'CITE DPU' ปั้นมนุษย์ทำงาน Gen Z-Y เก่ง AI
CITE DPU ดึง AI เสริมแกร่งหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ระดับปริญญาโท จัดเต็มทักษะโลกอนาคต ‘AI-Cyber Security-Analytics’ ปั้นมนุษย์งาน Gen Z-Y ก้าวสู่ ‘ซูเปอร์ ยูสเซอร์’ ยกระดับผู้ใช้งานและบริหารจัดการ AI อย่างชาญฉลาด
ผศ.ดร.นันทิกา ปริญญาพล ผู้อำนวยการหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (CITE :College of Engineering and Technology) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เปิดเผยว่า ปัญญาประดิษฐ์ AI (Artificial Intelligence) เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการเรียน และ การทำงาน ไปจนถึงการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเป็นผลมาจากความสามารถของ AI ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และการนำไปใช้งานที่ครอบคลุมได้หลากหลายด้าน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนยุคนี้ที่ต้องปรับตัว พร้อมเร่งพัฒนาทักษะด้าน AI ในระดับของการ “รู้จัก” และ “ประยุกต์ใช้งาน” เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทั้งด้านประสิทธิภาพของงาน และการบริหารจัดการต้นทุนที่คุ้มค่า
ความก้าวหน้าของ AI ในวันนี้เกิดขึ้นแล้วในหลายสายงาน ทั้งด้านการแพทย์ มีการนำ AI มาช่วยวิเคราะห์และอ่านค่าฟิล์มเอกซเรย์ MRI หรือ CT-Scan โดยอัลกอริทึม Machine Learning สามารถตรวจจับความผิดปกติในภาพได้ เช่น วินิจฉัยโรคมะเร็งในระยะแรก นอกจากนี้ AI ยังช่วยในการพยากรณ์โรคและช่วยวางแผนการรักษาส่วนบุคคล (Personalized Medicine) AI ถูกนำเข้าไปช่วยในการบริหารจัดการคลังสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วยต้นทุนที่ลดลง พยากรณ์ความต้องการสินค้า (Demand Forecasting)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
CITE DPU เปิดโลกการศึกษายานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมรถ EV
CITE DPU แนะทุกธุรกิจต้องรีบปรับตัว Re-skill - Up-Skill ก่อนตกขบวน
ยกระดับความรู้ด้าน AI สู่การใช้งานระดับ “ซูเปอร์ ยูสเซอร์”
รวมถึงการตลาดอีคอมเมิร์ซ ในการเจาะลึกถึงความต้องการจากนั้นนำเสนอสินค้าได้อย่างตรงใจ รวมถึงสายงานด้านการเงินและธนาคาร ที่มีการนำ RPA (Robotic Process Automation) มาใช้ในกระบวนการทำงานซ้ำ ๆ หรือตรวจจับพฤติพรรมฉ้อโกง (Fraud Detection) วิเคราะห์เครดิตของลูกค้า และให้คำแนะนำการลงทุนผ่านผู้ช่วยเสมือนและแชทบอต เป็นต้น
“จากความสามารถที่มากขึ้น และครอบคลุมหลากหลายด้านของ AI นำไปสู่ข้อกังวลจากคนในสังคมถึง AI กับการเข้ามาแทนที่การทำงานของคนในสาขาอาชีพต่าง ๆ และเกิดปัญหาการว่างงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจากมุมมองแล้ววันนี้ AI ทำงานได้ดีและเก่งในบางเนื้องานเท่านั้น เช่น งานที่ทำแบบเดิม ๆ และมีความต่อเนื่อง แต่สำหรับงานที่ใช้ความซับซ้อนที่มากขึ้นหรือไม่คุ้นเคย AI ยังต้องการการพัฒนาให้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบัน AI ยังคงไม่เข้าใจความซับซ้อนของอารมณ์มนุษย์ อย่างไรก็ดี การปรับตัวด้วยการพัฒนาความรู้ใหม่ (Upskill) ถือว่ามีความจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะทักษะด้าน AI เพื่อให้แน่ใจได้ว่างานที่ทำอยู่นั้นจะไม่ถูกดิสรัป (Disrupt) ในอนาคต” ผศ.ดร.นันทิกา กล่าว
ทั้งนี้ จุดเด่นและแนวคิดของการปรับหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (CITE : College of Engineering and Technology) เป็นการปรับเนื้อหารายวิชา เพื่อยกระดับความรู้ด้าน AI ของผู้เรียนไปสู่การใช้งานในระดับ “ซูเปอร์ ยูสเซอร์” (Super User) ที่นำ AI ไปเป็นเครื่องมือในการทำงานอย่างชาญฉลาดและเกิดประสิทธิภาพ
