ฟังเสียง 'New Gen' บนจุดยืนการเลือกตั้ง 66 ตั้งรัฐบาลไม่โดนใจ จะเกิดอะไร?

ฟังเสียง 'New Gen' บนจุดยืนการเลือกตั้ง 66 ตั้งรัฐบาลไม่โดนใจ จะเกิดอะไร?

‘การเมืองไทย’ แม้จะผ่านการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พ.ค.2566 ที่ผ่านมา และได้ผลคะแนนจากการสิทธิของประชาชน เลือก ‘ทิม พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ พรรคก้าวไกล เบอร์ 31 เป็นนายกรัฐมนตรี ให้ได้รับคะแนนมากสุด แต่ขณะนี้ก็ยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้

Keypoint:

  • คนรุ่นใหม่ ตัวแทนนิสิตนักศึกษา ไม่ได้เลือกพรรคการเมือง เลือกนายกฯ ตามกระแส แต่อยากเปลี่ยนประเทศ ศึกษานโยบาย ฟังปราศรัย สู่การวิเคราะห์ก่อนตัดสินใจ
  • อยากให้พรรคการเมือง -ส.ว.โหวตเลือกนายกฯที่มาจากเสียงของประชาชน ให้นึกถึงผลประโยชน์ของส่วนร่วม มากกว่าผลประโยชน์ส่วนตน หากไม่เป็นไปตามนั้น เชื่อคนรุ่นใหม่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง
  • เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้าไปกำหนดนโยบาย เสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นต่อเด็กและเยาวชน ปัญหาเศรษฐกิจ การศึกษา 

ทั้งนี้ หากดูจากสูตรพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิมจับมือกัน ยังไม่เกิน 375 เสียง เพื่อชิงเก้าอี้ นายกฯ จากเสียง สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (ส.ส.)และ สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)ทั้งหมด 750 เสียง อีกทั้งหากจะปิดสวิตซ์ส.ว.ก็ต้องเลือกพรรคอดีตเคยร่วมรัฐบาลเข้าร่วม

อย่างไรก็ตาม ถึงตอนนี้จะไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล แต่ผลการเลือกตั้งครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงการใช้สิทธิของประชาชน คนรุ่นใหม่ ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการเมือง เปลี่ยนแปลงประเทศ

ทั้งนี้  เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2566 องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกแถลงการณ์ขอให้พรรคการเมืองและวุฒิสภา 250 คน จัดตั้งรัฐบาลโดยเคารพเจตนารมณ์ของประชาชน มีรายละเอียด ดังนี้

แถลงการณ์ร่วมขององค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะกรรมการนักศึกษา 24 คณะ/สถาบัน/วิทยาลัย/หลักสูตร เรื่อง ขอให้พรรคการเมืองและวุฒิสภา 250 คน จัดตั้งรัฐบาลโดยเคารพเจตนารมณ์ของประชาชน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

วิธีโหวต 'เสียงประชาชน' ให้ ส.ว. เลือกนายกฯ ตามเสียงข้างมาก ง่ายแค่คลิกเดียว

ไทม์ไลน์ "โหวตเลือกนายกฯ" ไม่เกินกลาง ส.ค.

"กรณ์" ขอ "ส.ว." เคารพเสียงปชช. โหวตนายกฯเสียงข้างมาก

"บิ๊กตู่" ขอบคุณประชาชน ย้ำ รทสช. เสียงไม่พอให้ทำต่อ แต่ยึดมั่นอุดมการณ์

 

แถลงการณ์จากอมธ.ถึงพรรคการเมือง-วุฒิสภา 

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 นับเป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 2 ภายใต้การบังคับใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปีพุทธศักราช 2560 และเป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 2 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2557 ผ่านพ้นมาแล้วเป็นเวลาเกือบทศวรรษแต่ประเทศไทยยังคงมีมรดกของการก่ออาชญากรรมรัฐประหารหลงเหลืออยู่กับระบอบประชาธิปไตย

ทั้งการมีอยู่ของสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 250 คน และการควบคุม แทรกแซงองค์กรอิสระ รวมไปถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งหมดนี้ยังคงสร้างปัญหาให้การเมืองไทยในรอบหลายปีที่ผ่านมาที่ทำให้ประเทศไทยเต็มไปด้วยความวุ่นวาย และไม่สามารถทำให้ประชาชนมองเห็นความหวังที่จะใช้ชีวิตต่อไปในประเทศแห่งนี้

ฟังเสียง \'New Gen\' บนจุดยืนการเลือกตั้ง 66 ตั้งรัฐบาลไม่โดนใจ จะเกิดอะไร?

