‘เติมเต็ม’แพลตฟอร์มดิจิทัล นวัตกรรมบริการรัฐแบบไร้รอยต่อ

‘เติมเต็ม’แพลตฟอร์มดิจิทัล นวัตกรรมบริการรัฐแบบไร้รอยต่อ

แพลตฟอร์มดิจิทัล เติมเต็ม จากกรณีการลงศึกษาในพื้นที่จริง สถานการณ์ปัจจุบันบ่งชี้ถึงภาวะเปราะบางของครอบครัวในประเทศไทยมีเพิ่มมากขึ้น ใ

ขณะที่ยังขาดมาตรการ วิธีการ และเครื่องมือในการจัดการแก้ไขปัญหาในการดูแลกลุ่มเด็กและเยาวชนในครอบครัวเปราะบางได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล รวมถึงการขาดแคลนมาตรการเชิงรุกที่จะป้องกัน ปกป้องและคุ้มครองเด็กและเยาวชนในครอบครัวเปราะบางตั้งแต่ระยะแรกปรากฏของภัยคุกคาม ก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติและการคุ้มครองป้องกันเด็กต่อการถูกละเมิดสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546

ผลลัพธ์ดังกล่าวทำให้เกิดการรวมพลังของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อจะขยายผลความร่วมมือที่จะเป็นประโยชน์กับการดูแลกลุ่มเด็กและเยาวชนในครอบครัวเปราะบางได้อย่างครอบคลุม เพื่อให้เกิดกระบวนการจัดบริการทางสังคมที่ดำเนินการได้แบบไร้ตะเข็บและขยายผล Sandbox ออกไปยังในพื้นที่ต่างๆ ของ 4 ภูมิภาคในระยะถัดไป ช่วยให้กลุ่มเปราะบางเข้าถึงความช่วยเหลือได้รวดเร็วทันท่วงที ไม่ตกหล่นและระดับนโยบายสามารถนำข้อมูลไปวางแผนบริหารจัดการได้ตรงจุดเป้าหมายต่อไป

‘เติมเต็ม’แพลตฟอร์มดิจิทัล นวัตกรรมบริการรัฐแบบไร้รอยต่อ

การพัฒนาแพลตฟอร์มเติมเต็มเป็นการจัดความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ร่วมภาคส่วนระหว่าง สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล(สพร.) หรือ DGA กรุงเทพมหานคร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย (สวน.) ดำเนินงานภายใต้โครงการแพลตฟอร์มการบริการแบบแบ่งปันข้อมูล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเด็กและเยาวชนในครอบครัวเปราะบางด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อจัดการข่ายงานปกป้องคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนในครอบครัวที่เปราะบางให้สร้างเสริมคุณภาพชีวิตเต็มตามศักยภาพ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่พ.ศ. 2563 โดยใช้การรังสรรค์นวัตกรรม(Innovation Sandbox) เป็นเครื่องมือสร้างต้นแบบ การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กจากครอบครัวเปราะบาง

ทั้งนี้ ศูนย์รังสรรค์นวัตกรรมแห่งแรกที่ได้ดำเนินการทดลองและทดสอบในพื้นที่ชุมชนฟื้นนครร่มเกล้า ระยะ 4 โซน 10 เขตลาดกระบังมาแล้ว และจะดำเนินการทดสอบขยายผลให้ครอบคลุม 6 เขตใน6 โซน ที่มีความพร้อมของกรุงเทพมหานครในอีก 3 ปีข้างหน้า หลังจากนั้นมุ่งมั่นที่จะขยายผลนำใช้ให้ครอบคลุม 50 เขต69 ศูนย์บริการสาธารณสุข 292 ศูนย์เด็กเล็ก437 โรงเรียนสังกัด กทม. ในอีก 5 ปี

“ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานครให้ความสำคัญของการดูแลคุณภาพชีวิตเด็กมาเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากการดูแลเด็กเป็นการลงทุนที่ไม่ได้ใช้ทรัพยากรมากแต่ได้ผลมหาศาล ซึ่งเด็กมีการพัฒนามากในช่วงวัย 0-6 ขวบ หากได้รับการดูแลอย่างดีได้รับการพัฒนาที่เหมาะสม จะเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพและมาช่วยขับเคลื่อนเมืองในอนาคต

ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครมีเด็กเกิดใหม่ปีละราว 70,000 คน ในจำนวนนี้เป็นเด็กกลุ่มเปราะบางหรือด้อยโอกาสมีรายได้น้อย อยู่ในชุมชนแออัด ราว 20,000 คน จำเป็นต้องนำเข้าสู่การช่วยเหลือที่เหมาะสม มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงได้มีความร่วมมือของหลายหน่วยงานในการพัฒนาแพลตฟอร์มเติมเต็ม เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลและประเมินผลต่างๆ ทำให้การดูแลเด็กมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

