'ดิจิทัล เฮลท์เทค' ลดต้นทุน 50 % ผลลัพธ์สุขภาพดีขึ้น 40 % แต่ยังติดขัดกฎหมาย
“ดิจิทัล เฮลท์เทค” ลดต้นทุน 50 % ผลลัพธ์สุขภาพดีขึ้น 40 % เทเลเมดิซีนช่วยคนเข้าถึงบริการทั่วถึง เท่าเทียม แต่ยังติดขัดข้อกฎหมาย รอแพทยสภาปลดล็อก
ในงานสัมมนา Than x Forum 2023 Health & Wellness Sustainability ดร.ฐิติพงศ์ นันทาภิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เทเลเฮลท์ แคร์ จำกัด และ บริษัท เมดิคอล อินเทลลิเจนซ์ จำกัด กล่าวถึงเรื่องเฮลท์เทคว่า การดูแลสุขภาพไม่ใช่เพียงการเจ็บป่วย แต่จะต้องทำเรื่องการป้องกันให้ได้ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ต้องใช้ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ซึ่งระบบสุขภาพและความยั่งยืนเป็นเรื่องที่ต้องไปด้วยกัน
ในส่วนของสุขภาพเป็นเรื่องทั้งป้องกันและดูแลเมื่อเจ็บป่วย แต่ต้องทำให้นำเทคโนยีมาใช้ในปัจจุบันและรองรับกาดรูแลลูกหลานในอนาคต ให้เกิดความยั่งยืน เพื่อไม่ให้การลงทุนไปแล้วแต่ไม่ได้ดูแลเพียงพอ เพราะฉะนั้น เรื่องความยั่งยืนจะต้องทำให้ลดเรื่องของมลพิษทั้งหมดที่เกิดขึ้นในโลก และการใช้พลังงานหมุนเวียนในวงการแพทย์ด้วย เพราะทุกรพ.มีส่วนผลิตก๊าซเรือนกระจก
เอไอลดต้นทุน 50 %
สิ่งสำคัญต้องทำให้ประชาชนเข้าถึงระบบสุขภาพเฮลท์แคร์ได้ทุกที่ทุกเวลา อย่างเท่าเทียม จะทำให้ไม่ว่าอยู่ไกลแค่ไหน ประชาชนไม่ต้องเดินทาง โดยการจัดการระบบที่เอื้อ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีเฮลท์เทคมากมาย ปี 2023 เอไอเป็นเทรนด์ที่จะเห็นได้ชัดว่าวงการแพทย์ เฮลท์แคร์ จะนำเอไอมาใช้มากขึ้น สัดส่วนของการใช้เอไอในทุกวงการแพทย์มีการใช้มากที่สุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ระบบสุขภาพไทย เสี่ยงรัฐ 'ไม่มีเงินจ่าย'
สวัสดิการที่ 'คนโสด' อยากได้ กฎหมายเปิดช่อง 'อุ้มบุญ' - sperm bank
ในประเทศอังกฤษ ปี 2554 มีการจดสิทธิบัตรเอไอมาใช้ในวงการแพทย์มากกว่า 10,000 สิทธิบัตร ในช่วงเวลา 4 ปี และการใช้เอไอจะช่วยลดต้นทุนหลายด้านทางด้านการแพทย์ได้ถึง 50 % ทำให้ผลลัพธ์ทางการดูแลสุขภาพดีขึ้น 40 % ภาพรวมในอุตสาหกรรมเฮลท์แคร์ สามารถลดต้นทุนไปได้ 150 พันล้านเหรียญสหรัฐ
เฮลท์เทคช่วยระบบสุขภาพยั่งยืน
