หนี้ครัวเรือนพุ่ง!คนไทยติดกับดักหนี้ เป็นหนี้เร็ว-หนี้นาน-หนี้จนแก่

หนี้ครัวเรือนพุ่ง!คนไทยติดกับดักหนี้ เป็นหนี้เร็ว-หนี้นาน-หนี้จนแก่

ช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยและทั่วโลกต่างประสบปัญหาวิกฤตด้านสุขภาพ ซึ่งส่งผล กระทบต่อมวลมนุษย์ในทุกมิติ ยิ่งมีมาตรการล็อกดาวน์ในหลายพื้นที่ทำให้ผู้คนไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ปกติ

Keypoint:

  • คนไทยเป็นหนี้เร็ว เป็นหนี้นาน และเป็นหนี้จนแก่  โดย 90% มีปัญหาหนี้ครัวเรือน และกว่า 80% มีสินเชื่อที่ไม่ได้ก่อให้เกิดรายได้ เช่น สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล เป็นต้น
  • คนรุ่นใหม่ประสบปัญหาหนี้สินมากสุด  รองลงมาเป็นเกษตรกร และมียอดหนี้สูง เฉลี่ย 450,000 บาทต่อครัวเรือนฃ
  • กับดักหนี้ เป็นกับดักแห่งการพัฒนาของประเทศ เพราะเมื่อคนมีหนี้มาก คนก็ไม่สามารถจะพัฒนาอะไรได้ และคนไทยขาดวินัยการออม จึงทำให้ไม่สามารถหลุดพ้นจากวงจรหนี้สินได้ 

จากวิกฤตต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพ พิษเศรษฐกิจ หรือปัญหาสิ่งแวดล้อม ล้วนส่งผลให้ทุกคนต้องปรับเปลี่ยนชีวิตอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน หลายคนว่างงาน ต้องกลับไปอยู่บ้านที่ต่างจังหวัด ขาดรายได้ ขณะที่รายจ่ายยังคงมีเข้ามาทุกวัน ทำให้ปัญหาหนี้ครัวเรือนฐานรากเพิ่มมากขึ้น 

ดร.โสมรัศมิ์ จันทรัตน์ ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ กล่าวถึงสถานการณ์ และการปรับตัวเศรษฐกิจ สู่การจัดการหนี้สินครัวเรือน ในงานเวที 'สานพลัง สร้างนวัตกรรม สู่สุขภาวะชุมชนที่ยั่งยืน' ปี 2566 วาระ : พลังชุมชนท้องถิ่น ตอบโจทย์ประเทศ ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ที่มีสมาชิกกว่า 3,500 ตำบล ตอนหนึ่งว่า

"ภาพใหญ่ของหนี้ครัวเรือน อยู่ประมาณ 90% ของรายได้ และเมื่อเทียบกับต่างประเทศอย่างกลุ่มประเทศเอเชีย ไทยมีปัญหาหนี้ครัวเรือนอยู่อันดับ  2 ซึ่ง การเป็นหนี้สินอาจจะไม่ใช่เรื่องผิด หากเป็นการลงทุนหรือเป็นเงินต่อเงิน แต่มีหนี้หลายประเภทที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และเป็นหนี้เกินตัวที่ไม่สามารถบริหารจัดการหนี้ได้" ดร.โสมรัศมิ์ กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ธปท.ชี้ ‘ลดดอกเบี้ย’ ทางรอดลูกหนี้ ออกจาก ‘หนี้เรื้อรัง’

ขึ้น ‘ดอกเบี้ย’ คุมเงินเฟ้อ ระวังเจาะฟองสบู่หนี้แตก

 

น่าห่วง! เยาวชนไทยเป็นหนี้เร็วแถมเป็นหนี้เสีย เครดิตไม่ดี

ดร.โสมรัศมิ์ กล่าวต่อว่ากว่า 80% ของหนี้ครัวเรือนคนไทยส่วนใหญ่ จะอยู่ในรูปแบบของสินเชื่อที่ไม่ได้ก่อให้เกิดรายได้ อาทิ สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคล  และสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน แตกต่างจากในต่างประเทศ  80% ของสินเชื่อของคนที่เป็นหนี้ จะเป็นหนี้สินเชื่อบ้าน ซึ่งเป็นหนี้สินที่สามารถสร้างรายได้ 

ทั้งนี้ เมื่อคนไทยเป็นสินเชื่อที่ไม่ได้ก่อให้เกิดรายได้ และสินเชื่อไม่มีหลักประกัน ซึ่งมักจะมีดอกเบี้ยสูง มีโอกาสที่จะผิดนัด หรือจ่ายขั้นต่ำ หนี้สินจึงไม่สามารถหมดได้ และ 1.ใน3 ของคนไทย มีหนี้ในระบบ และ 1ใน 5 จะเป็นหนี้เสีย มียอดหนี้เฉลี่ย 350,000 แสนบาทต่อคน

