7 แอปพลิเคชั่นแพทย์แผนไทย-สมุนไพร และแพลตฟอร์มใหม่

7 แอปพลิเคชั่นแพทย์แผนไทย-สมุนไพร และแพลตฟอร์มใหม่

รวม 7 แอปพลิเคชั่นแพทย์แผนไทย-สมุนไพร ขณะที่กรมการแพทย์แผนไทยฯ ขยายเพิ่ม จับมือ มจพ. พัฒนาแพลตฟอร์มดูแลสุขภาพด้วยแพทย์แผนไทยและสมุนไพรอัจฉริยะ (Smart Healthcare TTM) ช่วยเข้าถึงมากขึ้น

   ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้จัดทำแอปพลิเคชัน เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงองค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพและเข้าถึงบริการสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกให้กับประชาชน  ประกอบด้วย

  1. แอปพลิเคชันพจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย
  2.   แอปพลิเคชันสมุนไพรไทย
  3. แอปพลิเคชันพจนานุกรมศัพท์แพทย์แผนไทย(ไทย-อังกฤษ)
  4. แอปพลิเคชันสมุนไพรเฟิร์ส
  5. แอปพลิเคชันการระบุชนิดสมุนไพรด้วยภาพ (HerbID)
  6. แอปพลิเคชัน Big Data นวดไทย และ
  7. แอปพลิเคชัน Dr.Ganja in TTM เป็นต้น


แพลตฟอร์มhealthcareแผนไทย
     ล่าสุด เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2566) ที่ หอประชุมเบญจรัตน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพมหานคร  มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อร่วมกันศึกษา วิจัยและพัฒนาแพลตฟอร์มดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรอัจฉริยะ (Smart Healthcare TTM) ระหว่าง กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กับคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ(มจพ.) โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี 

4 โมดูลองค์ความรู้
      การลงนาม เพื่อร่วมกันศึกษา วิจัยและพัฒนาแพลตฟอร์มดูแลสุขภาพ ด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรอัจฉริยะ (Smart Healthcare TTM) ซึ่งประกอบด้วย 4 โมดูล ได้แก่                    
1. Digital TTM Knowledge Management เป็นการนำตำรับ/ตำราการแพทย์แผนไทยที่ได้บันทึกไว้ในสมุดไทย ใบลาน ศิลาจารึก หรือวัสดุอื่นใด เข้าสู่กระบวนการ Digitization และจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบ Digital Knowledge based      

  2. TTM Expert & Recommendation Systems เป็นกระบวนการ Digitalization ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ และ ระบบช่วยแนะนำ เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายถอด ปริวรรต สังคายนา และสืบค้นตำรับ/ตำราการแพทย์แผนไทย
3.Herbal Product & Service Big Data Management เป็นกระบวนการ Digital Transformation โดยพัฒนา Big data ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เพื่อใช้ในการวางแผนการพัฒนาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจอย่างครบห่วงโซ่คุณค่า 

3.Herbal Product & Service Big Data Management เป็นกระบวนการ Digital Transformation โดยพัฒนา Big data ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เพื่อใช้ในการวางแผนการพัฒนาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจอย่างครบห่วงโซ่คุณค่า


4. TTM Herbal Product & Service Innovation   เป็นกระบวนการ Digital Disruption โดยพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลด้านการบริการการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร เพื่อยกระดับ     การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และบริการสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรให้แก่ประชาชน สามารถเข้าถึง              ได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ (Anywhere, Anytime and Anydevice) 
7 แอปพลิเคชั่นแพทย์แผนไทย-สมุนไพร และแพลตฟอร์มใหม่
นำความรู้เข้าถึงประชาชนมากขึ้น

นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า กรมมีพันธกิจพัฒนาวิชาการและการบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยส่งเสริม และพัฒนาการวิจัย การจัดระบบความรู้ พัฒนาแหล่งผลิตและผลิตภัณฑ์สมุนไพร คุ้มครอง อนุรักษ์ และส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย
การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกมีจุดแข็ง แม้เป็นศาสตร์อดีต แต่สามารถพัฒนาโดยใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเข้ามาประยุกษ์ ทำให้ความรู้เกิดการพัฒนาต่อเนื่อง และผสมผสาน สามารถผลักดันบริการเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันในส่วนการให้บริการของกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ได้มีการใช้การแพทย์แผนไทยเข้าไปเป็นสิทธิประโยชน์ในหลักประกันสุขภาพภาครัฐทั้งบัตรทอง ประกันสังคม และสวัสิดิการข้าราชการ

"ความร่วมมือครั้งนี้ จะเกิดการวิจัย และพัฒนาแพลตฟอร์มการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรอัจฉริยะ (Smart Healthcare TTM) ในการพัฒนาความรู้ทางวิชาการ พัฒนาการศึกษา ตอบสนองนโยบายของรัฐบาลประเทศไทย 4.0 เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม และประเทศ"นพ.ธงชัยกล่าส
ศ.ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีหน้าที่หลักในการผลิตบัณฑิต วิจัย พัฒนา ส่งเสริมและ เป็นศูนย์กลางในการให้บริการทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและวิชาการขั้นสูงที่เกี่ยวข้อง แก่กลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มอาชีพ และผู้สนใจทั่วไป
"ความมุ่งหวังในการลงนาม MOU ในครั้งนี้เพื่อความร่วมมือด้านวิชาการ การเรียนการสอน ในหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และสาขาที่เกี่ยวข้อง การวิจัยการพัฒนาบุคลากรและ การสร้างนวัตกรรมดิจิทัลด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เพื่อร่วมกันพัฒนาการเรียนการสอนของนักศึกษาในหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และสาขาที่เกี่ยวข้อง"ศ.ดร.สุชาติกล่าว