กรมอุตุฯ พยากรณ์อากาศพรุ่งนี้ เหนือ - อีสาน - กลาง - ตอ. ฝนตกหนัก กทม.โดนด้วย
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศพรุ่งนี้ (5 ต.ค.2566) ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ - กลาง - ตะวันออก และอีสาน ทำให้ไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง และมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดนด้วย
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงาน พยากรณ์อากาศพรุ่งนี้ (5 ต.ค.2566) ระบุ สภาพอากาศ คาดการณ์ว่า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนตามแนวร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง และมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก
สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 8 – 10 ต.ค. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคใต้ตอนบน
ทั้งนี้ เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร
อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น "โคอินุ" บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก มีแนวโน้มการเคลื่อนตัวผ่านสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบนในช่วงวันที่ 4 - 5 ต.ค. 66 คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีนในช่วงวันที่ 6 – 8 ต.ค. 66 และจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย
- ข้อควรระวัง
ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากลมกระโชกแรง ฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง
"กรมอุตุนิยมวิทยา" ยังให้รายละเอียด "พยากรณ์อากาศ" ถึงข้อควรระวัง ระหว่างวันที่ 4 – 10 ตุลาคม 2566 ระบุว่า
- ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 4 – 5 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 36 องศาเซลเซียส
ส่วนในช่วงวันที่ 6 – 10 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 6 – 8 ต.ค. 66 อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 35 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 5 – 15 กม./ชม.
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 4 – 8 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 7 – 8 ต.ค. 66 ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 35 องศาเซลเซียส
ส่วนในช่วงวันที่ 9 – 10 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่
ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 35 องศาเซลเซียส
- ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 4 – 6 และ 10 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งลมแปรปรวน ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 7 – 9 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 36 องศาเซลเซียส
- ภาคตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ในช่วงวันที่ 4 – 5 ต.ค. 66 อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 35 องศาเซลเซียส
ในช่วงวันที่ 4 – 5 ต.ค. 66 ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 6 – 10 ต.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร
- ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วงอุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 35 องศาเซลเซียส
ในช่วงวันที่ 4 – 5 ต.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ในช่วงวันที่ 6 – 10 ต.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร
- ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
ในช่วงวันที่ 4 – 7 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ในช่วงวันที่ 8 – 10 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 34 องศาเซลเซียส
- กรุงเทพและปริมณฑล
ในช่วงวันที่ 4 – 6 และ 10 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
ส่วนในช่วงวันที่ 7 – 9 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 36 องศาเซลเซียส
ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา