อัปเดต สิ่งทำได้-ไม่ได้ เมื่อเฉพาะ"ช่อดอกกัญชา"เป็นสมุนไพรควบคุม

อัปเดต สิ่งทำได้-ไม่ได้ เมื่อเฉพาะ"ช่อดอกกัญชา"เป็นสมุนไพรควบคุม

การออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เฉพาะ“ช่อดอก”เป็นสมุนไพรควบคุม คลายล็อกกัญชาเพิ่มขึ้น แต่คุมเข้มเฉพาะส่วน แล้วสิ่งไหนทำได้-ไม่ได้ และมีจุดที่สธ.ยังไม่อุดช่องโหว่

 ยังคงมองต่างมุม สำหรับผู้สนับสนุนนโยบายกัญชาทางการแพทย์ สุขภาพและเศรษฐกิจ ที่เห็นว่า เมื่อกัญชาไม่ใช่ยาเสพติดแล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องมีการควบคุมที่เข้มงวดเหมือนเดิม แต่สำหรับผู้ที่คัดค้าน มองว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมเข้มงวด โดยเฉพาะการนำไปใช้ในทางสันทนาการและการเข้าถึงของเด็กและเยาวชน

      ทั้งนี้ ส่วนของกัญชาที่เป็นปัญหาที่สุด คือ “ช่อดอกกัญชา” เนื่องจากมีปริมาณ THC สูง ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท โดยมีสูงถึง 10-20 %  ขณะที่กฎหมายกำหนดสารสกัดจากกัญชาต้องมีไม่เกิน  0.2 % จึงจะไม่ถือเป็นยาเสพติดช่อดอกกัญชาเป็นสมุนไพรควบคุม

     เมื่อร่างพรบ.กัญชากัญชง ยังไม่ผ่านสภาผู้แทนราษฎร ที่ผ่านมาจึงมีเพียงประกาศกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ในเรื่องต่างๆเท่านั้นที่ใช้ควบคุมกำกับการใช้ประโยชน์จากกัญชา หลังมีการปลดล็อกจากยาเสพติด ทั้งการผลิตและการจำหน่าย รวมถึง การประกาศให้ “กัญชา”เป็นสมุนไพรควบคุม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

อนุทิน ลงนามประกาศ "ช่อดอกกัญชา" เป็นสมุนไพรควบคุม
“ท้องผูก”ทางแก้ที่ถูกต้อง เมื่อ“ดีท็อกซ์”ทำลายระบบขับถ่าย
8 ข้อป้องกัน "เบาหวาน" ที่ไม่ใช่แค่ไม่กินของหวาน

  ล่าสุด เมื่อวันที่ 11 พ.ย.2565 อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ลงนามในประกาศกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ.2565 โดยกำหนดให้เฉพาะส่วนของ “ช่อดอก”เท่านั้นเป็นสมุนไพรควบคุม

         นี่จึงอาจเเป็นการ “ตีกัน”ไว้ก่อน กรณีที่ร่างพรบ.กัญชากัญชง จะไม่ผ่านสภาผู้แทนราษฎร เมื่อมีการหยิบมาเข้าวาระประชุมอีกครั้ง ที่คาดว่าจะเป็นหลังการประชุมเอเปก

      เพราะที่ผ่านมา การคุม “ช่อดอก”นับว่าเป็นช่องโหว่ที่ประกาศสธ.ยังไม่ชัดเจน ในการควบคุมไม่ให้นำไปใช้ในทางที่ผิดวัตถุประสงค์ของการคุ้มครองและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากสมุนไพร

หลังประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้หลังวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีสิ่งที่เปลี่ยนไปในการนำกัญชา และช่อดอกกัญชามาใช้
         การใช้ส่วนอื่นๆของกัญชา

      ตามประกาศฉบับใหม่ ส่วนอื่นๆของกัญชา ไม่จัดเป็นสมุนไพรควบคุมอีกต่อไป นั่นเท่ากับว่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตก่อนตามประกาศใหม่นี้

     แต่ในส่วนของการนำไปปรุงเป็นอาหารที่มีหน้าร้าน หรือในร้านอาหาร จะมีประกาศของกรมอนามัยควบคุมการใช้กัญชาเป็นส่วนผสม

  • จะต้องมีการแสดงรายการเมนูที่มีกัญชาเป็นส่วนผสมอย่างชัดเจน
  • - มีคำแนะนำในการบริโภคอย่างชัดเจนว่าใครที่ เป็นกลุ่มต้องห้ามรับประทาน เช่น หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้ที่มีประวัติแพ้
  • มีคำแนะนำเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์
  •  กรณีที่มีการวางขายใบกัญชาตามท้องถนน ดังที่เคยเป็นข่าวก่อนหน้านี้ ก็จะมีการเอาผิดทางร้าน    ฐานไม่ถูกสุขลักษณะ

       หากมีการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวอย่างชัดเจน จะมีโทษตามพรบ.การสาธารณสุข ซึ่งมีเจ้าพนักงาน ตามกฎหมายคือบุคลากรสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในระดับพื้นที่


   การใช้ช่อดอกกัญชา

        การใช้ประโยชน์ช่อดอกกัญชาในฐานะสมุนไพรควบคุมตามประกาศใหม่

1. ผู้ใดประสงค์จะศึกษาวิจัย ส่งออก จำหน่าย หรือแปรรูปสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า ต้องได้รับใบอนุญาต และปฏิบัติ ดังนี้

  ต้องจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มา การนำไปใช้ และจำนวนที่เก็บไว้ ณ สถานประกอบการ และให้รายงานข้อมูลนั้นต่อนายทะเบียนตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด

  ต้องแจ้งรายละเอียดการส่งออกต่อผู้อนุญาตเป็นรายครั้ง ตามแบบที่อธิบตีประกาศกำหนด

5 กรณีห้ามจำหน่ายช่อดอกกัญชาเพื่อการค้า

  •  ห้ามจำหน่าย ให้กับผู้ที่มีอายุต่ำกว่ายี่สิบปี สตรีมีครรภ์หรือสตรีให้นมบุตร
  •  ห้ามจำหน่าย ให้กับนักเรียนนิสิตหรือนักศึกษา
  •  ห้ามจำหน่ายสมุนไพรควบคุมเพื่อการสูบในสถานที่ประกอบการ เว้นแต่การจำหน่ายโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หมอพื้นบ้านที่ได้รับการรับรอง ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีน และผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยของตน หรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ที่ใช้ในการรักษาสัตว์
  • ห้ามจำหน่ายสมุนไพรควบคุม หรือสินค้าที่แปรรูปจากสมุนไพรควบคุมเพื่อการ ค้าผ่านเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 สถานที่ห้ามขายช่อดอกกัญชา  

  • ห้ามจำหน่ายสมุนไพรควบคุม หรือสินค้าที่แปรรูปจากสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า ในสถานที่ ดังต่อไปนี้

(ก) วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา
(ข) หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก
(ค) สวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสวนสนุก
ห้ามโฆษณาเพื่อการค้าทุกช่องทาง
ห้ามโฆษณาสมุนไพรควบคุมในทุกช่องทางเพื่อการค้า

      นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ประกาศสมุนไพรควบคุมฉบับเดิม ควบคุมกัญชาทั้งต้นทำให้การนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการแพทย์ สุขภาพและเศรษฐกิจทำได้ยาก จึงต้องปรับปรุงประกาศสมุนไพรควบคุมแบบการควบคุมเพียงช่อดอกกัญชา

  ส่วนอื่นที่ไม่ใช่ช่อดอกกัญชาก็ไม่ต้องขออนุญาตในการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเนื้อหาก็ล้อมาจากร่างพ.ร.บ.กัญชากัญชงเป็นหลัก  โดยในประกาศสมุนไพรควบคุมจะกำหนดว่าหากจะนำไปศึกษา จำหน่ายหรือแปรรูปเพื่อการค้าจะต้องขออนุญาตก่อน แต่ประชาชนที่ขึ้นทะเบียนปลูกกัญชาในระบบ ‘ปลูกกัญ’ ของอย. หากไม่ได้ปลูกเพื่อการค้าไม่ต้องขออนุญาต
ช่องโหว่ไม่กำหนดในครัวเรือน

     ดูเหมือน ประกาศให้ช่อดอกกัญชาเป็นสมุนไพรควบคุมนี้ จะมุ่งเน้นไปที่เรื่องของการควบคุมกรณี “เพื่อการค้า”เป็นหลัก จึงไร้ซึ่งการพูดถึงเรื่องการครอบครอง “ช่อดอกในระดับครัวเรือน” หรือแม้แต่ขาดส่วนที่พูดถึงการกำหนดปริมาณการปลูกในครัวเรือน ซึ่งในร่างพรบ.กัญชากัญชงนั้น มีการกำหนดไว้ที่  15 ต้น 
       นั่นอาจแปลได้ว่า การใช้ช่อดอกในครัวเรือน อาจไม่ได้มีการควบคุมตามประกาศนี่ ย่อมหมายความว่า  “การใช้สันทนาการในบ้านคงจะทำได้”

     อย่างไรก็ตาม  เมื่อไปดูพรบ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542 ที่เป็นกฎหมายแม่ของประกาศสมุนไพรควบคุมแล้ว

         นิยามของคำว่า “แปรรูป” หมายความว่า การปรุงแต่งหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพหรือคุณสมบัติของสมุนไพร

      ก็ไม่ชัดว่า “การนำช่อดอกมาใช้สันทนาการนั้น จะเข้านิยามนี้หรือไม่”

     ทั้งนี้ ในวันที่ 14 พ.ย.2565 กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จะมีการชี้แจง ทำความเข้าใจกับประกาศ ช่อดอกกัญชาเป็นสมุนไพรควบคุมอย่างละเอียด