หลักสูตรมีทักษะในการใช้เครื่องมือ AI กับ Cyber Security
การปรับหลักสูตรครั้งใหม่นี้เป็นการนำ AI เข้ามาเป็นหนึ่งในการเรียนรู้ของทุกแกนวิชาหลัก เช่น การรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่าย หรือ Cyber Security ซึ่งผู้เรียนในหลักสูตรนี้จะมีทักษะในการใช้เครื่องมือ AI กับ Cyber Security อย่างถูกต้องเมื่อถูกโจมตีจากบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต เพื่อระบบการจัดการที่ดีในการรักษาความปลอดภัยข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางธุรกิจ และข้อมูลการเงิน
นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาทักษะทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic) และการจัดการชุดข้อมูลขนาดใหญ่ (Data Mining) ครอบคลุมหัวข้อ เช่น การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) ประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการวิเคราะห์และใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ
รวมถึงการให้ความสำคัญกับจริยธรรมใน AI ซึ่งหลักสูตรเราได้มีการปรับและประยุกต์เนื้อหาให้สอดคล้องกับการพัฒนาบุคลากรด้าน AI เพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยเปิดรับสมัครสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในปีการศึกษา 2568 ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักสำหรับหลักสูตรนี้เป็นคนทำงานในองค์กรภาครัฐและเอกชน
สำหรับผู้สนใจในทุกระดับ ไม่ว่าจะมีพื้นฐานด้านไอทีหรือไม่ กลุ่มผู้เรียนแบ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ได้มีพื้นฐานด้านไอที (Non-IT) และกลุ่มที่มีพื้นฐานด้านไอทีโดยตรง สัดส่วนประมาณ 50:50 หลักสูตรนี้ออกแบบเพื่อผู้เรียนทุกคนได้รับประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง ซึ่งกลุ่ม Non-IT จะได้เสริมทักษะใหม่ที่ช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนสายงานได้อย่างมั่นใจ ขณะที่กลุ่มไอทีจะได้ต่อยอดความรู้เพื่อเสริมศักยภาพและสร้างความก้าวหน้าในสายงานของตนเอง
นอกจากหลักสูตรที่เข้มข้นแล้ว ผศ.ดร.นันทิกา กล่าวว่า บรรยากาศของการเรียนรู้ที่ CITE จะเต็มไปด้วยความหลากหลายของมุมมองและประสบการณ์ของผู้เรียน พร้อมทั้งส่วนสนับสนุนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำโครงการแบบ Project Based ที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจทฤษฎีผ่านการปฏิบัติจริง และต่อยอดความรู้จนเกิดเป็นผลงานที่สร้างสรรค์และใช้งานได้จริง
รวมทั้งการบรรยายพิเศษจากบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นตัวจริงด้าน AI และมีห้องสมุดที่พร้อมสำหรับการค้นคว้าวิจัย เพื่อให้มั่นใจในการนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดสร้างโอกาสในตำแหน่งงาน และเพิ่มมูลค่าให้กับผู้เรียนจากทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และ AI พร้อมปลูกฝังหลักจริยธรรมในเทคโนโลยี (Al Ethics) เพื่อให้ผู้เรียนไม่เพียงมีความเชี่ยวชาญ แต่ยังเข้าใจถึงการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบ
หลักสูตรนี้จึงเป็นมากกว่าการเรียนในห้องเรียน แต่เป็นประตูสู่การพัฒนาตนเอง สร้างความก้าวหน้าในอาชีพ ตอบโจทย์อนาคตและสร้างความแตกต่างในสายอาชีพ เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ผู้สนใจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://cite.dpu.ac.th/