เตรียมเข้าสู่ "ฤดูร้อน" กรมอุตุฯเผยสัญญาณฤดูหนาวกำลังจะสิ้นสุดลง
กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุสัญญาณการเริ่มต้นเข้าสู่ "ฤดูร้อน" ปี 2566 ซึ่งในฤดูหนาวปีนี้กำลังจะสิ้นสุดลง จากการพยากรณ์ฝนสะสมรายวันทุกๆ 24 ชั่วโมง 10 วันล่วงหน้าระหว่างวันที่ 2-11 มีนาคม 2566
กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุสัญญาณการเริ่มต้นเข้าสู่ "ฤดูร้อน" ปี 2566 ซึ่งในฤดูหนาวปีนี้กำลังจะสิ้นสุดลง จากการพยากรณ์ฝนสะสมรายวันทุกๆ 24 ชั่วโมง 10 วันล่วงหน้าระหว่างวันที่ 2-11 มีนาคม 2566
มวลอากาศเย็นยังแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน แต่เริ่มมีกำลังอ่อนลง (เส้นความกดอากาศเท่าเริ่มห่าง) ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน มีอากาศเย็นตอนเช้า ยอดดอย ยอดภู ยังมีอากาศหนาว กลางวันอากาศร้อน ท้องฟ้าโปร่ง เมฆน้อย
ระยะนี้ไม่มีฝน ทิศทางลมเริ่มแปรปรวนเป็นลมทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้ พัดแทนที่ลมหนาว เป็นสัญญาณการเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูร้อน ฤดูหนาวปีนี้กำลังจะสิ้นสุดลง ต้องระมัดระวังรักษาสุขภาพ ช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงระยะนี้อากาศแห้ง ระวังอัคคีภัยที่เกิดขึ้นได้ง่าย ลมอ่อนลง การสะสมของฝุ่นก็เพิ่มขึ้นด้วย
ส่วนภาคใต้ตอนล่างจะยังมีฝนตกบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณ จ.สงขลา พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส คลื่นลมยังแรง พี่น้องชาวเรือ ชาวประมง เดินเรือด้วยความระมัดระวังบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เนื่องจากมีลมตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือยังพัดปกคลุม
ข้อมูลนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ เฉดสี แสดงถึงปริมาณฝนสะสมทุกๆ 24 ชั่วโมง
- สีฟ้าหมายถึงฝนเล็กน้อย
- สีแดง : ฝนตกหนัก
- สีชมพู: ฝนตกหนักมาก
คาดหมาย อากาศ 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 2-8 มีนาคม 2566 (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มีนาคม 2566 เวลา 11.00 น.)
ในช่วงวันที่ 2-5 มี.ค.2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนอีกระลอกหนึ่งได้แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 มี.ค.2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ข้อควรระวัง
ในช่วงวันที่ 2-5 มี.ค.2566 ประชาชนในบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง