วนลูปหรือมูฟออน "แรงงานข้ามชาติ" ทำอย่างไร?ให้เข้าถึงสิทธิ ไม่ถูกปิดกั้น
GCNT จับมือก.ยุติธรรม เปิดเวทีระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนครั้งที่ 6 ภายใต้ประเด็น “การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการเข้าถึงกลไกการเยียวยาและการจัดการข้อร้องเรียนสำหรับแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย” หาแนวทางคุ้มครอง ลดการปิดกั้นสิทธิและเสรีภาพแรงงาน
จากรายงานและข้อมูลที่มีการเผยแพร่ พบว่าประเทศไทยมีความพยายามที่จะส่งเสริมการเติบโตภาคอุตสาหกรรม โดยการเพิ่มประสิทธิภาพและกระบวนการผลิตและคุณภาพสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ในนานาประเทศ ซึ่งความพยายามดังกล่าว ได้ปรากฎขึ้นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ตั้งแต่ปี 2504-2506 จนถึงร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 13 ที่จะประกาศใช้ทำให้ประเทศไทยมีความต้องการด้านแรงงานจำนวนมาก เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจตามยุทธศาสตร์ชาติในปี2566-2570 ทำให้ประเทศไทยมีความต้องการด้านแรงงานจำนวนมาก เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศ
จากความร่วมมือของกลุ่มประเทศอาเซียน ทำให้ประเทศสมาชิกสามารถเดินเข้าหากันในด้านต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง และสังคม ซึ่งด้านเศรษฐกิจมีการไหลเวียนของแรงงานจำนวนมาก เพิ่มโอกาสของการจ้างงาน และเกิดปัญหาแรงงานด้านต่างๆ เช่น ภาษา และการเคารพสิทธิเสรีภาพความเป็นมนุษย์
"แรงงาน" ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ ยิ่งโครงสร้างประชากรของไทยที่คาดว่าปี 2566 นี้ จะกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ที่มีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 20 ของประเทศกรทั้งหมด ส่งผลให้ความความเหลื่อมล้ำรุนแรงมากขึ้น ประชากรวัยเด็ก วัยแรงงานจะมีสัดส่วนลดลงอย่างต่อเนื่อง อาจนำมาซึ่งการขาดแรงงานในประเทศ และต้องพึ่งพาแรงงานต่างประเทศ หรือแรงงานข้ามชาติมากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับความร่วมมือของกลุ่มประเทศอาเซียน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
เปิดประชุมฯ ว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน เสริมความเข้มแข็ง
ดังนั้น การขาดแคลนแรงงาน การเข้าถึงกระบวนการร้องเรียน และการเยียวยาของแรงงานข้ามชาติ จึงเป็นปัญหาสำคัญที่ควรได้รับการแก้ไขตามหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน โดยหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรต่างๆ ในประเทศ อาทิ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ และสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพคแห่งประเทศไทย (GCNT) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและภาวะความเสี่ยงดังกล่าว
การประชุมระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนครั้งที่ 6 ภายใต้ประเด็น “การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการเข้าถึงกลไกการเยียวยาและการจัดการข้อร้องเรียนสำหรับแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย” จะทำให้เห็นแนวคิด บทบาทของภาครัฐและภาคธุรกิจที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็ง และโอกาสในการเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือ และการจัดการข้อร้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ตระหนักถึงการจัดการเรื่องร้องทุกข์ในแรงงานต่างชาติ ทั้งในรูปแบบกลไกตุลาการและกลไกอื่นๆ รวมทั้งได้เรียนรู้บทบาทของแต่ละภาคส่วนในการช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติอีกด้วย ได้เข้ามาช่วยเหลือ
นางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจด้านสิทธิและเสรีภาพมนุษยชน โดยได้มีการจัดทำแผนระดับชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อปี2564 ที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีการประกาศใช้แผนดังกล่าว ในการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบและส่งเสริมมนุษยชน
3 ภารกิจช่วยร้องเรียน เยียวยาแรงงานข้ามชาติ
ที่ผ่านมา กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้จัดกิจกรรมร่วมกับภาคธุรกิจ อย่าง การประชุมในครั้งนี้ เป็นการตระหนักรู้ และเข้าถึงและจัดการเยียวยา ช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ ขณะเดียวกันมีความร่วมมือกับภาคประชาสังคม และองค์กรระหว่างประเทศ ในการทำให้เกิดกลไกในการช่วยเหลือต่างๆ
น.ส.นรีลักษณ์ แพไชยภูมิ ผู้อำนวยการกองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า บทบาทภารกิจของกรมมีบทบาทในเรื่องของแรงงานข้ามชาติ 3 กลุ่มคือ
1.ภารกิจเชิงนโยบายการสร้างหลักประกันสิทธิมนุษยชน โดยการนำหลักมาตรฐานสากลมาดำเนินการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศ ซึ่งด้านนี้ประเทศไทยมีการจัดทำและขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอยู่ 2 แผน คือ
- แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในภาพรวมมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้ดำเนินการคุ้มครองไว้ ซึ่งแรงงานข้ามชาติ เป็นหนึ่งในกลุ่มนั้น รวมถึงมีการกำหนดสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 10 ด้าน
- แผนปฎิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน โดยด้านแรงงานเป็นหนึ่งในนั้นมีกำหนดบทบาทของภาครัฐ และภาคธุรกิจในการดูแลแรงงานข้ามชาติ
2.ภารกิจด้านการส่งเสริม เน้นการส่งเสริมให้ความรู้ทั้งในกลุ่มภาคธุรกิจ และแรงงานข้างชาติให้ทราบถึงช่องทางในการเข้าถึงการร้องเรียน การช่วยเหลือและเยียวยา พร้อมทั้งมีการจัดทำสื่อ เอกสารเป็นภาษาของแรงงานต่างชาติ และมีการไกลเกลี่ยระงับข้อพิพาทต่างๆ เป็นต้น เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่แรงงานข้ามชาติ
3.ภารกิจด้านการคุ้มครอง จะครอบคลุมทั้งการรับเรื่องราวร้องทุกข์ การช่วยเหลือทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือแรงงานต่างด้าน สามารถมายื่นคำร้องขอความช่วยเหลือได้ การให้คำปรึกษาทางกฎหมาย การจัดหาล่ามในกระบวนการยุติธรรม ทั้งภาษาอังกฤษ จีน ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และภาษามือและมีการคุ้มครองพยานร่วมด้วย
สถิติการคุ้มครองพยาน ตั้งแต่ปี 2547-2565 (ข้อมูล ณ วันที่ 9 กันยายน 2565) พบว่า มีการยื่นคำรอง 4,392 คน อนุมัติให้คุ้มครอง 2,894 คน ไม่อนุมัติให้คุ้มครอง 1,436 คน สิ้นสุดการคุ้มครอง 2,856 คน อยู่ระหวางการคุ้มครอง 38 คน อยู่ระหว่างตรวจสอบ 62 คน
โดยฐานความคิด 5 อันดับแรก ได้แก่ ชีวิต 1,200 กรณี ค้ามนุษย์ 663 กรณี ทรัพย์ 225 กรณี ร่างกาย 215 กรณี และทุจริต 198 กรณี ขณะที่การเยียวยานั้น ในปี 2565 ปีนี้เป็นปีแรกที่ได้ให้การช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติที่ไม่ถูกกฎหมายร่วมด้วยจากอดีตจะให้การช่วยเหลือเฉพาะแรงงานข้ามชาติถูกกฎหมาย
แรงงานข้ามชาติเข้าไม่ถึงสิทธิ ขาดความรู้
