ดื่มผิดที่...ชีวิตเปลี่ยน ชนแก้วเหล้าเบียร์ในสถานที่ราชการ ผิดกฎหมาย

ดื่มผิดที่...ชีวิตเปลี่ยน ชนแก้วเหล้าเบียร์ในสถานที่ราชการ ผิดกฎหมาย

ไม่รอด!!!!! สำหรับกลุ่มพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ ที่ได้ตั้งวงดื่มเหล้า เบียร์ในโรงพยาบาลที่ อยุธยา ถูกสั่งพักงานยาวๆ พร้อมทั้งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเรื่องที่เกิดขึ้น

โดยทางสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สสจ.)ร่วมกับสภาการพยาบาล สำนักงานป้องกันโรคที่ 5 และโรงพยาบาลเอกชน ได้พิจารณาถึงกระทำความผิด การทำหน้าที่พยาบาลต่อไป

กระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกโซเซียลจากกรณีคลิปวีดีโอ Tiktok ของสาวคนหนึ่ง แต่งกายคล้ายชุดพยาบาล บนหัวใส่หมวกพยาบาล และแขวนป้ายชื่อที่คอได้ถือขวดเบียร์ที่ใช้หลอดดูดจนหมดขวด ในห้องลักษณะคล้ายที่ทำงาน ถึงความไม่เหมาะสม

จนตอนนี้ผู้โพสได้ปิดบัญชี Tiktok ไปแล้ว แต่ชาวเน็ตยังบันทึกวิดีโอนี้ไว้ได้ทัน ส่วนอีกคลิปหนึ่ง เป็นคลิปของสาวแต่งกายคล้ายชุดพยาบาลอีกคน กำลังเปิดฝาขวดเหล้าเทใส่แก้ว และชนแก้วกับอีกหลายคนในวง และมีการเต้น โยกตามจังหวะเพลง ซึ่งเบื้องต้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคลิปทั้ง 2 คลิปนี้ ถูกระบุว่า อยู่ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.พระนครศรีอยุธยา

ต่อมาเมื่อวันที่ 3 ม.ค.2566 ได้มีการสั่งพักงานบุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่อยู่ในเหตุการณ์ทั้งหมด 17 คน ทันที พร้อมกับหาข้อเท็จจริง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

กระหึ่ม! สั่งด่วน สอบพยาบาลดื่มเหล้าเบียร์ ในสถานที่ทำงาน

ลงดาบ! สั่งพักงาน "พยาบาล" กินเบียร์ใน รพ. ที่อยุธยา

เตือน! วันหยุดยาว ดื่มเหล้าหนัก เสี่ยง สุราเป็นพิษ หยุดหายใจ ตายกะทันหัน

เครือข่ายฯ งดเหล้า ห่วงอุบัติเหตุ ผลพวงเปิดให้ "ดื่มแอลกอฮอล์"

 

ดื่มเหล้า เบียร์ในสถานที่ราชการ ผิดกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม การนำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เหล้า เบียร์มากินในสถานที่ราชการ อย่าง โรงพยาบาล กรณีนี้อาจจะไม่ใช่กรณีแรก เพราะก่อนหน้านี้เมื่อประมาณปี 2563 ได้มีเพื่อนของผู้ป่วยได้นำเบียร์มาดื่มกินในห้องพักโรงพยาบาล และถูกดำเนินการคดีความผิดตามกฎหมาย พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับ 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ฉะนั้น ในกรณีของบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ทั้ง 17 คนนี้ ถือเป็นการกระทำความผิดในการดื่มเครื่องแอลกอฮอล์ มาตรา31 ห้ามมิให้ผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณดังต่อไปนี้

(1) วัดหรือสถานที่สําหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา เว้นแต่เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม ทางศาสนา

(2) สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และร้านขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล

(3) สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยง ตามประเพณี

(4) สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี หรือสถานศึกษาที่สอนการผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และ ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ

(5) สถานบริการน้ํามันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิงหรือร้านค้า ในบริเวณสถานีบริการน้ํามันเชื้อเพลิง

(6) สวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้ เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป

(7) สถานที่อื่นที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดโดยคําแนะนําของคณะกรรมการ

โดยผู้ที่ฝ่าฝืนมาตรา 31 ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

สภาการพยาบาลเล็งชี้ขาดถอดถอนใบประกอบวิชาชีพ?

