"ชะลอม"ตราสัญลักษณ์เอเปค สะท้อนแนวคิด Open-Connect-Balance

"ชะลอม"ตราสัญลักษณ์เอเปค สะท้อนแนวคิด Open-Connect-Balance

ใกล้เข้ามาทุกที สำหรับการประชุมผู้นำความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) (ครั้งที่ 29 ระหว่างวันที่ 18-19 พ.ย.2565 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยใช้ “ชะลอม” เป็นตราสัญลักษณ์เอเปค

โดยประเทศไทยเตรียมเสนอ ผู้นำเอเปค ให้การรับรองเอกสาร “Bangkok Goals on BCG Economy” เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อเสนอผู้นำเอเปค หลังจากที่ไทยได้พัฒนาร่างเอกสารร่วมกับสมาชิกเอเปค รวมถึงการหารือในที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค โดย Bangkok Goals จะเป็นมรดก (Legacy) ที่ไทยจะมอบให้เอเปคในฐานะเจ้าภาพ

  • “ชะลอม” สัญลักษณ์เอเปค ไทยเป็นเจ้าภาพ

หนึ่งไฮไลต์ของการเป็น เจ้าภาพเอเปค ของไทยในปี 2565 คือ “ตราสัญลักษณ์เอเปค” ซึ่งเป็นผลงานของ “ริว ชวนนท์ วงศ์ตระกูลจง” นิสิตชั้นปีที่ 2 ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจาก “ชะลอม"

\"ชะลอม\"ตราสัญลักษณ์เอเปค สะท้อนแนวคิด Open-Connect-Balance

“ชวนนท์” เล่าถึงจุดเริ่มต้นว่าในช่วงปิดภาคเรียน ตนได้มองหากิจกรรมและการประกวดเกี่ยวกับการออกแบบต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มเติมประสบการณ์ พัฒนาตนเอง โดยค้นหาในเว็บไซต์ Contest War และได้มาเห็นการประกวดตราสัญลักษณ์ เอเปค จึงสนใจเข้าร่วม

ตอนแรกไม่ได้มองว่าตัวเองจะชนะหรือได้รับการคัดเลือก แต่เมื่อได้รับการคัดเลือกทำให้ได้รับประสบการณ์ มุมมองความคิดเห็นจากคณะกรรมการ ทำให้เราได้ความรู้ และมีไอเดียในการสร้างสรรค์งานออกแบบมากขึ้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

สภาธุรกิจเอเปค ชงผู้นำเร่งแก้ปม เงินเฟ้อ-โลกร้อน

"APEC 2022" เวทีมหาอำนาจประลองกำลัง

การประชุม APEC 2022: พลวัตสู่ความยั่งยืน

ท่องเที่ยวกระตุ้นเศรษฐกิจ “เอเปค” ฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน สู่อนาคตที่ดีกว่า

  • ตราสัญลักษณ์เอเปค สื่อความเป็นไทยผสมนานาชาติ

โจทย์ที่ได้รับ คือการออกแบบตราสัญลักษณ์การเป็น เจ้าภาพการประชุมเอเปค 2565 ที่ต้องการสะท้อนความเป็นไทยและแสดงถึงความเป็นเอเปค ทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การฟื้นฟู ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ตราสัญลักษณ์ต้องมีรูปแบบที่ทันสมัย สะท้อนความเป็นผู้นำ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

"ตราสัญลักษณ์เอเปค ชะลอม บ่งบอกถึงความเป็นไทย และการเส้นสายของชะลอมเป็นเสมือนนานาประเทศได้ร่วมมือกันไปสู่เป้าหมายที่วางไว้” ชวนนท์ กล่าว

\"ชะลอม\"ตราสัญลักษณ์เอเปค สะท้อนแนวคิด Open-Connect-Balance

 

  • ยึดหลักแนวคิดOpen-Connect- Balance

“ชวนนท์” เล่าต่อว่าการขับเคลื่อน เอเปค ปี 2565 ด้วยแนวคิดหลัก "เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล" (Open-Connect- Balance) คือ