ในเรื่องความยั่งยืนของระบบสุขภาพต้องเน้นเรื่องนวัตกรรม เพื่อลดต้นทุน และเน้นไปที่ประชาชน ต้องให้ความสำคัญฐเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยนวัตกรรมทั้งหมดในปัจจุบันที่จะมาปฏิรูปวงการแพทย์ อย่างเช่น Cloud Computing จะทำให้การวิเคราะห์ทางการแพทย์เกิดขึ้นได้เร็วมากขึ้น
Digital Therapeutics จะเป็นการสร้างแอปพลิเคชั่นในการสร้างแรงจูงใจเพื่อทำกิจกรรมต่างๆในการดูแลสุขภาพตนเอง หรือการใส่ VRเพื่อได้มีประสบการณ์ในการทำกิจกรรม
Internet of Medical Things เน้นเรื่องทางการแพทย์ เช่น เครื่องวัดความดัน หรือวัดอุณหภูมิที่เชื่อมต่อบลูทูธได้ หรือ หูฟังทางการแพทย์ที่ผู้ใช้สามารถขยับได้เองเพื่อให้แพทย์ที่ดูแลผ่านเทเลเมดิซีนไกด์ไลน์ให้
แพลตฟอร์มเทเลเฮลท์แคร์ จะต้องรองรับ มัลติฮอสพิทัล ต้องทำให้เห็นว่าอนาคตทุกคน ที่ต้องการแพบแพทย์ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปรพ. อาจจะพบแพทย์ออนไลน์คัดกรองเบื้องต้นก่อนได้ ยกเว้นกรณีที่ป่วยจำเป็นจริงๆถึงจะไปรพ. ซึ่งการทำเทเลเฮลท์ ต้องมีเรื่องของการส่งยาได้ถึงบ้าน การพบแพทย์ ปรึกษาเภสัช มีแพคเกจดูแลได้ตลอดเวลา มีบริการเจาะเลือดถึงบ้าน นักกายภาพบำบัดไปช่วยดูแลที่บ้านด้วย
รอแพทยสภาคลายล็อคเทเลเมดิซีน
เทเลเมดิซีน เป็นส่วนหนึ่งของเทเลเฮลส์ที่เป็นการดูแลสุขภาพตั้งแต่ยังไม่ป่วย ซึ่งปัจจจุบันไม่จำเป็นต้องเดินทางไปพบแพทย์ที่รพ.ถ้าไม่ได้ป่วยหนัก สามารถรูปแบบเทเลเฮลต์ต่างๆได้ และถ้าสงสัยว่าจะเจ็บป่วย สามารถปรึกษาแพทย์ได้ตลอดเวลา จากที่ทุกคนมีอุปกรณ์ เช่น มือถือ ในการใช้บริการ เช่น พบแพทย์ได้เลย
ขณะนี้หน่วยงานของรัฐกำลังสร้างแพลตฟอร์ม Telehealth เพื่อช่วยคนทั่วประเทศ ภาคเอกชนก็มีหลายส่วนมาจับมือกับรัฐ เพื่อทำให้การให้บริการ Telehealth ได้อย่างครอบคลุม โดยไม่จำกัดว่าจะใช้สิทธิอะไร จะต้องเข้าถึงได้ทั้งของภาครัฐและเอกชน รวมถึงซัพพอร์ตเรื่องค่าใช้จ่ายด้วย และในปีนี้ถึงปีหน้าจะมีแพลทฟอร์มของภาครัฐออกมารองรับในจุดนี้
“กฎหมายยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่ทำให้การทำ Telehealth หรือการที่แพทย์จะไปพบผู้ป่วยติดขัดอยู่ ดังนั้น ภาครัฐ และแพทยสภาของไทย ต้องเร่งปลดล็อค เพื่อให้ Telehealth สามารถเดินหน้าต่อไป” ดร.ฐิติพงศ์กล่าว
เฮลท์เทคต้องตอบโจทย์รพ.
