กรมอุตุฯ อัปเดตสถานการณ์พายุ 2 ลูก พายุไต้ฝุ่น เชาลา - พายุโซนร้อน ด็อมเร็ย
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตสถานการณ์พายุหมุนเขตร้อน 2 ลูก พายุไต้ฝุ่น เชาลา - พายุโซนร้อน ด็อมเร็ย ประจำวันที่ 26 สิงหาคม 2566
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตสถานการณ์ พายุหมุนเขตร้อน 2 ลูก ประจำวันที่ 26 สิงหาคม 2566 เช้าวันนี้เมื่อเวลา 04.00 น.ที่ผ่านมา ประกอบด้วย พายุไต้ฝุ่น "เชาลา" (SAOLA) และ พายุโซนร้อน "ด็อมเร็ย" (DAMREY)
ขณะนี้ในมหาสมุทรแปซิฟิก ยังมีพายุ 2 ลูก คือ พายุไต้ฝุ่น เชาลา (SAOLA) พายุลูกที่ 9 มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ (ใกล้เกาะลูซอล) พายุนี้เคลื่อนตัวช้าๆ คาดว่าจะเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือไปทางเกาะไต้หวัน
พายุโซนร้อน "ด็อมเร็ย" (DAMREY) อยู่ห่างจากประเทศไทยมาก พายุทั้ง 2 ลูก จึงไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย ฝนที่เกิดขึ้นในขณะนี้มาจากร่องมรสุมที่จะเลื่อนลงมาพาดผ่านทางตอนบนของไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (ลมฝน) ที่พัดปกคลุม
โดยเฉพาะช่วงวันที่ 28 ส.ค.- 3 ก.ย.2566 จะเลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณภาคกลาง ภาคอีสาน ฝนเพิ่มขึ้น แต่ขอให้ติดตามตามเป็นระยะๆ อย่าได้ตื่นตระหนกกับข่าวลือ
สำหรับชื่อ เซาลา (SAOLA) หมายถึง เป็นชื่อสัตว์ชนิดหนึ่งตระกูลวัว พบในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ตั้งชื่อโดยประเทศเวียดนาม ส่วน "ด็อมเร็ย" หมายถึง ช้าง ตั้งชื่อโดยประเทศกัมพูชา
พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน
26-27 ส.ค.2566 ฝนยังเกิดขึ้นได้ ใกล้แนวร่องมรสุมและด้านรับมรสุม ซึ่งในระยะนี้ร่องมรสุมยังพาดผ่าน เมียนมา สปป.ลาวและเวียดนามตอนบน ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุม ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังมีฝนบางแห่ง ปริมาณฝนส่วนใหญ่ยังเป็นฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง และตกหนักโดยเฉพาะตามแนวชายขอบของภาคอีสานตอนบนและด้านตะวันออก ใกล้หย่อมความกดอากาศต่ำ
และด้านรับมรสุมบริเวณภาคตะวันออก (จันทบุรี ตราด) และภาคใต้ (ระนอง พังงา) คลื่นลมมีกำลังปานกลาง ส่วนภาคเหนือตอนล่าง ภาคอีสานด้านตะวันตก ภาคกลาง (กทม.และปริมณฑล) และภาคใต้ตอนกลาง ฝนยังมีน้อยเกิดขึ้นได้บางแห่ง ช่วงเย็น-ค่ำ
และตั้งแต่ 28 ส.ค. - 4 ก.ย.2566 ต้องเฝ้าระวังฝนตกหนักกันอีกช่วง เนื่องจากร่องมรสุมจะเริ่มแรงขึ้นและเลื่อนกลับลงมา (จากการผลักดันของมวลอากาศเย้น) พาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคอีสาน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ ประกอบกับมรสุมที่พัดปกคลุมจะมีกำลังแรงขึ้นด้วย
ทำให้มีฝนกระจายเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ เตรียมรับมือฝนหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้บริเวณประเทศไทยตอนบน จะเริ่มทางภาคอีสานก่อน (ช่วงกลางคืน วันที่ 28 ส.ค.2566) น่าจะเป็นข่าวดีสำหรับพื้นที่ที่มีฝนน้อย เตรียมรองรับน้ำฝนและกักเก็บน้ำไว้ใช้ แต่สภาวะฝนปีนี้ยังมีเปลี่ยนแปลงภายใต้เงื่อนไขของปีที่มีปรากฏการณ์เอลนีโญ
ขณะนี้ในมหาสมุทรแปซิฟิกมีพายุเกิดขึ้น 2 ลูก แต่ไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย อย่าได้กังวล ขอให้ติดตามเป็นระยะๆ ฝนที่เกิดขึ้นจะมาจากมรสุม