วธ. ดัน 40 ผลิตภัณฑ์สู่ Soft Power สร้างรายได้ชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ
ผู้ประกอบการ 40 ผลิตภัณฑ์ 19 จังหวัดทั่วประเทศ ร่วมต่อยอดสร้างสรรค์-เพิ่มช่องทางการตลาด CPOT ไทยไปทั่วโลก! ดันเป็น Soft Power สร้างรายได้ชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ
จากการที่รัฐบาล โดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ส่งเสริม Soft Power ความเป็นไทยหลากหลายสาขาให้เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ และปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นกระทรวงสังคมกึ่งเศรษฐกิจ มุ่งเน้นการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทยสู่อุตสาหกรรม และขยายตลาดสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมทั้งในและต่างประเทศ
นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เผยว่า วธ. ได้จัดโครงการ 'สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย' (Cultural Product of Thailand : CPOT) เพื่อรองรับนโยบายดังกล่าวข้างต้น อีกทั้ง ยังเป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูมรดกทางวัฒนธรรมของถิ่น สร้างความภาคภูมิใจให้กับคนในชาติ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยให้เป็นที่ประจักษ์ในสายตาชาวโลก ซึ่งผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย CPOT ได้รับการตอบรับจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
โดย วธ. มีการต่อยอดศึกษาช่องทางการตลาดช่องทางอื่นๆ โดยเฉพาะทางการจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า ผ่านออนไลน์เพิ่มเติม เพื่อเป็นการขยายตลาดและกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้น จากการร่วมมือกับภาคเอกชน ร่วมพัฒนา CPOT สู่ช่องทาง Modern Trade ที่ห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาราชดำริ และอีก 30 สาขาทั่วประเทศ มีกระแสตอบรับเป็นที่น่าพึงพอใจ โดยคาดปีแรกจะสามารถสร้างรายได้ 100 ล้านบาท
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- วธ.ชูธงนำ “Soft Power” ความเป็นไทยเผยแพร่ต่างประเทศ
- วธ. ดันเป้ามูลค่า “ซอฟต์พาวเวอร์” โตเท่าตัว สู่ 15% ของจีดีพีไทยในอีก 5 ปี
- Soft Power คืออะไร และ Soft Power ของไทย มีอะไรบ้าง
นายอิทธิพล กล่าวอีกว่า เพื่อเป็นการดำเนินการยกระดับ CPOT ของไทยอย่างต่อเนื่อง เมื่อเร็วๆนี้ วธ. ได้จัด 'โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (Cultural Product of Thailand : CPOT) ประจำปี พ.ศ. 2566' มีผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรจากหน่วยงานต่างๆ เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่ 20 สุดยอดชุมชนต้นแบบ 'เที่ยวชุมชน ยลวิถี' ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกของ วธ. จำนวน 40 ผลิตภัณฑ์ จาก 19 จังหวัด
นักวิชาการวัฒนธรรมหรือเจ้าหน้าที่ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ร่วมฟังบรรยาย เรียนรู้ ทำกิจกรรม workshop ตลอดจนลงพื้นที่ชุมชนคุณธรรมวัดเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี และชุมชนคุณธรรมบ้านจอมปลวก อำเภอบางคนที เพื่อนำไปต่อยอด เกิดการยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ทั้งในด้านการออกแบบ ประโยชน์ใช้สอย
รวมถึงการขยายช่องทางการตลาดให้ตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยว เตรียมพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่จะเข้ามาท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญถือเป็นการเรียนรู้การนำทุนทางวัฒนธรรมมาพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าทางวัฒนธรรมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ การพัฒนาต่อยอดสินค้าทางวัฒนธรรม การยื่นคำขอจดลิขสิทธิ์ การขยายช่องทางการจำหน่ายและสร้างเครือข่ายทางการค้า เป็นต้น คาดว่า CPOT ทั้ง 40 ผลิตภัณฑ์จะได้รับการพัฒนาสินค้าอย่างมีคุณธรรม เป็นที่สนใจของผู้ซื้อและมีช่องทางที่จำหน่ายที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
ผู้สนใจอุดหนุนสินค้าจากชุมชน CPOT สามารถเลือกชมและช้อปได้ที่ คลิก และ Facebook : CPOT