การเลือกตั้งจึงนับว่าเป็นเครื่องมือแห่งความหวังเพียงขึ้นเดียวในเวลานี้ที่ทุกคนต่างก็ให้การยอมรับ แม้ระหว่างทางจะเต็มไปด้วยอุปสรรคมากมาย โดยเฉพาะการทำงานที่ไม่เป็นมืออาชีพของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)แต่เราต่างก็เข้าคูหากันด้วยความหวังที่ว่าเสียงของเราจะสามารถเปลี่ยนแปลงประเทศนี้ได้

สุดท้ายนี้ เมื่อการเลือกตั้งได้สิ้นสุดลงแล้ว พวกเราหวังว่านักการเมือง และพรรคการเมืองจะปฏิบัติตนตามที่
ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้กับประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดตั้งรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ ขอให้ท่านยึดมั่น

เจตนารมณ์ ฟังเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนตามวิถีทางในระบอบประชาธิปไตย พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเห็นสมาชิกวุฒิสภาที่เคารพมติของประชาชน และเชื่อเช่นกันว่าจะได้เห็นรัฐบาลชุดใหม่ที่สง่างาม มีที่มาอย่างถูกต้องไม่ฝืนธรรมชาติหรือใช้กลไกพิสดารเพียงเพื่อให้ตนเองได้ดำรงตำแหน่งต่อไป เรื่องราวเหล่านี้ควรยุติลง และเริ่มกระบวนการฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยให้อำนาจหวนคืนสู่ประชาชนอย่างแท้จริง

 

 เปิดโอกาสคนรุ่นใหม่กำหนดนโยบายของประเทศ

‘คุณากร  ตันติจินดา’ นายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) กล่าวว่าหลายคนมักจะบอกว่าเป็นเด็กและเยาวชน นิสิตนักศึกษามีหน้าที่ใช้ชีวิตและเรียนหนังสือ แต่จริงๆแล้ว พวกเขาเป็นประชาชนคนหนึ่งที่อยากมีคุณภาพชีวิตดี สังคมที่ดี อยู่ในประเทศที่ดี เพราะปัจจุบันหรืออนาคตมันเป็นโลกที่พวกเราต้องอยู่ ซึ่งผลการเลือกตั้งครั้งนี้ ที่พรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้ง แสดงให้เห็นว่าคนไทยอยากเปลี่ยนประเทศให้ดี หมดยุคการเมืองแบบเดิมๆ และทำให้ประชาธิปไตยเกิดขึ้นบนแผ่นดินไทยจริงๆ

“นโยบายของก้าวไกล ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความเท่าเทียม สิทธิของประชาชน ดังนั้น สิ่งที่ผมอยากเห็น คือ การทำตามสิ่งที่พรรคก้าวไกล และพรรคร่วมรัฐบาล เคยแถลงไว้ต่อหน้าประชาชน เพราะหลายครั้งที่พอเลือกตั้งไปแล้ว ได้เป็นรัฐบาลไม่ได้ทำตามที่พูดไว้ให้เป็นรูปเป็นร่าง ขณะเดียวกัน แม้จะยังไม่เห็นสูตรรัฐบาลที่ชัดเจน แต่อยากให้พรรคการเมืองถึงจะไม่ได้รับเลือกเป็นรัฐบาล และส.ว.ฟังเสียงประชาชนที่ได้เลือกนายกฯ ของพวกเขา" คุณากร กล่าว

'คุณากร' กล่าวต่อว่า สูตรจัดตั้งรัฐบาล ที่มาจากหลากหลายพรรคการเมืองอาจทำให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะในเรื่องของปัญหาเด็กและเยาวชน คนรุ่นใหม่ อยากให้ผู้บริหารบ้านเมือง รัฐบาลชุดใหม่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ เด็กและเยาวชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย หรือมีพื้นที่ให้พวกเขาได้แสดงออกความคิดเห็น เพราะผู้บริหารบ้านเมือง รัฐบาล คนที่อายุมากกว่าไม่มีทางรู้ว่าเด็กรุ่นใหม่ต้องการอะไร เนื่องจากเด็กและเยาวชนมีปัญหา มีความต้องการไม่เหมือนกัน เปิดโอกาสให้คนทุกกลุ่มเข้ามามีส่วนกำหนดนโยบาย

