เปิดประเด็นอนุญาตขุดกากแคดเมียมสมุทรสาคร จากหลุมฝังกลบถาวรได้อย่างไร?

เปิดประเด็นอนุญาตขุดกากแคดเมียมสมุทรสาคร จากหลุมฝังกลบถาวรได้อย่างไร?

ดร.สนธิ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมฯ เปิดประเด็นร้อน ปมอนุญาตขุดกากอุตสาหกรรมอันตราย กากตะกรัน กากสังกะสี กากแคดเมียมสมุทรสาคร จากหลุมฝังกลบถาวรได้อย่างไร? เตือนไอระเหยก๊าซพิษ สารแคดเมียม เข้าสู่ร่างกายได้ทั้งการหายใจ-การกิน เสี่ยงโรคมะเร็งปอด-โรคไตเรื้อรังจนไตวาย

ภายหลังจากกรณีที่กรรมาธิการ (กมธ.) การอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้ออกมาแถลงข้อเท็จจริงตามที่มีผู้ร้องเรียนว่า มีบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดตาก ได้ขายกากแร่สังกะสีและกากแคดเมียมที่ฝังกลบในจังหวัดตาก ให้กับบริษัทหนึ่งตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร กว่า 15,000 ตัน 

 

เปิดประเด็นอนุญาตขุดกากแคดเมียมสมุทรสาคร จากหลุมฝังกลบถาวรได้อย่างไร?

นายผล ดำธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าตรวจสอบที่บริษัทหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 2 ซอยกองพนันพล ถนนเอกชัย ตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร

ซึ่งเป็นบริษัทฯ ที่นำกากแร่แคดเมียมจากจังหวัดตาก เข้ามากักเก็บไว้ที่โรงงานแห่งนี้ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร และคณะ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ก็ได้ออกมาในการเข้าไปตรวจสอบ และระบุว่า 
 
จากการตรวจสอบพบมีกากแร่แคดเมียมที่มาจากทางจังหวัดตากจริงประมาณ 15,000 ตัน โดยทางอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร ได้ทำการอายัดไว้แล้ว ซึ่งกากแคดเมียมส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้ในตัวอาคาร มีกองอยู่ภายนอกตัวอาคารบางส่วนประมาณ 100 ถุง ที่ต้องนำเข้าไปเก็บในตัวอาคารให้เรียบร้อย

ผู้ว่าฯ สมุทรสาคร ประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ หลังพบ"กากแคดเมียม"ก่อมะเร็ง 1.5 หมื่นตัน

ทั้งนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ได้ออกคำสั่งประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ โดยห้ามบุคคลหรือสิ่งอื่นใด เข้าไปภายตัวอาคาร รวมถึงห้ามมีการหล่อหลอมแคดเมียมโดยเด็ดขาด

และให้ทางอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร ออกคำสั่งขนย้ายกากแร่แคดเมียมทั้งหมดออกจากจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อส่งกลับไปยังบริษัทต้นทางที่จังหวัดตาก เพราะกากแร่ตัวนี้ตาม EIA แล้ว ห้ามขนย้ายออกมาจากจังหวัดตาก 

โดยจะให้เวลารีบดำเนินการภายใน 7 วันนับจากนี้ ส่วนกากแคดเมียมตัวนี้ถูกขนย้ายมาอยู่ที่โรงงานในจังหวัดสมุทรสาครได้อย่างไรนั้น ก็ต้องไปตรวจสอบที่อุตสาหกรรมจังหวัดตาก ซึ่งเป็นผู้อนุญาตให้ขนย้ายออกมา

ล่าสุด ดร.สนธิ คชวัฒน์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊ก "Sonthi Kotchawat" ระบุว่า ขุดกากอุตสาหกรรมอันตราย ตะกรันกากสังกะสี-แคดเมียมจากหลุมฝังกลบถาวรไปรีไซเคิลหรือขายต่อ..ทำได้อย่างไร?

