ป้องกันก่อนเป็นโรค "ปอดอักเสบ" อย่าปล่อยให้รุนแรง อันตรายทั้งเด็ก-ผู้ใหญ่
วันที่ 12 พฤศจิกายนของทุกปี องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้เป็นวัน "โรคปอดบวมโลก" เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญและช่วยกันรณรงค์ลดการป่วยและเสียชีวิตจากโรคนี้
"โรคปอดอักเสบ" จะเกิดมากในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ และผู้สูงอายุ 50 ปี ขึ้นไป จะมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตสูงที่สุดในโลกเนื่องจากเป็นโรคติดเชื้อที่มีความรุนแรงเฉียบพลันสำหรับสถานการณ์ระดับโลกแต่ละปีมีคนป่วยปอดอักเสบประมาณ 400 ล้านคนต่อปี และเสียชีวิตปีละ 2.5 ล้านคน ในจำนวนนี้ครึ่งหนึ่งอายุต่ำกว่า 15 ปี อีกครึ่งเกิน 15 ปี
วันนี้( 11 พ.ย.2565) สถาบันวัคซีนแห่งชาติ จัดเสวนาวิชาการออนไลน์ เนื่องในวันปอดอักเสบโลก (World Pneumonia Day 2022) เรื่อง ประเทศไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่การป้องกันโรคปอดอักเสบหลังการระบาดโควิด 19 วัคซีนจะเป็นส่วนประกอบหลักในการต่อสู้โรคภัยไข้เจ็บ และการระบาดของโควิด สถาบันวัคซีนแห่งชาติมาถูกต้อง
"โรคปอดอักเสบ" ฉีดวัคซีนลดความรุนแรง
นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า โรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ซึ่งเกิดได้ทั้งในกลุ่มเด็กและผู้ใหญ่ โดยสาเหตุเกิดทั้งเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือสารเคมีที่อาจก่อให้เกิดการอักเสบของปอดได้ ดังนั้น หากประชาชนรู้ว่ามาจากสาเหตุอะไร และทราบการป้องกันก็จะลดอัตราการเกิดโรค หรือเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม การป้องกันโรคปอดอักเสบ สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนซึ่งมีหลายชนิด
นพ.นคร กล่าวต่อว่าขอเชิญชวนทุกคนให้มาฉีดวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้น โดยเฉพาะสูงอายุ ผู้มีโรคร่วม หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็กตั้งแต่อายุ 6 เดือนเป็นต้นไป เพราะสามารถลดความรุนแรงและเสียชีวิต ทั้งโควิดและปอดอักเสบได้ รวมถึงขอให้ทุกคนป้องกันด้วยการสวมใส่หน้ากากอนามัย เพราะปอดอักเสบเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
สร้างเกราะคุ้มกัน..ด้วยการฉีด "วัคซีนไข้หวัดใหญ่" และ "โรคปอดอักเสบ"
เชื้อยังอยู่! ติดโควิดปอดอักเสบ 4 ครั้งใน 4เดือน ฉีดวัคซีนไม่ลดอาการหนัก
เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ใหญ่อายุ60 ปีขึ้นไปพบปอดอักเสบ
รศ. (พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ กรรมการสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ว่า โรคปอดบวมกับปอดอักเสบมีลักษณะคล้ายกัน แต่จริงๆต้องใช้คำว่า ปอดอักเสบ เพราะจะตรงมากกว่า โรคนี้เป็นได้ทุกช่วงอายุ ไม่ใช่โรคที่เป็นจำเพาะเด็ก หรือจำเพาะผู้ใหญ่ ซึ่งการป้องกันต่างๆ จะแตกต่างกันในกลุ่มระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่
โดยในเด็กครึ่งหนึ่งของจำนวน 2.5 ล้านคน จะอายุต่ำกว่า 15 ปี และพบมากอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นแล้วอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้ เพราะเด็กมีผู้คุ้มกันต่ำกว่า และมีโรคประจำตัว ส่วนกลุ่มผู้ใหญ่ที่เสียชีวิตจะมีครึ่งหนึ่ง และพบมากในอายุเกิน 65-70 ปีขึ้นไป เพราะมีโรคประจำตัว ติดเชื้อง่าย และมีโอกาสรุนแรงง่าย อีกทั้งภูมิคุ้มกันก็เริ่มอ่อนแอลง
