สิทธิคนพิการ นั่งรถไฟฟ้าฟรี เช็กเงื่อนไข รับเงินเบี้ยคนพิการได้เงินเท่าไร
เปิดสิทธิคนพิการ นั่งรถไฟฟ้าบีทีเอสฟรี! "BTS" เช็กเงื่อนไข "สิทธิพื้นฐานคนพิการ 2567" รับเงินเบี้ยคนพิการเดือนมิถุนายน 2567 ได้เงินเท่าไร? ลงทะเบียน-ยื่นคำขอรับเงินที่ไหน
เช็กเงื่อนไข! "สิทธิคนพิการ 2567" นั่งรถไฟฟ้าบีทีเอสฟรี "BTS" ตั้งแต่สถานีเริ่มต้นถึงสถานีปลายทาง ดูสิทธิพื้นฐานคนพิการ 2567 รับเงินเบี้ยคนพิการเดือนมิถุนายน 2567 ได้เงินเท่าไร? ลงทะเบียน-ยื่นคำขอรับเงินที่ไหน รู้กัน
รถไฟฟ้าบีทีเอส BTS ให้ความสำคัญแก่คนพิการ "สิทธิคนพิการ" นั่งรถไฟฟ้าบีทีเอส BTS ฟรี! จากสถานีเริ่มต้นถึงสถานีปลายทาง
เช็กเงื่อนไข ยกเว้นค่าโดยสารคนพิการตลอดการเดินทาง "สิทธิคนพิการ"
- BTS ยกเว้นค่าโดยสารตลอดการเดินทาง เพียงแสดงบัตรประจำตัวคนพิการ และรับคูปองที่ห้องจำหน่ายตั๋ว
มีเจ้าหน้าที่สถานีคอยอำนวยความสะดวก ตั้งแต่เข้าสู่สถานี รับส่งเข้าออกขบวนรถ ที่สถานีต้นทาง และสถานีปลายทาง รวมทั้งลงมาส่งที่ชั้นพื้นถนน เพื่อให้เดินทางต่อไปได้อย่างสะดวก
ภายในรถไฟฟ้าบีทีเอสมีบริการอะไรบ้างให้กับผู้พิการ
- ที่นั่งพิเศษภายในขบวน
- พื้นที่สำหรับวีลแชร์ ในขบวนรถไฟฟ้า
- เดินเข้า - ออก สถานีผ่านประตูพิเศษ
- แผ่นพับทางลาด เข้า - ออกขบวนรถไฟฟ้าสำหรับวีลแชร์
- ลิฟต์ให้บริการทั้งชั้นจำหน่ายตั๋ว และชั้นพื้นถนน
- ทางลาดหน้าลิฟต์สำหรับวีลแชร์
- สุนัขนำทาง และสุนัขดูแลผู้ป่วยเฉพาะทาง สามารถนำเข้ามาในระบบรถไฟฟ้าได้
เปิดสิทธิพื้นฐานคนพิการ 2567
- คนพิการทุกคนจะได้เบี้ยความพิการ 800-1,000 บาท/เดือน
- คนพิการสามารถขอกู้เงินเพื่อไปประกอบอาชีพได้ไม่เกิน 120,000 บาท โดยไม่เสียดอกเบี้ยและมีระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี
- คนพิการสามารถรับคำแนะนำในการประกอบอาชีพ สามารถเข้าฝึกอาชีพได้ฟรี ที่ศูนย์พัฒนาศักยภาพและอาชีพของคนพิการ
- คนพิการสามารถขอล่ามภาษามือได้ หากต้องพบแพทย์, สมัครงาน, ขึ้นศาลฯ, ประชุม, สัมมนา
- คนพิการจะได้รับความช่วยเหลือทางด้านกฎหมาย และสามารถขอทนายว่าต่าง แก้ต่างให้คนพิการที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม
- คนพิการจะได้รับการลดหย่อน ค่าขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้า MRT-BTS ขึ้นฟรี, แอร์พอร์ตเรลลิงก์ขึ้นฟรีสายสีน้ำเงิน, การบินไทยลด 50%, รถ ขสมก. และรถร่วมบริการของ ขสมก. ทุกประเภทลด 50%, เรือโดยสารขึ้นฟรี, รถไฟลดค่าโดยสาร 50%
- คนพิการสามารถขอสิทธิปรับที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม เช่น ราวจับห้องน้ำ, ปรับทางเดิน เหมาจ่ายไม่เกินรายละ 40,000 บาท
- นายจ้าง/ผู้ประกอบการ สามารถนำเงินค่าจ้างคนพิการไปลดหย่อนภาษีได้
เบี้ยยังชีพ ลงทะเบียน-ยื่นคำขอรับเงินเบี้ยคนพิการที่ไหน?
ตามระเบียบ กระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ คนพิการ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 (ข้อ 7) ให้คนพิการที่ได้จดทะเบียนคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเงินเบี้ยความพิการด้วยตนเองต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีภูมิลำเนา ณ ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสถานที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด และมีสิทธิรับเงินเบี้ยความพิการ ในเดือนถัดไป
สถานที่ให้บริการออกบัตรประจำตัวคนพิการ
ออกบัตรประจำตัวคนพิการพื้นที่กรุงเทพมหานคร
- ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร ณ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
- โรงพยาบาลสิรินธร
- โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
- สถาบันราชานุกูล
- โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
- โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
- ศูนย์บริการคนพิการสายไหม เคหะเอื้ออาทรสายไหม
- สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)
ออกบัตรประจำตัวคนพิการพื่นที่ต่างจังหวัด
- โรงพยาบาลประจำจังหวัด/อำเภอ ที่มีศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จในโรงพยาบาล
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- หน่วยงานของรัฐอื่นตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด
เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ
- บัตรประจําตัวประชาชน
- ทะเบียนบ้านของคนพิการ
- รูปถ่ายคนพิการ ขนาด 1 นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป
- เอกสารรับรองความพิการ
เช็กสิทธิคนพิการ เบี้ยคนพิการเดือนมิถุนายน 2567 ได้เงินเท่าไร?
- คนพิการที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ได้รับเบี้ยความพิการ 1,000 บาท ต่อคนต่อเดือน
- คนพิการมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์หรือมากกว่าในเดือนนั้น จะมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยความพิการ 800 บาท
อ้างอิง : กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ,สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ , รถไฟฟ้าบีทีเอส