฟัก

3.ลายปิดมุม ได้แก่ ลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ์

ใช้สำหรับปิดตรงช่วงรอยต่อของหยวกในแต่ละแพ สีในส่วนของช่องไฟเกิดจากการนำสีจากกระดาษทองเกรียบมาสาบรองไว้ด้านหลังของกาบกล้วยที่แทงลวดลาย ซึ่งใช้กระดาษสีม่วงเป็นหลัก ประดับแทรกด้วยสีอื่นๆ เพื่อให้เกิดคุณค่าด้านความงามมากที่สุด เสมือนการประดับด้วยกระจกสีในงานประดับลวดลายงานสถาปัตยกรรมไทย

นับเป็นการผสมผสานของสองศาสตร์ศิลป์ที่งดงาม ลงตัว ก่อให้เกิดเป็นนวัตกรรมแห่งการสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ ที่สะท้อนวิถีชีวิตผ่านวัตถุทางวัฒนธรรม และรูปแบบลวดลายสัญญะทางคติความเชื่อซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรรมของชาติ

มรดกภูมิปัญญาถิ่นใต้ สู่พระแท่นที่ประทับพระราชทานปริญญาบัตร ม.ทักษิณ

มรดกภูมิปัญญาถิ่นใต้ สู่พระแท่นที่ประทับพระราชทานปริญญาบัตร ม.ทักษิณ

มรดกภูมิปัญญาถิ่นใต้ สู่พระแท่นที่ประทับพระราชทานปริญญาบัตร ม.ทักษิณ

มรดกภูมิปัญญาถิ่นใต้ สู่พระแท่นที่ประทับพระราชทานปริญญาบัตร ม.ทักษิณ

มรดกภูมิปัญญาถิ่นใต้ สู่พระแท่นที่ประทับพระราชทานปริญญาบัตร ม.ทักษิณ

มรดกภูมิปัญญาถิ่นใต้ สู่พระแท่นที่ประทับพระราชทานปริญญาบัตร ม.ทักษิณ

มรดกภูมิปัญญาถิ่นใต้ สู่พระแท่นที่ประทับพระราชทานปริญญาบัตร ม.ทักษิณ