สำหรับเชื้อปอดอักเสบที่ลักษณะที่มาจากโรค ซึ่งเกิดได้จากทั้งเชื้อโรค และสารเคม ซึ่งเชื้อโรคที่จะเป็น คือ ไวรัส และแบคทีเรีย ร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันอยู่แล้ว แต่เชื้อที่เกิดขึ้นจากแบคทีเรีย ตัวสำคัญคือ นิวโมคอคคัส มีอยู่แล้ว เกาะอยู่ในคอ รอวันจู่โจม วันใดวันหนึ่งร่างกายอ่อนแอ เช่น ป่วยไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ จะทำให้ทางเดินหายใจขรุขระ ก็จะทำให้เชื้อที่เกาะในคอลงไปที่ปอดได้ง่าย
ทางการแพทย์กลัวที่สุด คือ เมื่อเส้นทางเดินหายใจขรุขระ เชื้อแบคทีเรียอาจเข้าสู่เลือด จะไม่ไต่ไปปอดก่อน และเมื่อเข้าสู่เลือดจะไปสมอง กระดูก และอาจวนมาที่ปอด กลายเป็นไอพีดี หรือกลุ่มโรครุนแรงของเชื้อนิวโมคอคคัส
ปัจจัยเสี่ยงเกิดปอดอักเสบ
รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี กล่าวต่อไปว่า สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดปอดอักเสบ คือ
1.อายุ อย่างที่กล่าวไปอายุน้อย อายุมาก การมีโรคร่วม เป็นต้น
2.การกินนมแม่ อย่างปอดอักเสบจะโฟกัสไปเด็ก หากกินนมแม่จะได้ภูมิคุ้มกัน ซึ่งแนะนำให้เด็กหลังคลอดต้องรับนมแม่จะป้องกันโรคได้
3.สภาพอาการ ฝุ่นละออง PM 2.5 ควันบุหรี่ ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงเช่นกัน
4.ประเทศที่มีเศรษฐานะยากจน ขาดอาหาร ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันลดลง
5. ภูมิคุ้มกันของร่างกายแต่ละคน
ย้ำโรคโควิด-19 ไม่มีวันไปไหน จะอยู่กับเราไปตลอด
รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี กล่าวต่อด้วยว่า จากเทคโนโลยีจากวัคซีนจะช่วยป้องกันโรคติดเชื้อต่างๆมากขึ้น อย่างเชื้อไวรัส RSV ที่เป็นสาเหตุปอดอักเสบสำคัญในเด็กและผู้สูงอายุเริ่มมีการพัฒนาวัคซีนใกล้สำเร็จแล้ว และในอนาคตอันใกล้จะมีการศึกษาใช้ในเด็กต่อไป แต่ทราบว่าล่าสุดมีผลต่อการป้องกันในกลุ่มผู้สูงอายุ และหญิงตั้งครรภ์
ทั้งนี้ วัคซีนป้องกันปอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อต่างๆ อย่างวัคซีนต่อเชื้อนิวโมคอคคัส เป็นวัคซีนที่อยากได้มาก โดยเฉพาะในเด็กเพื่อป้องกันโรคไอพีดี อาการรุนแรง นอกจากนี้ ยังมีวัคซีนฮิบ(Hib) ซึ่งปัจจุบันเด็กไทยได้แล้ว ป้องกันทั้งปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ ส่วนวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่กำลังระบาด ยิ่งการสวมหน้ากากอนามัยลด การระบาดจะมากขึ้น ดังนั้น การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ปีละครั้ง แต่คุ้มค่ามาก เพราะนอกจากป้องกันไข้หวัดใหญ่ ยังป้องกันนิวโมคอคคัสได้
“สุดท้ายขอย้ำเรื่องโรคโควิด-19 ไม่มีวันไปไหน จะอยู่กับเราไปชั่วกัลปาวสาน และจะลากเอาพี่น้องมาด้วย ดังนั้น โควิดเป็นตัวอย่างสำคัญ ว่าการบาลานส์ของธรรมชาติกับมนุษย์สำคัญมาก ยังมีเชื้อโคโรนาไวรัสตัวใหม่ๆอีกมากที่รออยู่ และรอที่ไหน เชื่อว่า รออยู่ในค้างคาว ดังนั้น ข่าวที่ไปกินค้างคาว อย่าเล่นกับไฟ อันตรายสุดๆ ค้างคาวเป็นสุดยอดแห่งสัตว์นำเชื้อโรคต่างๆ ทั้งไข้หวัดใหญ่ โคโรนาไวรัส ไข้สมองอักเสบ พิษสุนัขบ้า ฯลฯ” รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี กล่าว
ป้องกันการเกิดปอดอักเสบ
ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรคปอดอักเสบเป็นโรคติดเชื้อที่เป็นสาเหตุ การตายอันดับหนึ่งในเด็ก อัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กลุ่มที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ เด็กอายุ 0-4 ปี