ยิ่งประเทศไทยประสบวิกฤตโควิดทำให้เกิดครัวเรือนใหม่เข้ามาเป็นหนี้มากขึ้น และมีผู้กู้ที่มีหนี้เสียเพิ่มขึ้นมีนัยยะสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มผู้กู้อายุน้อย และผู้กู้รายได้น้อยที่ได้ soft loan (มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ)จากธนาคารของรัฐ

"คนไทยเป็นหนี้เร็ว เป็นหนี้นาน และเป็นหนี้จนแก่  โดย 60% ของคนอายุน้อยจะเป็นหนี้ และ 20% ของคนหลังเกษียณยังเป็นหนี้เฉลี่ยเกิน 1 แสนบาทต่อคน อีกทั้ง พบว่า 1ใน4 ของผู้กู้อายุน้อยมีหนี้เสียสูงสุด  ดังนั้น ปัญหาหนี้ครัวเรือนในขณะนี้จะเกิดขึ้นในกลุ่มเยาวชนเป็นหนัก ซึ่งเยาวชนเป็นหนี้เร็วและเป็นหนี้เสีย ทำให้เยาวชนมีประวัติไม่ดี การเข้าถึงสินเชื่อเอาไปประกอบอาชีพลงทุนระยะยาวจะยากขึ้น  และทำให้เกิดผลต่อการพัฒนาประเทศ"ดร.โสมรัศมิ์ กล่าว 

 

หนี้คนเมืองกับหนี้ของคนต่างจังหวัดแตกต่างกัน 

ปัญหาหนี้ครัวเรือนมีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มและพื้นที่อย่างชั้นเจน โดยกลุ่มเปราะบางต่อปัญหาหนี้ครัวเรือนมากที่สุดในขณะนี้ คือ  คนรุ่นใหม่ เกษตร และผู้มีรายได้น้อย ซึ่งสัดส่วนกทม.มีประชากรจำนวนมากและมีหนี้จำนวนมาก  ส่วนในต่างจังหวัดถึงจะพบคนเป็นหนี้น้อยกว่าคนในเมือง แต่เป็นหนี้ก่อนใหญ่ หนี้ที่ไม่สามารถชำระได้ และเกษตรกร อัตราหนี้เสียจะปรับตัวขึ้นลงตามผลผลิตทางการเกษตร 

"ปัญหาหนี้คนเมือง คนรุ่นใหม่เป็นหนี้เร็ว ส่วนใหญ่เป็นหนี้อุปโภคบริโภค ขาดวินัย และตลาดสินเชื่อแข่งขันสูง ส่วนปัญหาหนี้คนชนบท มีหนี้ปริมาณมากจนแก่ ซึ่งเป็นหนี้จากปัญหาการเกษตร และหนี้ส่วนบุคคล"ดร.โสมรัศมิ์ กล่าว

ดร.โสมรัศมิ์ กล่าวต่อว่า จากข้อมูลพบว่า 86% ของครัวเรือนมีหนี้ทั้งในและนอกระบบ โดยครัวเรือนส่วนใหญ่ยังพึ่งพาหนี้กึ่งในระบบและนอกระบบ ซึ่งหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ 24% ของพอร์ตหนี้ครัวเรือน

ปัจจุบัน ปัญหาหนี้สินครัวเรือนของชุมชนท้องถิ่น ถือเป็นปัญหาใหญ่ เพราะเป็นหนี้วงกว้างและมีหนี้ปริมาณมาก  90% ของเกษตรกรมีหนี้สิน และมียอดหนี้สูง เฉลี่ย 450,000 บาทต่อครัวเรือน และกว่า 54% อยู่ในโครงการพักหนี้ ดังนั้น การจะแก้หนี้คงไม่สามารถทำได้ภายในระยะเวลาอันสั้น

นอกจากนั้น ชุมชนยังมีหนี้หลายก้อน จากหลายสถาบันการเงินทั้งในระบบและนอกระบบเกษตรกรมีหนี้เฉลี่ย 3.8 ก้อน และใช้ 4 สถาบันการเงินหลัก คือ 1.SFI  2.สถาบันการเงิน เช่นกองทุนหมู่บ้าน 3.แหล่งเงินกู้นอกระบบ และ4.บริษัทเช่าซื้อหรือลิสซิ่ง

4 ปัจจัยที่ทำให้คนไทยเป็นหนี้ 

ขณะที่การแก้หนี้ยังไม่สามารถมองเพียงสถาบันการเงินเดียวได้ การแก้ปัญหาต้องมองให้ครบทุกสถาบันการเงิน  เพื่อแก้ปัญหาการเกิดวงจรหนี้ไม่รู้จบ

