อัปเดตเส้นทางพายุไต้ฝุ่นขนุน สภาพอากาศ เตือนผู้เดินทางไปญี่ปุ่น 2-5 ส.ค.66

อัปเดตเส้นทางพายุไต้ฝุ่นขนุน สภาพอากาศ เตือนผู้เดินทางไปญี่ปุ่น 2-5 ส.ค.66

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตเส้นทางพายุไต้ฝุ่นขนุน (KHANUN) สภาพอากาศ ประจำวันที่ 3 สิงหาคม 2566 โดยพายุมีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวโค้งกลับไปทางประเทศญี่ปุ่น

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตเส้นทาง พายุไต้ฝุ่น "ขนุน" (KHANUN) ประจำวันที่ 3 สิงหาคม 2566 โดยพายุยังเคลื่อนตัวทางตะวันตกเฉียงเหนือ มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวโค้งกลับไปทางประเทศญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม พายุไต้ฝุ่นขนุน ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย แต่ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นในระยะนี้และสัปดาห์หน้า ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทาง

 

 

วิเคราะห์แผนที่อากาศผิวพื้น เวลา 01.00 น. ของวันที่ 3 สิงหาคม 2566 ภาพถ่ายดาวเทียมเรดาร์เช้าวันนี้ และพยากรณ์ทิศทาง ความเร็วลมที่ระดับ 925hPa (สูงจากพื้นดินประมาณ 600ม.) : ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมประเทศไทย สำหรับพายุไต้ฝุ่น "ขนุน (KHANUN)" ยังเคลื่อนตัวทางตะวันตกเฉียงเหนือ มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวโค้งกลับไปทางประเทศญี่ปุ่น พายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย

อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น “ขนุน” บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ตอนใต้ของจังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น และตอนบนของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ประเทศจีนในช่วงวันที่ 2–5 ส.ค.2566 ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าว โปรดตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในระยะนี้ไว้ด้วย

 

อัปเดตเส้นทางพายุไต้ฝุ่นขนุน สภาพอากาศ เตือนผู้เดินทางไปญี่ปุ่น 2-5 ส.ค.66

 

อัปเดตเส้นทางพายุไต้ฝุ่นขนุน สภาพอากาศ เตือนผู้เดินทางไปญี่ปุ่น 2-5 ส.ค.66

 

พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 4 - 9 ส.ค.2566 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบน และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ข้อควรระวัง : ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง