ปรับเพดานค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณ 'เงินสมทบ'
"ประกันสังคม" แจงการปรับเพดานค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูง ผู้ประกันตนที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณ "เงินสมทบ" กองทุนประกันสังคม
สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นกรณีผู้ประกันตน "ประกันสังคม" มาตรา 33 เรื่อง กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณ "เงินสมทบ" กองทุนประกันสังคม พ.ศ.... ผ่านเว็บไซต์ระบบกลางกฎหมาย (คลิกที่นี่) ซึ่งจะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566 นี้
โดยประเด็นสำคัญของร่างกฎหมายหรือกฎหมายที่นำมารับฟังความคิดเห็นนั้น หลักๆคือการปรับฐานค่าจ้างจาก 15,000 บาทอย่างค่อยเป็นค่อยไปสูงสุดไม่เกิน 23,000 บาทำท รวมถึงการจ่ายเงินสมทบเพิ่มขึ้นจากเดิมสูงสุด 750 บาทเป็น 1,150 บาท
ที่มาของการปรับเพดานค่าจ้างเป็น 17,500 - 23,000 บาท
1 หลักการสากลในการกำหนดเพดานค่าจ้าง
- ค่าจ้างเฉลี่ยของผู้ประกันตนทุกคน X 1.25 และควรปรับทุกปี
2. ปี 2565 ค่าจ้างเฉลี่ยผู้ประกันตน ม.33 = 18,400 บาท
- ดังนั้นควรปรับเพดานค่าจ้าง เป็น 23,000 บาท
3. การปรับเพดานค่าจ้าง 1.25 เท่า ในทันทีอาจส่งผลกระทบ
- เนื่องจาก สปส.ไม่ได้มีการปรับเพดานค่าจ้างขั้นสูง มากว่า 30 ปี จึงปรับแบบขั้นบันใด
2567 - 2569 = 17,500 (เปอร์เซ็นไทล์ที่ 75 ของ 23,000)
2570 -2572 = 20,000
2573 เป็นต้นไป = 23,000
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ผู้ประกันตนที่ค่าจ้างต่ำกว่า 15,000 บาท ได้รับผลกระทบหรือไม่ ?
ไม่ได้รับผลกระทบ โดยผู้ประกันตนจะนำส่ง "เงินสมทบ" 5% ของค่าจ้างตามจริงที่นายจ้างรายงาน ต่อสำนักงานประกันสังคม เช่น
กรณีค่าจ้าง
- เดือนละ 10,000 บาท ผู้ประกันตนจะนำส่งเงินสมทบ
- เดือนละ 500 บาท (10,000 x 5% = 500)
ทั้งนี้ ผู้ประกันตนที่มีค่าจ้าง 15,000 ขึ้นไป มีประมาณ 37% ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะต้องส่งเงินสมทบเพิ่มจากการปรับเพดานค่าจ้าง แต่จ่ายอัตราเงินสมทบ 5% เท่าเดิม
เหตุผลความจำเป็นในการปรับเพดานค่าจ้าง
- เพื่อให้สิทธิประโยชน์ ( เงินทดแทนการขาดรายได้ ) พอเพียงกับการครองชีพในปัจจุบันของผู้ประกันตน
- เพื่อกระจายรายได้ จากผู้มีรายได้สูง ไปสู่ผู้มีรายได้น้อย
- เพื่อเพิ่มโอกาสในการปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์
"เงินสมทบ" กรณีเพดานขั้นสูง
สิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นเมื่อปรับเพิ่มเพดานค่าจ้าง ดังนี้
ที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับผู้ประกันตน คือทำให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมเพิ่มขึ้น เนื่องจากฐานที่ใช้ในการคำนวณเพื่อรับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวจะคำนวณจากค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม ดังนี้
ที่มา : สำนักงานประกันสังคม