โรคปอดอักเสบในเด็กเป็น 1 ใน 6 โรคที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศเตือนให้ระมัดระวังเป็นพิเศษในช่วงอากาศหนาวเย็น พบประมาณร้อยละ 2 ของเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี โดยพบความชุกประมาณ ร้อยละ 45-50 ของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่มา ด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง และร้อยละ 7-13 มีอาการปอดอักเสบรุนแรง จนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และเป็นสาเหตุการตายอันกับ 1 ของโรคติดเชื้อในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เช่นเดียวกัน
ปัจจัยที่ก่อเกิดโรคปอดอักเสบในเด็ก
ปัจจัยภายใน ได้แก่
- ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอจากภาวะทุพโภชนาการ หริอขาดสารอาหาร โดยเฉพาะในทารกที่ไม่ได้รับนมแม่อย่างเพียงพอ
- ภาวะเจ็บป่วยทีมีอยู่ก่อน เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคเรื้อรังอื่นๆ ติดเชื้อ HIV ภาวะคลอดก่อนกำหนด
ปัจจัยภายนอก
- ชุมชนแออัด
- มีฝุ่นละอองในอากาศ
- ควันบุหรี่
- ควันไฟ
- การดูแลสุขอนามัยแก่เด็ก
- กิจกรรมที่เด็กทำ
เช็กสาเหตุ อาการเบื้องต้นปอดอักเสบ
สาเหตุของโรคปอดอักเสบ ซึ่งมันเกิดจากเชื้อไวรัสร่วมกับแบคทีเรีย ประมาณร้อยละ 49 และไวรัสอย่างเดียว ประมาณ ร้อยละ 30 ขณะที่ในกลุ่มผู้ใหญ่ จะเกิดจากเชื้อไวรัสร่วมกับแบคทีเรีย ร้อยละ 7 ไวรัสอย่างเดียว ร้อยละ 22
โรคปอดบวมมักมีอาการเกิดขึ้นแบบฉับพลัน อาการแสดง จะขึ้นกับอายุและเชื้อที่ได้รับเป็นสำคัญ นอกจากนี้อาจมี ท้องอืด อาเจียน ซึม ไม่ดูดนม ร้องกวนกว่าปกติร่วมด้วย ซึ่งพบบ่อยในเด็กเล็ก ส่วนเด็กโตนั้นอาจมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเพิ่มขึ้นมา
การป้องกันโรคปอดอักเสบ
“โรคปอดอักเสบเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากการติดเชื้อมากที่สุดในเด็กทั่วโรค โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส ยังคงเป็นปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงของเด็กทั่วโลก ในจำนวนผู้ที่เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างนั้น ประมาณร้อยละ 65 เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส นิวโมเนีย
องค์การอนามัยโลกประมาณการณ์ว่าในแต่ละปี จะมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบเสียชีวิต จาเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส นิวโมเนีย ถึงกว่า 300,000 ราย
สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคปอดอักเสบมีดังนี้
- หลีกเลี่ยงนำเด็กเข้าไปในบริเสณสถานที่ที่คนแออัด
- จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาดอยู่เสมอ
- หลีกเลี่ยงฝุ่นและควัน เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถ อยู่ใกล้ชิดกับผู้กำลังมีอาการหวัด หรือไอ
- ให้โภชนาการที่เพียงพอแก่เด็ก โดยเริ่มจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต
แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่ในเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป
- วัคซีน PCV ป้องกันปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอสคัส (และยังป้องกันโรคIPD ด้วย)
- วัคซีนไอกรน และฮิบ
- วัคซีนหัด
- วัคซีนโควิด-19