GISTDA เผยหลายจังหวัดแถบ ลุ่มน้ำชี-มูล ยังมี "น้ำท่วม" หนักกว่า 2 แสนไร่

GISTDA เผยหลายจังหวัดแถบ ลุ่มน้ำชี-มูล ยังมี "น้ำท่วม" หนักกว่า 2 แสนไร่

GISTDA เผยข้อมูลหลายจังหวัดแถบลุ่มน้ำชี-มูล มี "น้ำท่วม" หนักกว่า 2 แสนไร่ ในขณะที่กรมอุตุฯ เตือนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2565 สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) GISTDA  เปิดเผยข้อมูลจากดาวเทียม Cosmo-SkyMed-4 พบพื้นที่ "น้ำท่วม" ขังแถบลุ่มน้ำชีลุ่มน้ำมูล จำนวน 263,391 ไร่ ในเขตจังหวัดดังต่อไปนี้

  • กาฬสินธุ์ 14,815 ไร่
  • บุรีรัมย์ 11,954 ไร่
  • มหาสารคาม 26,705 ไร่
  • ยโสธร 19,774 ไร่
  • ร้อยเอ็ด 81,191 ไร่
  • ศรีสะเกษ 36,764 ไร่
  • สุรินทร์ 64,844 ไร่
  • อำนาจเจริญ 144 ไร่
  • อุบลราชธานี 7,200 ไร่

ส่วนพื้นที่นาข้าวได้รับผลกระทบแล้วทั้งสิ้น 147,869 ไร่

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

 

สถานการณ์ดังกล่าว GISTDA ได้ส่งต่อข้อมูลภาพจากดาวเทียมให้กับหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ เพื่อนำไปใช้สนับสนุนการบริหารจัดการตามภารกิจ ทั้งด้านการวางแผน การติดตาม เพื่อประเมินสถานการณ์ได้ทันท่วงที

สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมขังในช่วงนี้ GISTDA ได้วางแผนและปรับแผนรับสัญญาณดาวเทียม เพื่อวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจาก "น้ำท่วม" อย่างต่อเนื่อง

GISTDA เผยหลายจังหวัดแถบ ลุ่มน้ำชี-มูล ยังมี \"น้ำท่วม\" หนักกว่า 2 แสนไร่

ขณะที่ "กรมอุตุนิยมวิทยา" ระบุ "พยากรณ์อากาศ" ระหว่างวันที่ 14 กันยายน 2565 - 20 กันยายน 2565 คาดการณ์ว่า

ในช่วงวันที่ 14 - 16 ก.ย. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้

ส่วนในช่วงวันที่ 17 - 20 ก.ย. 65 ร่องมรสุมจะมีกำลังแรงขึ้นและเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร