'สสว.' ชวนธุรกิจขนาดกลาง-ขนาดย่อม ติดอาวุธหลักคิด BCG

'สสว.' ชวนธุรกิจขนาดกลาง-ขนาดย่อม ติดอาวุธหลักคิด BCG

สสว. ร่วมกับ สวทช. และพันธมิตร UNGCNT ชวนผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (MSME) เข้าร่วมอบรมหลักสูตร “BCG เศรษฐกิจใหม่ใกล้ตัว” สร้างโอกาสเติบโต อย่างยั่งยืน ในสภาวะท้าทายทางเศรษฐกิจ

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับ สำนักงาน สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และพันธมิตร สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ขอเชิญชวนผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (MSME) เข้าร่วมอบรมหลักสูตร “BCG เศรษฐกิจใหม่ใกล้ตัว” ภายใต้โครงการ ขับเคลื่อนระบบการส่งเสริมธุรกิจ MSME ด้วย BCG (BIO-CIRCULAR-GREEN ECONOMY) ชูจุดเด่นหลักสูตรที่ออกแบบให้ผู้ประกอบการบูรณาการ BCG ในธุรกิจได้ง่ายๆ เพื่อโอกาสเติบโต อย่างยั่งยืน ในสภาวะท้าทายทางเศรษฐกิจ ตั้งเป้าหมาย 1,000 ราย ใน 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ เริ่ม 31 มีนาคมนี้

 

นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันรัฐบาลไทยเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยปรับใช้ BCG Economy Model เข้าไปช่วยตอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ซึ่งแนวทางนี้จะช่วยต่อยอดจุดแข็งของ ประเทศ ทั้งในด้านความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยอาศัยกลไก ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูงขึ้นและเปลี่ยนระบบ เศรษฐกิจจาก 'ทำมากแต่ได้น้อย' ไปสู่ 'ทำน้อยแต่ได้มาก' โดย สสว. เป็นหน่วยงานหลักในการ ส่งเสริมและสนับสนุน MSME ในด้านต่างๆ เห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมธุรกิจ MSME โดยผ่านกลไก การพัฒนา BCG

 

\'สสว.\' ชวนธุรกิจขนาดกลาง-ขนาดย่อม ติดอาวุธหลักคิด BCG

ด้านนายกิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวถึงการร่วมดำเนินงานในโครงการนี้ว่า สอวช. จะทำงาน ร่วมกับเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UN Global Compact Network Thailand : UNGCNT) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการ ครอบคลุมทั้งการพัฒนาระบบกระตุ้นผู้ประกอบการที่จะปรับตัวธุรกิจ การดำเนินงาน BCG พร้อมทั้งสร้าง ขีดความสามารถในการปรับตัวรับโอกาสได้

 

หลักสูตร 'BCG เศรษฐกิจใหม่ใกล้ตัว'

 

ส่วนนางสาวธันยพร กริชติทายาวุธ ผู้อำนวยการ UN GCNT เปิดเผยว่า หลักสูตร “BCG เศรษฐกิจใหม่ใกล้ตัว” ภายใต้โครงการขับเคลื่อนระบบการส่งเสริมธุรกิจ MSME ด้วย BCG (BIO-CIRCULAR-GREEN ECONOMY) ได้รับการออกแบบให้เข้าใจเครื่องมือด้านความยั่งยืนได้ง่ายๆ แบบ Back to Basic เน้นการนำไปใช้ได้ทันที ประกอบ ด้วย 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนแรกเป็นความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ BCG Economy เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยง ของเศรษฐกิจ BCG กับการพัฒนาธุรกิจของตนเอง เช่น

 

โอกาสทางธุรกิจในอนาคต มองเห็นเศรษฐกิจ BCG ว่าเป็นทิศทางที่ธุรกิจสามารถดำเนินการ เพื่อการ เติบโตก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ทั้งระบบนิเวศธุรกิจ รู้จักที่มา ความสำคัญ และความจำเป็นในการปรับเปลี่ยน ธุรกิจให้สอดคล้องกับ BCG ตลอดจนกลไกและมาตรการ สนับสนุน MSME เช่น นโยบายประเทศ มาตรการทางการเงิน การลงทุน และการส่งเสริมการค้า (T-MARK)

 

\'สสว.\' ชวนธุรกิจขนาดกลาง-ขนาดย่อม ติดอาวุธหลักคิด BCG

 

ส่วนที่สองเป็นข้อมูลเกี่ยวกับ Circular Mark, Circular Economy และ Circular Design for BCG ที่จะเริ่มตั้งแต่การปูพื้นฐานความเข้าใจ และความสำคัญของ Circular Economy การประยุกต์ใช้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน และการออกแบบ หมุนเวียน (Circular Design) ด้วยเครื่องมือ CIRCO: Creating Business Through Circular Design เครื่องมือเชิงระบบในการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับทิศทาง BCG ซึ่งช่วยให้ธุรกิจมองเห็นโอกาสในการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และปรับกลไกธุรกิจให้สามารถรักษาสมดุล ระหว่างการเติบโตทางกำไรและ การรักษาความยั่งยืนของทรัพยากรธุรกิจได้

 

ทั้งนี้ โครงการขับเคลื่อนระบบการส่งเสริมธุรกิจ MSME ด้วย BCG (BIO-CIRCULAR-GREEN ECONOMY ตั้งเป้าหมายที่จะจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้และเข้าใจเรื่อง BCG ให้กับผู้ประกอบการ MSME จำนวน 1,000 ราย ใน 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ ในรูปแบบ On-Site และ Online ระหว่างเดือนมีนาคม – สิงหาคม 2566 เริ่มครั้งแรกที่กรุงเทพมหานคร ในวันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2566 นี้

 

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียน ล่วงหน้าได้ที่ คลิก หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซด์สมาคม เครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย www.globalcompact-th.com หรือ เว็บไซด์ CIRCO Hub Thailand [email protected]

 

\'สสว.\' ชวนธุรกิจขนาดกลาง-ขนาดย่อม ติดอาวุธหลักคิด BCG