อัปเดตเส้นทาง พายุไต้ฝุ่น บอละเวน (BOLAVEN) ในมหาสมุทรแปซิฟิก
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตเส้นทาง พายุไต้ฝุ่น บอละเวน (BOLAVEN) ในมหาสมุทรแปซิฟิก พร้อมพยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า เตือนไทยมีฝนฟ้าคะนอง ฝนตกหนักบางแห่ง ในภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพฯและปริมณฑล - ตะวันออก และใต้
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตเส้นทาง พายุไต้ฝุ่น บอละเวน (BOLAVEN) ในมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ห่างจากประเทศไทยมาก จึงไม่มีผลกระทบใดๆ และยังเคลื่อนตัวห่างออกไปเรื่อยๆ ไม่ต้องกังวล การติดตามจึงไม่ให้ความสำคัญสำหรับพายุลูกนี้
นอกจากนี้ กรมอุตุฯ ยังรายงาน พยากรณ์อากาศ อีก 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 11 – 17 ตุลาคม 2566 คาดการณ์ว่า
ในช่วงวันที่ 12 – 14 ต.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นประเทศจีนที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ มีกำลังอ่อนลง ทำให้ร่องมรสุมเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ตอนล่าง และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 15 – 17 ต.ค. 66 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ มีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านเวียดนามเข้าสู่ภาคตะวันออก และอ่าวไทยตอนบน ตามแนวร่องมรสุม ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง กับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
- ข้อควรระวัง
ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากลมกระโชกแรง ฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ตลอดช่วง ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ในช่วงวันที่ 15 – 17 ต.ค. 66
กรมอุตุนิยมวิทยา ยังคาดหมายอากาศรายภาคระหว่างวันที่ 11 – 17 ตุลาคม 2566 ระบุว่า
- ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 12 – 17 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26 – 33 องศาเซลเซียส
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 11 – 12 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 13 – 17 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยฝนตกหนักมากในช่วงวันที่ 15 – 17 ต.ค. 66 ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 – 34 องศาเซลเซียส
- ภาคกลาง
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ในช่วงวันที่ 15 – 17 ต.ค. 66 ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 35 องศาเซลเซียส
- ภาคตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ในช่วงวันที่ 15 – 17 ต.ค. 66 ในช่วงวันที่ 11 – 14 ต.ค. 66 ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 15 – 17 ต.ค. 66 ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 36 องศาเซลเซียส
- ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 15 – 17 ต.ค. 66 ในช่วงวันที่ 11 – 14 ต.ค. 66 ตั้งแต่จ.ชุมพร ขึ้นมา ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.สุราษฏร์ธานี ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 15 – 17 ต.ค. 66 ตั้งแต่ จ.ชุมพร ขึ้นมา ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.สุราษฏร์ธานี ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 36 องศาเซลเซียส
- ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
ในช่วงวันที่ 11 – 14 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 15 – 17 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 35 องศาเซลเซียส
- กรุงเทพและปริมณฑล
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ในช่วงวันที่ 15 – 17 ต.ค. 66
ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 35 องศาเซลเซียส