- OPEN  ชะลอมสื่อถึงการค้าที่เปิดกว้าง

- CONNECT  ชะลอมเป็นสิ่งบรรจุสินค้าหรือส่งของสำหรับใช้ในการเดินทาง และสื่อถึงความเชื่อมโยง

- BALANCE  ชะลอมทำจากวัสดุธรรมชาติเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับรูปแบบเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy- BCG)

ขณะเดียวกันสีเส้นตอกทั้ง 3 สี แสดงถึงความหมายแตกต่างกัน คือ

  1. สีน้ำเงิน สื่อถึง OPEN การเปิดกว้างของทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ  
  2. สีชมพู สื่อถึง CONNECT การสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยง
  3. สีเขียวสื่อถึง BALANCE ความสมดุล 

โดยทั้งหมดเน้นสื่อถึงรูปแบบเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว โดยคำนึงถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะเติบโตไปอย่างยั่งยืน

\"ชะลอม\"ตราสัญลักษณ์เอเปค สะท้อนแนวคิด Open-Connect-Balance

  • ออกแบบตราสัญลักษณ์เอเปค ช่วยเพิ่มประสบการณ์

เป็นระยะเวลากว่า 3 เดือนที่ “ชวนนท์” เริ่มต้นในการคิดคอนเซ็ปต์ตามโจทย์ที่ได้รับ รวมถึงขั้นตอนการร่างออกแบบ ตราสัญลักษณ์เอเปค และส่งเข้าประกวด โดยมีรศ.อาวิน อินทรังษี อาจารย์ประจำคณะมัณฑนศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำวิธีคิดและแนวทางการออกแบบตราสัญลักษณ์ดังกล่าว เพื่อให้ความสมบูรณ์มากขึ้น

ต่อมาหลังผ่านรับรางวัลได้มีการนำมาปรับแต่งและเพิ่มเติมรายละเอียดตามคำแนะนำของคณะกรรมการ จนมาเป็น โลโก้เอเปค ที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 พ.ย.2564 ที่ผ่านมา

“รู้สึกดีใจที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ เพราะเป็นการเพิ่มเติมประสบการณ์ ได้เรียนรู้การออกแบบที่หลากหลายจากเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ นักออกแบบด้วยกัน เวทีดังกล่าวเปิดโอกาสให้แก่ทุกคนซึ่งมีผลงานออกแบบเข้าร่วมประกวดกว่า 500 ชิ้น การที่เราได้เห็นงานออกแบบมากมาย ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ได้เห็นเทคนิค สิ่งเหล่านี้ล้วนนำมาเป็นประโยชน์ในการพัฒนางานออกแบบของเราได้”ชวนนท์ กล่าว

\"ชะลอม\"ตราสัญลักษณ์เอเปค สะท้อนแนวคิด Open-Connect-Balance

ความสนใจงานออกแบบของ “ชวนนท์” เริ่มมาจากการชอบวาดภาพตั้งแต่เด็ก ชอบงานออกแบบ และเมื่อมาเรียนคณะสถาปัตยกรรมทำให้ได้เรียนรู้งานออกแบบ ได้มุมมองความคิด ไอเดียมากมาย และการเข้าร่วมประกวดเวทีออกแบบต่างๆ เพิ่มเติมทักษะและมุมมองความคิด รวมถึงทำให้มีเครือข่าย และได้รับโอกาสมากมาย

“ชวนนท์” เล่าต่อไปว่าตอนนี้งานออกแบบมีความสำคัญกับทุกอาชีพ เพราะหากนำงานออกแบบผ่านการถ่ายทอดไอเดียให้มีความแตกต่าง มีจุดขายก็ย่อมเพิ่มมูลค่าให้แก่ชิ้นงาน และอาชีพนั้นได้ ดังนั้น การมีเวทีประกวดการออกแบบ หรือการศึกษางานออกแบบ จึงมีความสำคัญอย่างมากแก่นักออกแบบ ช่วยเพิ่มการเรียนรู้ และโอกาสในสายงานอาชีพได้มากขึ้น

  • ถ่ายทอดไอเดีย สะท้อนความหมายจิตวิทยา

งานออกแบบอยู่ในทุกแขนง ไม่ว่าในอนาคตจะทำอะไร ต้องใช้การดีไซน์ การออกแบบ แม้แต่การใช้ชีวิตของคนเรา ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ขณะเดียวกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นก็ต้องใช้การออกแบบช่วยแก้