ดังนั้น การที่จะดื่มในพื้นที่ไม่เหมาะสม ดื่มในพื้นที่มีพรบ.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ควบคุมตามกฎหมาย ต้องคิดให้รอบครอบ เพราะการดื่มจะกระทบต่อตนเองกระทบต่อหน้าที่ และยังรวมไปถึงหน่วยงานสถานที่ปล่อยให้มีการดื่ม ฝากเตือนไปยังหน่วยงานต่างๆรวมถึงบุคคลเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการทุกหน่วยงาน เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งบทเรียน

ส่วนเรื่องของจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นหน้าที่ของสภาการพยาบาลจะเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่าควรถือใบประกอบวิชาชีพต่อไปหรือไม่

ทั้งนี้ สำหรับข้อบังคับสภาการพยาบาล ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2564เพื่อให้การปฏิบัติของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ในการกระทำหรือปฏิบัติการ เกิดความชัดเจนในขอบเขตการปฏิบัติ จึงได้กำหนดข้อจำกัดและเงื่อนไข ในการปฏิบัติเฉพาะสำหรับ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลหรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 วรรคหนึ่ง (3) (ช) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 และด้วยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษ ตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528คณะกรรมการ

สภาการพยาบาล จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับสภาการพยาบาล ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2564”

ข้อ2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3ให้ยกเลิกข้อบังคับสภาการพยาบาล ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพ

การพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2550

หมวด1

บททั่วไป

ข้อ 4 ในข้อบังคับนี้ “การรักษาโรคเบื้องต้น” หมายความว่า กระบวนการประเมินภาวะสุขภาพทั้งการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การวินิจฉัยแยกโรค การรักษาโรคและการบาดเจ็บ การป้องกันโรค รวมถึงการปฐมพยาบาล เพื่อการแก้ปัญหา ความเจ็บป่วย บรรเทาความรุนแรง หรืออาการของโรค เพื่อให้ผู้ป่วยพ้นภาวะการเจ็บป่วยหรือภาวะวิกฤต

 “การเจ็บป่วยฉุกเฉิน” หมายความว่า การได้รับบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วยกะทันหัน ซึ่งเป็นภยันตรายต่อการดำรงชีวิตหรือการทำงานของอวัยวะสำคัญ จำเป็นต้องได้รับการประเมิน การจัดการและการบำบัดรักษาอย่างทันท่วงที ต้องดำเนินการช่วยเหลือและการดูแลรักษาทันที และให้หมายความรวมถึง การปฐมพยาบาล การปฏิบัติและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินและวิกฤต ตั้งแต่จุดเกิดเหตุหรือจุดแรกพบผู้ป่วย จนกระทั่งผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกวิธีจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เพื่อป้องกันการเสียชีวิต หรืออาการรุนแรงขึ้นจากการบาดเจ็บ หรืออาการป่วยนั้น

“การเจ็บป่วยวิกฤต” หมายความว่า การเจ็บป่วยที่มีความรุนแรงถึงหรือที่มีผลต่อชีวิต หรือการทำงานของอวัยวะสำคัญถึงขั้นที่อาจทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตหรือพิการได้

“การปฐมพยาบาล” หมายความว่า การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่บาดเจ็บหรือเจ็บป่วย โดยดูแลเพื่อบรรเทาอาการหรือป้องกันมิให้ภาวะนั้นเลวลง หรือเพื่อส่งเสริมการฟื้นหาย ก่อนได้รับการช่วยเหลือจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