"ส่วนใหญ่มีปริมาณหนี้เกินศักยภาพที่จะชำระได้  ซึ่ง 57% ของครัวเรือนมีหนี้สินรวมจากทุกแหล่งสูงเกินศักยภาพในการชำระหนี้ และที่สำคัญ คือ มีพฤติกรรมหมุนหนี้ในวงกว้าง  การแก้หนี้ให้รอด/ได้จริง ต้องอาศัยการปรับโครงสร้างหนี้ให้ตรงศักยภาพ ถึงจะสามารถออกจากวงจรหนี้ได้ ไม่เช่นกันจะเป็นหนี้เรื้อรัง และเป็นหนี้ข้ามรุ่น ที่อาจจะตกไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป"ดร.โสมรัศมิ์ กล่าว

การแก้หนี้ ต้องไม่เป็นการแก้หนี้เพื่อจ่ายดอกเบี้ยเท่านั้น แต่ต้องตัดเงินค้นให้ได้ เพ่อให้หนี้ลดลง ถ้าต้องการแก้ปัญหาหนี้ ต้องเป็นหนี้เพื่อตัดเงินต้นให้ได้  ไม่เช่นนั้น เมื่อเป็นหนี้แล้วมีแนวโน้มติดกับดักหนี้

ดร.โสมรัศมิ์ กล่าวอีกว่า เกษตรกรไทย มีหนี้เพิ่มขึ้นทุกปี ไม่มีลด ซึ่งมาจากหนี้ ที่สามารถชำระได้เฉพาะดอกเบี้ย และไปก่อหนี้ใหม่เพิ่มขึ้น จนกลายเป็นวงจนหนี้ ปัญหานี้ต้องเร่งแก้ไข ก่อนครัวเรือนจำนวนมากจะติดกับดักหนี้ที่ยากจะแก้ได้ ต้องทำให้คนอยู่ในกลุ่มสินเชื่อที่เป็นรายได้ และสามารถจ่ายหนี้คืนได้  

"คนไทยเป็นหนี้ มาจาก 4 ปัจจัยสำคัญ คือ 1.เป็นหนี้เพราะมีปัญหาเศรษฐกิจการเงิน  รายได้ไม่แน่นอน และมีปัญหาสภาพคล่อง 2. เป็นหนี้เพราะไม่รู้ มีหนี้สินจากการโดดหลอก หรือไม่รู้จ่ายแต่ดอกเบี้ย  3.เป็นหนี้เพราะไม่มีวินัย และ 4.เป็นหนี้เพราะนโยบายของรัฐ"ดร.โสมรัศมิ์ กล่าว

รวมทั้งครัวเรือนไม่สามารถใช้เครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสมมาแก้ปัญหาหนี้สินได้ ต้องพึ่งพาสินเชื่อเป็นหลัก เพราะไม่นิยมการออมเงิน อีกทั้งมีความรู้ทางการเงินค่อนข้างน้อย และการเงินฐานรากยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอ ข้อมูลไม่เพียงพอ ทำให้คนๆ หนึ่งสามารถกู้จากหลายๆ สถาบันการเงิน ทำให้คนหนึ่งคนกู้จำนวนมาก และก้อนหนี้เกินศักยภาพ ไม่มีรายได้ไม่ประจำ  รวมถึงการออกแบบสินเชื่อจากสถาบันการเงิน 

กับดักหนี้ สู่กับดักแห่งการพัฒนา

ดร.โสมรัศมิ์ กล่าวด้วยว่าระบบสินเชื่อไม่ดีพอ เกินศักยภาพและยากที่จะจ่ายคืน  ทำให้ทุกคนเป็นหนี้มากขึ้นเรื่อยๆ  และทำให้จ่ายยากมากขึ้นเรื่อยๆ  ซึ่ง 41.4% ของเกษตรกรได้รับการพักหนี้มาแล้วมากกว่า 4 ปี และยิ่งอยู่ในการพักหนี้นาน ยังทำให้หนี้เพิ่มมากขึ้น ภาระหนี้ฉุกรั้งการปรับตัวและการลงทุนเพื่อเพิ่มพัฒนา ขาดภูมิคุ้มกัน ขาดความสามารถในการชำระหนี้ พึ่งพิงสินเชื่อมากขึ้นเรื่อยๆ

สำหรับกรอบการแก้หนี้อย่างยั่งยืน ต้องเริ่มจากการพัฒนาระบบการเงินฐานราก เป็นเรื่องของทุกภาคส่วนที่ต้องดำเนินการให้ครบวงจร หนี้เก่าทำให้คนจ่ายได้มากขึ้น หนี้ใหม่ที่ก่อจะต้องมีศักยภาพในการจ่ายหนี้คืน ต้องเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน สร้างภูมิคุ้มกัน  ระบบสวัสดิการ และคุ้มครองสังคมต้องแก้ไปด้วยกัน และควรเติมระบบการให้ความรู้ด้านการเงิน มีนโยบายระยะยาว ไม่มีบิดเบือน สร้างแรงจูงใจ ต้องผสานคามร่วมมือของหลายภาคส่วน  หากทุกภาคส่วนช่วยกันเชื่อว่าจะแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนให้แก่คนไทยได้