ประกันสังคม กรกฎาคม 67 ม.33 - ม.39 - ม.40 จ่ายเท่าไหร่ ถ้าปรับเหลือ 3% จ่ายกี่บาท
อัปเดต กรกฎาคม 2567 “เงินประกันสังคม ม.33 - ม.39 - ม.40” ต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมเท่าไหร่? ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง หากกระทรวงแรงงาน ปรับลด “เงินสมทบประกันสังคม” ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เหลือ 3% จากเดิม 5% ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ต้องจ่ายกี่บาท
กรกฎาคม 2567 อัปเดต “เงินประกันสังคม ม.33 - ม.39 - ม.40” ต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมเท่าไหร่? ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง หากกระทรวงแรงงาน ปรับ "ลดเงินสมทบประกันสังคม” ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เหลือ 3% จากเดิม 5% ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ต้องจ่ายกี่บาท
จ่ายเงินประกันสังคม เดือนกรกฎาคม 2567 ต้องจ่ายเท่าไหร่?
ผู้ประกันตน มาตรา 33 (ม.33)
พนักงานประจำ พนักงานหรือลูกจ้างทุกระดับตำแหน่งที่สถานประกอบการจ้างให้ทำงานเป็นประจำ และเต็มเวลา ที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ต้องจ่ายเงินสมทบเป็นจำนวน 5% ของรายได้ต่อเดือน คิดจากฐานค่าจ้างต่ำสุด 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
ลูกจ้างและนายจ้าง จ่ายฝ่ายละ 5% เงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป ต้องจ่ายเงินสมทบ 750 บาทต่อเดือน
เมื่อรวมเงินสมทบประกันสังคมที่จ่ายทั้งหมดตลอด 12 เดือน ผู้ที่มีเงินเดือนมากกว่า 15,000 บาท จ่ายเงินสมทบรวมทั้งหมด 9,000 บาท
ผู้ประกันตน มาตรา 39 (ม.39)
บุคคลที่เคยทำงานในบริษัทเอกชน เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 (ม.33) มาก่อนแล้ว ได้ลาออกจากบริษัท แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ จึงสมัครใช้สิทธิในมาตรา 39 แทน โดยการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ม.39 นั้นสามารถทำได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม
ผู้ประกันตน ส่งเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 39 ด้วยตนเอง เป็นจำนวน 432 บาท ต่อเดือน
เมื่อรวมเงินสมทบประกันสังคมที่จ่ายทั้งหมดตลอด 12 เดือน เป็นวงเงินทั้งสิ้น 5,184 บาท
ผู้ประกันตนมาตรา 40
ประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และแรงงานนอกระบบ ฟรีแลนซ์ ที่มีอายุ 15 – 65 ปี ซึ่งต้องไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39
เงินสมทบที่ต้องนำส่งมี 3 ทางเลือก
ทางเลือกที่ 1 จ่ายในอัตรา 70 บาทต่อเดือน
- สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย
- จ่ายครบ 12 เดือน เป็นวงเงินทั้งสิ้น 840 บาท
ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาทต่อเดือน
- สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ
- จ่ายครบ 12 เดือน เป็นวงเงินทั้งสิ้น 1,200 บาท
ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาทต่อเดือน
- สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร
- จ่ายครบ 12 เดือน เป็นวงเงินทั้งสิ้น 3,600 บาท
อัปเดตล่าสุด กระทรวงแรงงาน จ่อปรับลดเงินสมทบประกันสังคม ม.33 เหลือ 3%
การปรับลดเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ปี พ.ศ.2567 นั้น การดำเนินการในครั้งนี้ กระทรวงแรงงาน จะมีการยกร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. …. ขึ้นมาหนึ่งฉบับ มีหลักการสำคัญใน การปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม เป็นระยะเวลา 3 เดือน
โดยลดอัตราเงินสมทบฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จากเดิมฝ่ายละ 5% ของค่าจ้างผู้ประกันตน เหลือฝ่ายละ 3% ของค่าจ้างผู้ประกันตน สำหรับฝ่ายรัฐบาลส่งเงินสมทบอัตราเดิม 2.75% ของค่าจ้างผู้ประกันตน
คำนวณยอดเงินสมทบประกันสังคม ม. 33 ต้องจ่ายเท่าไหร่ หากลดเหลือ 3%
ตัวอย่างคำนวณจากฐานเงินเดือน 15,000 บาท
- ผู้ประกันตน ม.33 เดิมจ่าย 5% คิดเป็น 750 บาท ลดเหลือ 3% จะจ่าย 450 บาท
- นายจ้าง เดิมจ่าย 5% คิดเป็น 750 บาท ลดเหลือ 3% จะจ่าย 450 บาท
- เงินสมทบจากรัฐ 2.75% เท่าเดิม