‘เติมเต็ม’แพลตฟอร์มดิจิทัล นวัตกรรมบริการรัฐแบบไร้รอยต่อ ในมุมมองของ พม.“อนุกูล ปีดแก้ว”ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) กล่าวว่า พม.ดูแลคนทุกช่วงวัย การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยลดเวลา ลดช่องว่างการสูญเสีย และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง“แพลตฟอร์มเติมเต็ม”เป็นการเชื่อมระบบแบบไร้รอยต่อ ไม่มีข้อจำกัดของระบบระเบียบของราชการมากเกินไป จากที่มีการเช็กอินที่เขตโดยภาคีเครือข่ายต่างๆให้ข้อมูลของเด็กถูกส่งต่อไปเชื่อมกับระบบสารสนเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของกรุงเทพมหานคร และ ส่วนภูมิภาค เพื่อการคุ้มครองเด็กตามขั้นตอนของกระทรวง พม.เพื่อให้ถูก “เติมเต็ม” จริงๆ

ขณะที่ “ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ”ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหรือ DGA กล่าวว่า DGA เป็นหน่วยงานกลางพัฒนาระบบรัฐบาลดิจิทัล บทบาทDGAในส่วนของแพลตฟอร์มเติมเต็ม ได้ดำเนินการโดยเข้ามารับทราบปัญหาเกี่ยวกับการดูแลครอบครัวเปราะบางจึงได้นำนวัตกรรมที่ร่วมพัฒนากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำระบบที่พยายามแก้ปัญหาจากคนหน้างานที่ดูแลครอบครัวเปราะบางให้ได้รับประสิทธิผลและมีความรวดเร็ว

‘เติมเต็ม’แพลตฟอร์มดิจิทัล นวัตกรรมบริการรัฐแบบไร้รอยต่อ

โดยเมื่อได้ข้อมูลที่เกิดขึ้นจากกรณีต่างๆรวมเข้ามาในแพลตฟอร์มแล้วทำให้กรุงเทพมหานคร และพม.สามารถนำไปใช้ในการวางแผนนโยบายและสนับสนุนทรัพยากรพัฒนาครอบครัวเปราะบางได้ในอนาคต จึงถือว่าเป็นการทำงานลักษณะบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแบบไร้รอยต่อทั้งครอบครัวเปราะบางผู้ปฏิบัติงาน ชุมชนที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ภาครัฐ และผู้กำหนดนโยบาย

“แพลตฟอร์มนี้เป็นการแชร์ข้อมูลกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องที่ต้องดูแลในเรื่องนั้นๆ จึงน่าจะสามารถไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มเปราะบางหรือกลุ่มอื่นได้ไม่ยากซึ่งแพลตฟอร์มดิจิทัลโดยหลักจะทำให้คนเข้าถึงได้ แทนที่จะต้องใช้กระดาษมาจดบางครั้งมีการตกหล่น หาย หรือกว่าจะมีการเข้ามาดูกว่าจะปรึกษาหารือวางแผนในการดูแลแก้ปัญหาอย่างไร ใช้เวลานานแต่ถ้านำข้อมูลไว้ในระบบดิจิทัลแล้ว คนที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลเดียวกัน ทำให้สามารถมองเห็นปัญหาแบบองค์รวม เสนอวิธีแก้ปัญหาได้ทันท่วงที ชีวิตประชาชนก็จะดีขึ้น เพราะได้รับความสะดวกและรวดเร็ว” ดร.สุพจน์กล่าว

‘เติมเต็ม’แพลตฟอร์มดิจิทัล นวัตกรรมบริการรัฐแบบไร้รอยต่อ

แนวคิดออกแบบแพลตฟอร์ม‘เติมเต็ม

เป็นการแชร์ข้อมูลและบริการต่างๆ ของหน่วยงานรัฐให้กับผู้ดูแลคนที่ใช้และวางแผนการให้ความช่วยเหลือร่วมกันการใช้เครื่องมือแบบประเมิน 4 มิติช่วยให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลระหว่างกัน นักสังคมสงเคราะห์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถแบ่งปันและวางแผนร่วมกันเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในชุมชนให้ได้ และให้การช่วยเหลือแบบรอบด้าน

ประโยชน์ที่ได้รับจากแพลตฟอร์มคือการบูรณาการข้อมูลและการวางแผนที่มีความเกี่ยวข้องสามารถช่วยให้การช่วยเหลือสามารถดำเนินการได้ตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับเขต และยังสามารถนำเสนอเพิ่มเติมต่อผู้บริหารเพื่อพิจารณาตัดสินใจในการสนับสนุนทรัพยากรเพิ่มเติมและสอดคล้องกับความต้องการในแต่ละพื้นที่

DGA มีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมสนับสนุน กรุงเทพมหานคร และ พม. เพื่อผลักดันการยกระดับแพลตฟอร์มเติมเต็มให้ตอบโจทย์การให้บริการได้ดียิ่งขึ้นต่อไป