 “การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค” หมายความว่า กระบวนการที่ทำให้ร่างกายสร้าง หรือเกิดภูมิคุ้มกัน หรือมีภูมิต้านทานต่อโรคที่ต้องการ โดยการให้วัคซีน

หมวด 2

การประกอบวิชาชีพการพยาบาล

ส่วนที่ 1การพยาบาล

ข้อ 5 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง กระทำการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล

5.1 การกระทำต่อร่างกายและจิตใจของบุคคล การตรวจประเมินภาวะสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการบาดเจ็บ การควบคุมการแพร่กระจายโรค การปฐมพยาบาล การบำบัดโรคเบื้องต้น และการฟื้นฟูสุขภาพ ทั้งรายทั่วไป รายที่ยุ่งยาก ซับซ้อน หรือเป็นการเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือวิกฤต

5.2 การสอน การแนะนำ การให้คำปรึกษาและการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย การวางแผนการดูแลต่อเนื่อง และการเสริมสร้างพลังอำนาจในการดูแลตนเองของประชาชน

5.3 การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การควบคุม และการแก้ปัญหาความเจ็บป่วย

5.4 การปฏิบัติการพยาบาลตามแผนการพยาบาลและ/หรือแผนการรักษาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม การใช้เครื่องมือพิเศษ การติดตามผล รวมทั้งการประสานทีมสุขภาพในการจัดบริการ ให้เป็นไปตามมาตรฐานการพยาบาลที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด

5.5 การให้การพยาบาลที่บ้านและการส่งเสริมความสามารถของบุคคล ครอบครัวและชุมชน เพื่อใช้ชีวิตอย่างปกติสุขหรือสามารถจัดการวิถีชีวิตให้อยู่กับความเจ็บป่วยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามศักยภาพ

ข้อ 6 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง

ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง จะให้ยาผู้รับบริการได้เฉพาะที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งเป็นผู้บำบัดโรคได้ระบุไว้ในแผนการรักษาหรือเมื่อเป็นการรักษาโรคเบื้องต้น หรือการปฐมพยาบาล ทั้งนี้ การให้ยาผู้รับบริการดังกล่าวให้อยู่ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้

6.1 ห้ามให้ยา หรือสารละลายในช่องรอบเยื่อบุไขสันหลัง หรือช่องไขสันหลัง หรือสายสวนทางหลอดเลือดดำส่วนกลาง (Peripherally Inserted Central Catheter) และช่องทางอื่นตามที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด

6.2 ห้ามให้ยา หรือสารละลาย หรือสารที่เกี่ยวข้องกับรังสีวินิจฉัย และยาอื่น ตามที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด

ข้อ 7 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นสอง

ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นสอง ให้กระทำการพยาบาลที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนตามแผนการพยาบาล ในกรณีที่เป็นปัญหายุ่งยาก ซับซ้อน หรือเป็นการเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือวิกฤต จะทำการประกอบวิชาชีพการพยาบาลได้จะต้องกระทำร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง

ข้อ 8 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นสอง

ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นสอง จะให้ยาผู้รับบริการได้เฉพาะการให้ยาทางปากและยาภายนอก ตามที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งเป็นผู้บำบัดโรคได้ระบุไว้ในแผนการรักษาหรือเมื่อเป็นการปฐมพยาบาล และห้ามให้ยาในชนิด และช่องทางตามที่สภาการพยาบาลประกาศตามข้อ 6.1 และ 6.2

 แม้ข้อบังคับสภาการพยาบาล ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2564 จะไม่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการประพฤติปฎิบัติของพยาบาล แต่ด้วยความเป็นผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาล จำเป็นต้องประพฤติตนไม่ให้เปิดจริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพยาบาล ซึ่ง ต้องไม่กระทำผิดต่อกฎหมาย

อ้างอิง: สภาการพยาบาล