นายธวัช ไชยเดช ผู้อำนวยการกลุ่มงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการคุ้มครองแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน กล่าวว่าบทบาทคือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งการคุ้มครองแรงงาน มีกฎหมายที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง เป็นการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำให้แก่นายจ้าง ลูกจ้างที่ต้องปฎิบัติ และมีพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ เป็นการรวมตัวขององค์กรนายจ้างและลูกจ้าง และพ.ร.บ.ความปลอดภัยในการทำงาน การบริหารจัดการในเรื่องมาตรฐานด้านความปลอดภัย โดยหากแรงงานมีปัญหาสามารถเข้าสู่กระบวนการร้องเรียนร้องทุกข์ได้ เช่น การละเมิดสิทธิเรื่องค่าจ้าง หรือการละเมิดการปฎิบัติของนายจ้าง เป็นต้น
“สำหรับข้อท้าทายที่พบเจอ คือ แม้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เป็นกฎหมายที่เป็นมาตรฐานสากล แต่สิทธิแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติจะเข้าไม่ถึงสิทธิ เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านภาษา และแรงงานข้ามชาติขาดความรู้ความเข้าใจ และความไว้วางต่อเจ้าหน้าที่ ซึ่งทางกระทรวงแรงงานพยายามแก้ปัญหาเรื่องนี้มาโดยตลอด โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่พนักงานที่ต้องมีความเชี่ยวชาญในการทำงาน และทำให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงสิทธิต่างๆ ได้ง่ายขึ้น”นายธวัช กล่าว
นายจุมพล ขุนอ่อน ผู้อำนวยการสำนักคุ้มครองสิทธิมนุษยชน สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่านอกจากรับเรื่องร้องเรียน เพื่อช่วยเหลือเยียวยาแก้ไขแล้ว จะมีการจัดทำรายงานประเมินสถานการณ์การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมถึงข้อเสนอต่อทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งในกรณีที่หน่วยงานไม่ได้ดำเนินการตามแก้ไข เราจะจัดทำรายงานไปเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อทำให้การดำเนินงาน
ส่วนข้อท้าทาย หน่วยงานสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไม่ได้มีหน้าที่เยียวยาโดยตรง เราต้องจัดทำข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน โดยในส่วนของภาคเอกชน ไม่ได้มีการบังคับแต่เป็นความสมัครใจของภาคเอกชนว่าจะดำเนินการช่วยเหลือ เยียวยา หรือไม่อย่างไร
รัฐต้องช่วยให้แรงงานข้ามชาติได้รับการชดใช้
นางสุกัญญา รัตนนาคินทร์ อัยการพิเศษฝ่ายยุทธศาสตร์และฐานข้อมูลคดีค้ามนุษย์ สำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่าในการดำเนินการเรื่องของแรงงานข้ามชาติ จะมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทุกหน่วยงานจะคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนสากล ที่จะต้องให้ความช่วยเหลือในด้านของคดี แก่แรงงานข้ามชาติทั้งที่ถูกต้องตามกฎหมาย และไม่ได้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น คดีแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาในไทยส่วนใหญ่ จะเกี่ยวข้องกับคดีค้ามนุษย์ และคดีบังคับใช้แรงงาน
เดิมแรงงานข้ามชาติในไทย จะมีเฉพาะคดีค้ามนุษย์ ทำให้การฟ้องร้อง ซึ่งไม่ใช่เพียงบังคับคดี แต่เป็นการดำเนินการให้แรงงานข้ามชาติได้รับการชดเชยค่าเสียหายร่วมด้วย พอมีกฎหมายค้ามนุษย์ ในทางชั้นศาลจะเกิดปัญหาเรื่องการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ทำให้สิทธิของแรงงานในชั้นศาลจะถูกศาลยกฟ้องไปทั้งหมด และสิทธิต่างๆ จะไม่ได้รับการชดใช้เยียวยา
ไทยจึงได้มีการแก้กฎหมายค้ามนุษย์ในปี 2562 โดยเพิ่มเรื่องของการบังคับแรงงาน เพื่อจะได้ตัดปัญหากรณีแรงงานถูกบังคับการใช้แรงงาน แล้วไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบอย่างไร และอีกกฎหมายที่นำมาใช้ร่วมกัน คือ พ.ร.บ.การมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ
“ถึงแม้อัยการจะพิสูจน์ได้ว่าถูกเอารัดเอาเปรียบ แต่มีหลายคดีไม่สามารถบังคับคดีได้ เพราะไม่สามารถไปติดตามขอรับการช่วยเหลือเยียวยาได้ รัฐต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้ จึงมีเรื่องกองทุนของกระทรวงยุติธรรม และมีความพยายามผลักดันแก้ไขกฎหมาย ให้มีมาตรการคดีค้ามนุษย์ หรือบังคับใช้แรงงาน มีความผิดมูลฐานคดีฟอกเงินจะไปขอยื่นคำร้อง จะทำให้แรงงานข้ามชาติ ได้รับการเยียวยาได้ รัฐต้องดูแลในการติดตามเรื่องเหล่านี้” นางสุกัญญา กล่าว
ไทยมีกฎหมายคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติโดยไม่เลือกปฎิบัติ
แรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย จะได้รับการคุ้มครองตามสิทธิโดยไม่เลือกปฎิบัติ และมีสิทธิได้รับการเยียวยาตามกฎหมายไทย โดยในส่วนของศาลยุติธรรม เป็นองค์กรหลักในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งในส่วนคดีแพ่ง อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานกลาง และศาลแรงงานภาค ส่วนคดีอาญา จะเป็นเรื่องความผิดฐานค้ามนุษย์ และการบังคับใช้แรงงาน
สำหรับการคุ้มครองแรงงานในส่วนคดีแพ่ง เราพบว่าคดีพิพาทระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง จะเป็นแรงงานข้ามชาติที่จดทะเบียน ส่วนที่ตกเป็นเหยื่อจะเป็นกลุ่มแรงงานที่ด้อยกว่า และถูกเอาเปรียบเรื่องค่าจ้าง โดยให้กระบวนการทั้งเรื่องประหยัด สะดวก มีการยกเว้นค่าธรรมเนียม และแม้จะไม่ได้จัดตั้งศาลแรงงานจังหวัดทั่วประเทศ แต่มีการจัดตั้งศาลแรงงานภาคให้แก่ประชาชน
ความเท่าเทียมกันในการทำหน้าที่ โดยต้องมีทัศนคติ การเข้าถึง ความโปร่งใส ความรับชอบ รวมถึงต้องมีความยุติธรรม ความสามารถในการคาดการณ์ ความเสมอภาค ความเข้ากันได้กับแนวทางในการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ
เอกชนมีนโยบาย มีแนวทางคุ้มครองสิทธิเสรีภาพแรงงานข้ามชาติ
บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มีแรงงาน 30,000 กว่าคน และ 70% เป็นแรงงานข้ามชาติ ซึ่งการดำเนินงานคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ไทยยูเนี่ยน มีความมุ่งมั่นในการเปลี่ยนแปลงอาหารทะเล จะทำธุรกิจอย่างไรให้มีความยั่งยืน มีนโยบายในการดำเนินธุรกิจ คู่ค้า แง่การดำเนินการธุรกิจ แรงงานข้ามชาติต่างๆ เรามีนโยบาย มีแผนในการดำเนินการเรื่องสิทธิมนุษย์
การดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม การสรรหาแรงงานข้ามชาติอย่างมีจริยธรรม มีการตั้งคณะทำงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน มีการอบรมความรู้ให้แก่พนักงานทุกระดับให้เข้าใจ และรับทราบระบบสิทธิต่างๆ และอบรมในทุกปี ทั้งพนักงานของไทยยูเนี่ยน และคู่ค้า มีการเฝ้าระวังและตรวจติดตามทั้งภานในและภายนอก มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องนำผลจากการตรวจติดตามและการดำเนินการมาพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการเปิดช่องทางการรับฟังเสียงพนักงาน
ขณะที่ เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือเครือซีพี ประกอบด้วย 100 บริษัท ดำเนินธุรกิจ 8 อุตสาหกรรมทั่วโลก มีพนักงานประมาณ 420,000 คน และมีพนักงานตั้งแต่ระดับบริหาร และปฎิบัติการที่ไม่ได้ทำงานในบ้านเกิดของตนเอง โดยในกรอบการพัฒนาความยั่งยืนของเครือซีพี ได้ให้ความสำคัญด้านสิทธิมนุษยชน
ทั้งนี้ สำหรับกรอบนโยบาย ตั้งแต่การสรรหาพนักงานโดยไม่เลือกปฎิบัติ ให้ค่าตอบแทนและสวัสดิการเทียบเท่ากับแรงงานในสัญชาติไทย และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ มีการอบรม มีเกณฑ์การคัดเลือก เป็นต้น เพื่อลดความเสี่ยงที่แรงงานข้ามชาติถูกเอารัดเอาเปรียบ รวมถึงมีการช่องทางในการรับฟังและเยียวยาแรงงานข้ามชาติ