รับฟังเสียงประชาชน ยอมโหวต 'พิธา'นั่งนายกฯ

"หากก้าวไกล ซึ่งได้รับเสียงข้างมากจากประชาชน ไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล และกลุ่มรัฐบาลเดิมได้กลับมาเป็นรัฐบาล ผลมองว่าเป็นภาพที่เลวร้ายที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และจากการติดตามฟังคำสัมภาษณ์ของส.ว.หลายๆ ท่าน สำหรับตัวเองมองว่าคนรุ่นใหม่ น่าจะไม่พอใจ และอาจจะมีการเคลื่อนไหวต่างๆ ที่พวกเขาสามารถทำได้อีกทั้ง ถ้าเป็นแบบนั้น ถือเป็นการยืนยันอีกครั้งว่าการเมืองประเทศนี้บิดเบี้ยวไปหมด กลไกบางอย่างทำให้สิ่งที่ควรจะทำไม่ควรจะเกิดขึ้น และตอนนี้ใครเป็นผลลัพธ์ของการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นใคร คนบางกลุ่มก็อย่ามาตัดสินสิ่งที่ประชาชนเลือกว่าดีหรือไม่ดี แต่ควรยอมรับผลการเลือกตั้ง  ถ้าไม่ดี อีก 4 ปีก็มาเลือกกันใหม่" คุณากร กล่าว

'คุณากร' กล่าวด้วยว่าสิ่งที่พรรคการเมือง และส.ว.ควรทำตอนนี้ คือ ยอมโหวตนายพิธา หัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้เป็นนายกฯ เพื่อแสดงให้เห็นถึงสิทธิของประชาชน และควรสร้างความเชื่อมั่นของคนในประเทศ ประเทศนี้คือความล้มเหลวทางประชาธิปไตย เราจะสอนอะไรในประเทศนี้ได้ เพราะเราไม่ได้ตัดสิน อาจจะนำไปสู่ความหมดหวัง ความสิ้นหวังต่างๆ ประเทศน่าจะเป็น มีกระแสย้ายประเทศ

ปัจจุบัน นักศึกษามีความตื่นตัวในเรื่องการเมืองอย่างมาก ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากความผิดหวังและสิ้นหวังก่อนหน้านี้ หากทุกอย่างเป็นไปตามหลักการ คงไม่มีใครมาเรียกร้อง หรือจับผิด อย่างการเลือกตั้งครั้งนี้ มีนักศึกษาจำนวนมากร่วมเฝ้าดูการนับคะแนนเสียงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดี ดังนั้น ในส่วนของอมธ. จะเป็นอีกหนึ่งองค์กรของนิสิตนักศึกษาในการร่วมขับเคลื่อนการเมืองและสังคม โดยการทำงานร่วมกับรัฐบาล กับหน่วยงานต่างๆ และเฝ้าติดตามการทำงานของทุกพรรคการเมือง

การเมืองมีผลต่อคุณภาพชีวิต การใช้ชีวิตคนรุ่นใหม่

ด้าน 'ธนพร คุชัยยานนท์' นายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2566  กล่าวว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 2 ของตน ซึ่งจากการติดตามการเลือกตั้งมา ครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าคนรุ่นใหม่ให้ความสนใจและตื่นตัวทางการเลือกตั้ง การเมืองอย่างมาก เพราะพวกเขารู้ว่าการเมืองการเลือกตั้งมีผลต่อการใช้ชีวิตของพวกเขา คุณภาพชีวิตของพวกเขา

"ผลการเลือกตั้งเป็นที่พึงพอใจ เพราะแสดงให้เห็นถึงสิทธิของประชาชน และเห็นว่าคนไทยให้ความสำคัญกับประชาธิปไตยอย่างมาก ถึงตอนนี้จะยังไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล ยังไม่มีอะไรชัดเจน แต่ในฐานะคนที่ไปใช้สิทธิ อยากให้รัฐบาลเปิดกว้างให้นิสิตนักศึกษาได้มีส่วนร่วม รับฟังความคิดเห็น และสนับสนุนการแสดงออกของนิสิตนักศึกษา"ธนพร กล่าว

การที่เปิดให้นิสิตนักศึกษาได้เข้าไปทำงาน มีส่วนร่วมกับรัฐบาล กับกทม. หรือหน่วยงานราชการ นอกจากแสดงถึงความโปร่งใส และให้เด็กช่วยแก้ปัญหาของเด็กด้วยกันเอง ยังทำให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างคนต่างGen เข้าใจมุมมอง และยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกันได้มากขึ้น

เด็กรุ่นใหม่ ไม่ได้เลือกนายกฯ พรรคการเมืองตามกระแส

'ธนพร' กล่าวต่อว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ เชื่อว่าเด็กรุ่นใหม่ไม่ได้เลือกตามกระแส แต่มีการศึกษานโยบายแต่ละพรรค ทั้งทางโซเซียลมีเดีย หรือการปราศรัยต่างๆ  แล้วนำมาวิเคราะห์สิ่งที่พรรคนำเสนอว่ามุ่งเน้นไปเรื่องอะไร ประวัติที่ผ่านมาเป็นอย่างไร และแนวโน้มควรเป็นอย่างถึงจะตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองที่ตนเองอยากให้เป็นรัฐบาล  

"กลุ่มของเด็กรุ่นใหม่ เราไม่ได้คุยกันว่าแต่ละคนเลือกพรรคอะไร เพราะถือเป็นการให้เกียรติในการตัดสินใจ แต่เชื่อว่าทุกคนอยากเห็นประชาธิปไตยในประเทศ อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของประเทศ ดังนั้น ในส่วนของรัฐบาลก้าวไกล  ถ้าไม่ได้เป็นคณะจัดตั้งรัฐบาล และเหตุผลไม่ได้รองรับพียงพอ เชื่อว่าคนรุ่นใหม่จะออกมาเรียกร้อง ออกมาขับเคลื่อนสิทธิที่ไม่เป็นไปตามหลักเหตุและผล" 

'ธนพร' กล่าวด้วยว่า การยกมือโหวตเลือกนายกฯ ที่จะถึงนี้ ถ้าระบบให้มีส.ว. จะรอดูว่าส.ว.ทำอย่างไร? อยากให้คำนึงถึงประโยชน์ส่วนร่วม ปฎิเสธไม่ได้ว่าระบบการปกครองมีการเอื้อผลประโยชน์ต่อกัน ซึ่งไม่อยากให้เรื่องแบบนั้นเกิดขึ้นอีก อยากให้เลือกคนที่จะทำเพื่อประเทศชาติ ประชาชนจึงต้องร่วมกันติดตามการเมืองและต้องสนับสนุนการเรียกร้อง หรือกระทำที่เป็นไปตามหลักเหตุผล

รู้สึกFAIL หาก 'ก้าวไกล' ไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล

น.ส.วิปรียา ศิลาโชติ นายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต  กล่าวว่า อยากให้มีเหมือนงบประมาณ ที่พร้อมสนับสนุน จะมีบางบางส่วนที่มีนักศึกษาเก่งอยู่แล้ว แต่คาดงบประมาณสิ่งที่จะพาไปยังจุดๆ นั้น ได้  อยากให้มีกิจกรรมที่เปิดพื้นที่มากขึ้นกว่านี้ เพราะส่วนใหญ่จะเห็นเฉพาะในกรุงเทพฯ อยากให้เด็กต่างจังหวัด การเข้าถึงของหน่วยงานรัฐ โรงเรียน ชนบทต่างๆ

"ตอนนี้ดีใจ 50% ที่มีนักการเมืองใหม่ๆ เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ แต่ถ้าพรรคการเมืองเสียงข้างมากไม่ได้ถูกจัดตั้งรัฐบาล คงFAILเพราะคนรุ่นใหม่อยากมีอนาคตที่สนใจ อยากจบออกไปแล้วได้ทำงานดี มีสวัสดิการที่ดี ไม่ใช่มีปัญหาเรื่องปากท้องอย่างที่ผ่านมา" น.ส.วิปรียา กล่าว

เริ่มต้นการเมืองใหม่ หมดยุคการเมืองเก่า

'ภัทรนนท์ กิมานนท์' นายกองค์การบริหาร องค์การนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่าส่วนตัวไม่แปลกใจที่พรรคก้าวไกลจะได้มีคะแนนเสียงมาก เพราะคนรุ่นใหม่ อยากเห็นพรรคใหม่ๆ มาขับเคลื่อน พัฒนาประเทศ อีกทั้งพรรคอื่นๆ เคยดำรงตำแหน่งนายกฯ แล้ว อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงบ้าง รวมถึงมีการศึกษานโยบายของแต่ละพรรคก่อนตัดสินใจ 