5 ข้อสังเกตขุดกากอุตสาหกรรมอันตราย กากตะกรัน กากสังกะสี กากแคดเมียมสมุทรสาคร จากหลุมฝังกลบถาวร ไปรีไซเคิลหรือขายต่อ..ทำได้อย่างไร?

1. มีการขนกากอุตสาหกรรมหรือตะกรันที่เกิดจากการหลอมแร่สังกะสี ซึ่งในกากตะกรันดังกล่าวมีแคดเมี่ยมปนเปื้อนถึง 38% จากบ่อฝังกลบกากอุตสาหกรรมแบบปลอดภัย (secured Landfll) ซึ่งปิดหลุมแบบถาวรไปแล้ว 

โดยหลุมนี้ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของโรงงานถลุงแร่สังกะสีบริษัทผาแดง อินดัสทรี จำกัด จ.ตากและได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทเบาด์ แอนด์ บียอนต์ จำกัด เมื่อปี 2564

โดยนำใส่ในถุง big bag รวมแล้วประมาณ 15,000 ตัน ขนส่งไปเก็บในอาคารของโรงงานของบริษัท เจ แอนด์ บี เมททอล จำกัด 

ตั้งอยู่ที่ ถนนเอกชัย ตำบลบางน้ำจืด อำ เภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นโรงงานลำดับที่ 106 ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการหลอมแท่งโลหะอลูมิเนียมเพื่อเตรียมหลอมหรือขายต่อ

 

เปิดประเด็นอนุญาตขุดกากแคดเมียมสมุทรสาคร จากหลุมฝังกลบถาวรได้อย่างไร?

 

2. ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครได้ประกาศเขตอันตราย ห้ามบุคคลหรือสิ่งอื่นใด เข้าไปภายตัวอาคารรวมถึงห้ามมีการหล่อหลอมตะกรันดังกล่าวโดยเด็ดขาด และให้อุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาครส่งกากคืนกลับไปฝังกลบที่โรงงานจังหวัดตากตามเดิม

3. ประเด็นที่สำคัญคือตะกรันกากสังกะสีแคดเมี่ยมถูกฝังกลบแบบถาวรไปแล้วแต่หน่วยราชการ จ.ตาก ไปอนุญาตให้ขุดขึ้นมาได้อย่างไร? 

ทั้งที่รายงานอีไอเอของโรงงานถลุงสังกะสีผาแดงได้ระบุว่าเป็นกากอุตสาหกรรมอันตรายให้ฝังกลบแบบถาวรตลอดไป

ซึ่งตามกฏหมายมาตรการในรายงานอีไอเอดังกล่าวถือเป็นเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตที่ต้องปฎิบัติอย่างเคร่งครัด

และ จ.ตาก ยังอนุญาตให้ขนส่งไปรีไซเคิลยังโรงงานเจ แอนด์ บี เมททอล จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานได้รับอนุญาตให้กักเก็บและบดย่อยกากอุตสาหกรรมและหล่อหลอมอะลู มิเนียมเท่านั้น ได้อย่างไร?

เปิดประเด็นอนุญาตขุดกากแคดเมียมสมุทรสาคร จากหลุมฝังกลบถาวรได้อย่างไร?

 

4. หากมีกากตะกรันสังกะสีแคดเมี่ยมบางส่วนดังกล่าวได้ถูกหลอมในเตาหลอมของโรงงานเจ แอด์ บี เมททอล จำกัด

ซึ่งไม่มีอุปกรณ์ควบคุมก๊าซพิษจะทำให้ไอระเหยของแคดเมียมระบายออกไปสู่บรรยากาศและก่อให้เกิดเป็นพิษอย่างร้ายแรงที่มีผล กระทบอย่างมากต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนใกล้เคียง

อันตรายจากสารแคดเมี่ยม

5. สารแคดเมียมเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งการหายใจและการกินจะทำให้มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปอด และโรคไตเรื้อรังจนไตวายและแคดเมียมจะไปสะสมที่กระดูก เป็นโรคปวดข้อ โรคกระดูกผุ จะเจ็บปวดมาก

อ้างอิง-ภาพ : Sonthi Kotchawat