“งานออกแบบไม่ใช่เพียงขายไอเดีย ขายความคิดสร้างสรรค์ผ่านผลงาน แต่เป็นการสะท้อนถึงจิตวิทยา ถ่ายทอดความความหมาย การดีไซน์ การออกแบบเป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ และการที่ได้เรียนรู้การออกแบบ โดยเฉพาะการออกแบบชีวิตก็เสมือนการแก้ปัญหาของชีวิต ต้องรู้จักใช้เครื่องมือ ความต้องการของตนเองมาแก้ปัญหา เพราะเป้าหมายการใช้ชีวิต ไม่ใช่เพียงมีเงิน แต่ต้องมีความสุข และไม่สร้างปัญหาให้แก่ผู้อื่น” ชวนนท์ กล่าว

ทุกเวทีการประกวดงานออกแบบล้วนก่อให้เกิดการเรียนรู้มากมาย “ชวนนท์” ฝากทิ้งท้ายให้ผู้สนใจงานออกแบบ หรือชื่นชอบการออกแบบ เข้าร่วมกิจกรรม เวทีต่างๆ เปิดโอกาสให้ตัวเองได้เข้าไปศึกษาเรียนรู้ พยายามศึกษาเยอะๆ มองเห็นๆ เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นเสมือนลิ้นชักความรู้แก่ตนเอง ที่หากเจอปัญหา อุปสรรค หรือขาดไอเดียจะได้นำประสบการณ์เหล่านั้นมาใช้ในการรังสรรค์งานออกแบบใหม่ๆ ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศ

\"ชะลอม\"ตราสัญลักษณ์เอเปค สะท้อนแนวคิด Open-Connect-Balance

  • ทำความรู้จัก “ชะลอม” สัญลักษณ์เอเปคของไทย

“ชะลอม” เป็นเครื่องจักสานชนิดหนึ่ง ที่ทำจากตอกไม้ไผ่ สำหรับใส่ของใช้ของกินต่าง ๆ มีปากกลม ก้นหกเหลี่ยม สานด้วยตอกไผ่บาง ๆ สานเป็นลวดลายเฉลวหรือลายตาเข่งห่าง เหลือตอกยืนที่ปากไว้โดยไม่สาน เพื่อรวบมัดหรือผูกเข้าหากันเพื่อเป็นหูหิ้วหรือกันสิ่งของที่ใสไว้ภายในตกหล่น ใช้นำมาใส่ของกินของใช้ โดยจะใช้ใบไม้ เช่น ใบตองกรุภายในก่อนใส่ผลไม้เพื่อไม่ให้ผลไม้มีรอยช้ำ หรือตกหล่นจากตาของชะลอม เป็นภาชนะจักสานที่ใช้กันทั่วไปทุกภาค

การสานชะลอม เริ่มจากสานส่วนก้นให้ได้ขนาดตามต้องการ หากมีขนาดใหญ่ก็จะเสริมไม้กะแหล้งขัด 2-3 อันที่บริเวณก้นชะลอมแล้วสานขึ้นมาเรื่อยๆ ให้ได้สัดส่วนพองาม แล้วปล่อยส่วนปลายตอกไว้เพื่อรวบมัดหลังการบรรจุสิ่งของที่ต้องการ หรืออาจแยกตอกออกเป็น 2 ส่วนผูกโค้งเป็นหูหิ้วเพื่อความสะดวกในการใช้งาน

เนื่องจากชะลอมเป็นภาชนะสำหรับบรรจุสิ่งของเป็นการชั่วคราวสำหรับเดินทางไกล หรือใส่สิ่งของที่เป็นของฝาก การสานชะลอมจึงเป็นการสานแบบง่ายๆ ใช้เวลาไม่นาน แค่เพียงพอต่อการบรรจุสิ่งของที่ต้องการเท่านั้น

ชะลอมมีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 เชนติเมตร สูง 10 เซนติเมตรจนถึงขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 30 เซนติเมตร สูง 30-40 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับลักษณะของสิ่งของที่ใช้บรรจุ