"ตอนนี้ยังไม่มีการโหวตเลือกนายกฯ ซึ่งส่วนตัวผมมองว่าส.ว. 250 เสียง ไม่ควรปิดโหวตแต่ควรยกมือให้พรรคที่มาจากเสียงข้างมากของประชาชนได้เป็นนายกฯ และหากรัฐบาลไม่ได้มาจากเสียงข้างมากของประชาชน อาจจะมีการออกมาขับเคลื่อนเชิงสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ ซึ่งในส่วนของอมก.นั้น นิสิตนักศึกษามีความหลากหลาย แต่เราจะทำตัวเป็นกลางให้มากที่สุด ยอมรับความแตกต่างบนพื้นฐานของเหตุและผล" ภัทรนนท์ กล่าว

ปัจจัยที่ทำให้คนรุ่นใหม่สนใจเรื่องการเมืองมากขึ้นนั้น เพราะพวกเขาต้องการให้ประเทศชาติพัฒนามากขึ้น และการเมืองเป็นสิ่งที่หลีกหนีไม่ได้ การเมืองมีความเกี่ยวข้องในทุกเรื่อง ทั้งภาคธุรกิจ ภาคการศึกษา สาธารณสุข การที่ทุกคนออกมาใช้สิทธิ อยากให้ประเทศขับเคลื่อนไปข้างหน้า และอยากเห็นพรรคการเมืองใหม่มาทำ นึกถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก หมดยุคการเมืองรูปแบบเก่า

3 ข้อเสนอเร่งด่วนที่รัฐบาลใหม่ควรเร่งช่วย

 

'ธนเดช วิเสฏโฐ นายกองค์การบริหาร องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่าผลการเลือกตั้งครั้งนี้ ทำให้รู้สึกว่ามีความหวังที่ประเทศเราจะก้าวไปข้างหน้า เพราะเกิดจากเสียงของประชาชนจริงๆ ดังนั้น การจัดตั้งรัฐบาลก็ควรจะมาจากเสียงประชาชนข้างมาก จะให้กลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมามีอำนาจในการตัดสินใจโดยไม่ฟังเสียงจากประชาชนคงไม่ได้  

"หากก้าวไกลได้จัดตั้งรัฐบาล เชื่อว่าประเทศจะมีการพัฒนาในหลายๆ ด้าน เนื่องจากตลอดหลายปีที่ผ่านมา ประเทศเพื่อนบ้านรอบๆ ประเทศไทยได้รับการพัฒนาทั้งเรื่องความปลอดภัย และสวัสดิการต่างๆ แต่เมื่อมาเทียบกับเด็กและเยาวชน เด็กในต่างจังหวัดกับเด็กในเมืองยังใช้ชีวิตที่แตกต่างกันมาก มีความเหลื่อมล้ำค่อนข้างสูง การเลือกกลุ่มคนรุ่นใหม่มาพัฒนาประเทศ และรับฟังคนรุ่นใหม่ ใส่ใจมากขึ้น จะทำให้เกิดความร่วมมือและแก้ปัญหาได้ตรงจุด"ธนเดช กล่าว

ในแต่ละวันเพียงลืมตาขึ้นมาก็พบกับคุณภาพชีวิต ปัญหาในชีวิตมากมาย อย่าง ในพื้นที่เชียงราย ประสบปัญหามลพิษ เจ้าฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ทุกวัน ส่วนกลางและรัฐบาลเองก็ไม่ได้เข้ามาแก้ปัญหาอย่างเต็มที่ ขณะที่ภาครัฐในพื้นที่จะจัดการปัญหาอะไรก็มีข้อจำกัด ดังนั้น 3 ข้อเสนอเร่งด่วนที่ 'ธนเดช'อยากเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่เร่งดำเนินการทันที มีดังนี้

 1.แก้ปัญหาเรื่องปากท้องเศรษฐกิต อยากให้มีการช่วยให้คนในต่างจังหวัด ที่อาชีพ มีที่ทำมาหากิน และมีรายได้มากขึ้น 

2.การศึกษา อยากให้รัฐบาลปรับปรุงเรื่องการจัดการเรียนการสอน หลักสูตร ตอนนี้เด็ก 1 คนสูญเสียเวลาไปกับการศึกษาอย่างมาก และการศึกษาไทยเป็นระบบท่องตำ ไม่ให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติ อยากให้รัฐบาลมาดูแลการศึกษามากขึ้น ปรับปรุงให้ดีขึ้น

3.ปัญหาในแต่ละชุมชน จังหวัด และปัญหาสิ่งแวดล้อม โรคระบาดต่างที่อาจกำลังจะเกิดขึ้น ควรให้ทุกคน ทั้งคนไทย กลุ่มชาติพันธุ์ ได้มีสิทธิการรักษาพยาบาล สวัสดิการอย่างเท่าเทียม