ขณะที่ นางสมถวิล ปธานวนิช ที่ปรึกษาและผู้ร่วมก่อตั้ง โรงพยาบาล เมดพาร์ค กล่าวว่า เฮลท์เทคเป็นสิ่งที่ต้องเข้ามาแน่นอน แต่จะเลือกใช้ให้เหมาะสม ต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาตอบโจทย์ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ขององค์กรและของผู้ใช้บริการ โดยในส่วนของรพ.เมดพาร์คที่มุ่งการดูแลโรคยากและซับซ้อน เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีที่นำมาใช้ก็จะต้องเป็นไปเพื่อรพ.ในระดับ super surgery care คือดูแลโรคยากซับซ้อน
ทั้งนี้ ระบบเอไอหรือเทคโนโลยีต่างๆได้เข้ามาฝังอยู่ในเครื่องมือแพทย์หลายชนิด แต่ละสมัยมีการพัฒนาให้มีคุณภาพดีขึ้น ช่วยเหลือแพทย์ในการวินิจฉัยและรักษาได้ดีขึ้น ลดระยะเวลาที่ผู้ป่วยต้องนอนรพ. ช่วยลดการใช้ทรัพยการและขยะทางการแพทย์ต่างๆ จึงเชื่อมโยงกับความยั่งยืนของโลกอย่างชัดเจน
หลายรพ.มีการลงทุนเรื่องเทคโนโลยีอย่างมาก แต่จะเลือกลงทุนอะไร ต้องสอดคล้องวัตถุประสงค์ของรพ. ยกตัวอย่างของรพ.เมดพาร์ค เช่น ห้องแล็ป ที่มีคุณภาพ ปลอดภัย เป็นระบบออโตเมชั่นทั้งหมด ภายในไม่เกิน 15 วินาที สิ่งส่งตรวจมาถึงห้องแล็ปไม่ว่าจากจุดไหนของรพ.
กรณีคนไข้ป่วยหนัก เช่น เป็นโรคมะเร็งต้องผ่าตัด และศัลยแพทย์เปิดท้องอยู่และตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ มีเทคโนโลยีที่ภายใน 20 นาทีบอกได้ว่าชิ้นเนื้อนั้นเป็นอันตรายหรือไม่ แพทย์ต้องตัดออกมากน้อยแค่ไหน ผู้ป่วยไม่ต้องปิดแผลแล้วกลับไปบ้านแล้ววางแผนผ่าใหม่ ซึ่งคนไข้พอใจมาก เพราะทำให้ประหยัดจากการนอนรพ. 2 ครั้ง ระยะเวลานอนมากขึ้น และความมรวดเร็ว ความปลอดภัย การลงทุนให้แล็ปมีคุณภาพเป็นเทคโนโลยีที่ต้องให้ความสำคัญและลงทุน
หุ่นยนต์ ช่วยให้เกิดความแม่นยำมากขึ้นในการผ่าตัด
ศูนย์มะเร็ง ได้ลงทุนในเทคโนโลยี Linac ที่มีความแม่นยำและรวดเร็วในการรักษาและวางแผน เพราะฉะนั้น การที่สามารถจับก้อนมะเร็งได้ในทุกมิติ รวมทั้งรูปร่าง ขนาด ตำแหน่ง ในการวางแผนก่อนนำสู่การรักษาจริง ทำให้เซลล์ร่างกายที่ดีของผู้ป่วยได้รับผลกระทบน้อย
ศูนย์ตา สามารถเลือกเลนส์แก้วตาได้ตามการใช้ชีวิตของแต่ละคน แพทย์สามารถออกแบบให้ได้ โดยอาศัยเทคโนโลยี เอไอมาช่วยในการให้ความแม่นยำ
ศูนย์IVF ใช้เอไอในการคัดกรองตัวอ่อนที่แข็งแรง และใช้เวลา 5 นาที สามารถเลือกได้ว่าคัดเลือกตัวอ่อนตัวไหน
แอปพลิเคชั่น my med park ช่วยให้คนไข้ดูแลตัวเองได้ดีขึ้น เพราะมีบันทึกอยู่กับตัวและการแจ้งเตือนนัดแพทย์ การใช้ยา นัดแพทย์เรียลไทม์ ทิ้งคำถามให้กับบุคลการ ข้อมูลสำคัญ มีผลแล็ป ของตัวเอง มีการรักษาความลับส่วนบุคคล และมีการชี้แจงรายละเอียดค่าใช้จ่ายชัดเจน
“หน้าที่เฮลท์เทค ต้องให้ความรู้กับประชาชน ต้องเพิ่มประสิทธิภพในการตรวจวินิจฉัย การรักษา การทำให้เกิดการเชื่อมโยงในระบบสุขภาพ ช่วยให้การส่งผ่านข้อมูล การบันทึก และการเก็บประวัติชัดเจน ไม่ว่าคนไข้ส่งต่อมาจากรพ.ไหน เมื่อมาถึงพยายามที่จะนำเช้าระบบและสามารถแชร์ วิเคราะห์ แลกเปลี่ยน กับแพทย์เจ้าของไข้เดิมได้”นางสมถวิลกล่าว