เบี้ยผู้สูงอายุ - คนพิการ รับ 1,000 บาท เงินเข้าวันไหน ลงทะเบียนรับเงินที่นี่
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เตรียมจ่ายเบี้ยยังชีพ เบี้ยผู้สูงอายุ เบี้ยคนพิการ ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 นี้ รับสูงสุด 1,000 บาท เช็กเงื่อนไขคุณสมบัติของผู้มีสิทธิและขั้นตอนลงทะเบียนรับเงินที่นี่
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะโอน “เบี้ยยังชีพ เบี้ยผู้สูงอายุ” เข้าบัญชีผู้มีสิทธิ ในวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2567 ซึ่งยึดหลักเกณฑ์จ่ายเงินเข้าบัญชีทุกวันที่ 10 ของเดือน และหากตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดราชการ จะจ่ายเงินเด็กแรกเกิดเข้าบัญชีล่วงหน้าก่อนวันหยุดนั้นเอง
ตารางจ่ายเงิน "เบี้ยยังชีพ เบี้ยผู้สูงอายุ" ประจำปี 2567 มีดังนี้
- พฤษภาคม 2567 วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2567
- มิถุนายน 2567 วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2567
- กรกฎาคม 2567 วันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2567
- สิงหาคม 2567 วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2567
- กันยายน 2567 วันอังคารที่ 10 กันยายน 2567
โดยปัจจุบันมีการจ่ายเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุเป็นรายเดือนตามช่วงอายุ ดังนี้
- อายุ 60 – 69 ปี จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 600 บาท/คน/เดือน
- อายุ 70 – 79 ปี จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 700 บาท/คน/เดือน
- อายุ 80 – 89 ปี จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 800 บาท/คน/เดือน
- อายุ 90 ปี ขึ้นไป จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 1,000 บาท/คน/เดือน
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิจะได้รับเงินเบี้ยยังชีพ เบี้ยผู้สูงอายุ ดังนี้
1. มีสัญชาติไทย
2. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. มีอายุหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งได้ยืนยันสิทธิขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4. เป็นผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุ แห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด
ขั้นตอนการลงทะเบียนรับสิทธิ
- ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 59 ปีบริบูรณ์สามารถไปลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพล่วงหน้าได้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ของปีนั้น และเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ในปีถัดไป ก็จะได้รับเบี้ยผู้สูงอายุตั้งแต่เดือน ต.ค. ในปีนั้น ๆ โดยสามารถไปลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพด้วยตัวเอง ได้ตั้งแต่วันที่ 1-30 พ.ย.ของทุกปี
ผู้สูงอายุสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ตั้งแต่เดือน ต.ค.ของทุกปี เป็นต้นไป โดยจะต้องเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 2 ก.ย. – 1 ต.ค.ของปีนั้น ๆ จึงจะลงทะเบียนล่วงหน้าได้ โดยเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพถัดจากเดือนที่มีอายุครบ 60 ปี นั่นก็คือ เดือน ต.ค. ปีนั้น ซึ่งก็คือ อายุครบ 60 ปีเดือน ต.ค.2565 นั่นเอง
หลักฐานการลงทะเบียนรับสิทธิ
1. กรณีลงทะเบียนด้วยตนเอง
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ชุด
- สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก (ออมทรัพย์) จำนวน 1 ชุด
2. กรณีผู้สูงอายุไม่สามารถไปลงทะเบียนได้ด้วยตัวเอง ต้องเตรียมเอกสารเพิ่ม คือ
- หนังสือมอบอำนาจ (ยื่นแบบฟอร์มให้ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ จำนวน 1 ชุด
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ จำนวน 1 ชุด
ขั้นตอนการยื่นขึ้นทะเบียน
การยื่นขึ้นทะเบียนและแนวทางการปฏิบัติของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย
- ประกาศและประชาสัมพันธ์ให้ผู้สูงอายุทราบสิทธิของตนเอง
- ลงทะเบียนตามวัน เวลา สถานที่ที่กำหนด (ในวันและเวลาราชการ)
- ให้ผู้สูงอายุลงทะเบียนได้ตามแบบรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ด้วยตนเอง
สถานที่ในการขึ้นทะเบียน
- จุดบริการ ใน กทม. สำนักงานเขต 50 เขต
- กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
- อบต.(องค์การบริหารส่วนตำบล) หรือ เทศบาลที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
ทั้งนี้ การรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุนั้น ผู้สูงอายุสามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง หรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทน
ประชาชนสามารถติดตามข่าวสารจากกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพิ่มเติมได้ที่ www.dop.go.th หรือโทร. 02-642-4336
เบี้ยยังชีพ เบี้ยคนพิการ
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ คนพิการ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 (ข้อ 7) ให้คนพิการที่ได้จดทะเบียนคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเงินเบี้ยความพิการด้วยตนเองต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีภูมิลำเนา ณ ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสถานที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด และมีสิทธิรับเงินเบี้ยความพิการ ในเดือนถัดไป
หลักฐานขอรับเงินเบี้ยความพิการ มีดังต่อไปนี้
1. บัตรประจำตัวคนพิการ (ตัวจริง)
2. ทะเบียนบ้าน (ตัวจริง)
3. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร สำหรับกรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยความพิการประสงค์ขอรับเงินเบี้ยความพิการผ่านธนาคาร ในการยื่นคำขอลงทะเบียนรับเงินเบี้ยความพิการ คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการจะต้องแสดงความประสงค์ขอรับเงินเบี้ยความพิการโดยรับเงินสดด้วยตนเอง หรือโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี
คุณสมบัติผู้พิการที่ยื่นคำขอ
- สัญชาติไทย
สถานที่ให้บริการออกบัตรประจำตัวคนพิการ
กรุงเทพมหานคร
- ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร ณ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
- โรงพยาบาลสิรินธร
- โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
- สถาบันราชานุกูล
- โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
- โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
- ศูนย์บริการคนพิการสายไหม เคหะเอื้ออาทรสายไหม
- สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)
ต่างจังหวัด
- โรงพยาบาลประจำจังหวัด/อำเภอ ที่มีศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จในโรงพยาบาล
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- หน่วยงานของรัฐอื่นตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด
เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ
- บัตรประจําตัวประชาชน
- ทะเบียนบ้านของคนพิการ
- รูปถ่ายคนพิการ ขนาด 1 นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป
- เอกสารรับรองความพิการ
จำนวนเงินที่ได้รับ เบี้ยยังชีพคนพิการ
- คนพิการที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ได้รับเบี้ยความพิการ 1,000 บาท ต่อคนต่อเดือน และคนพิการมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์หรือมากกว่าในเดือนนั้น จะมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยความพิการ 800 บาท