ดูแลจิตใจเด็ก เมื่อเห็นภาพเหตุการณ์รุนแรงสะเทือนขวัญ รวมไว้ที่นี่ ครบจบ
ดูแลจิตใจเด็กเล็ก เด็กโตอย่างไร เมื่อเห็นภาพเหตุการณ์รุนแรงสะเทือนขวัญ รวมไว้ที่นี่ ครบจบ เรื่องนี้ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ได้โพสต์ให้คำแนะนำ หลังเหตุ "กราดยิงหนองบัวลำภู" ที่เกิดขึ้นที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู
เหตุ "กราดยิงหนองบัวลำภู" ที่เกิดขึ้นที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู จนทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก นั้น
เรื่องนี้ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ได้โพสต์เกี่ยวกับคำแนะนำ ทำอย่างไร ถึงการดูแลจิตใจเมื่อทราบข่าวหรือเห็นภาพความรุนแรง ซึ่งแบ่งเป็น 5 ข้อ ดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการรับข่าวที่มากเกินไป : ใช้เวลากับกิจกรรมอื่นๆ เพิ่มขึ้น เพื่อลดอารมณ์ และความเครียดจากการรับข่าวสาร
2. หยุดส่งต่อภาพความรุนแรง : ไม่ส่งภาพเหตุการณ์ หรือ คลิปเหตุการณ์ ความรุนแรง ที่ส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึก
3. ให้ความสำคัญกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น : ทั้งอารมณ์ช็อก เสียใจ โกรธ ทำใจไม่ได้ รู้สึกผิด สงบและยอมรับ
4. แบ่งปันความรู้สึก : พูดคุย ระบายความรู้สึกโดยเน้นความเข้มแข็งของจิตใจ ที่สามารถจัดการความยากลำบากไปได้
5. ถ้ารู้สึกไม่ไหว ขอคำปรึกษา : ผ่านสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง
ขณะที่ ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ออกประกาศ เรื่อง ข้อเสนอแนะสำหรับเหตุการณ์รุนแรงสะเทือนขวัญที่เกิดขึ้น ซึ่งการเสพข่าวนั้นอาจะทำให้เกิดโรคเครียด ประกอบด้วย 3 อาการหลัก และระยะเวลานานเกินกว่า 1 เดือน ดังนี้
- มีพฤติกรรมนึกถึงเหตุการณ์ร้ายนั้นซ้ำๆ เช่น ฝันร้าย หรือเห็นภาพเหตุร้ายเหมือนภาพติดตาในขณะตื่น
- มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ สิ่งเร้า สิ่งที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ หรือ สถานที่ สิ่งต่างๆ ที่มีลักษณะคล้ายกับเหตุการณ์นั้นที่จะกระตุ้นใหเนึกถึง จนเกิดอาการตื่นตระหนก ผวา วิตกกังวล และทำให้นึกถึงเหตุการณ์ร้ายนั้นซ้ำๆ รุนแรงมากขึ้น
- มีอาการตื่นกลัวทั้งทางร่างกายและจิตใจ หวาดกลัว ตื่นตระหนก ตกใจง่าย กระสับกระส่าย วิตกกังวล คิดมาก มองโลกและตนเองในแง่ลบ นอนไม่หลับ หงุดหงิด สมาธิแย่ลง บางรายอาจมีความรู้สึกผิด รู้สึกซึมเศร้า หดหู่ สิ้นหวัง หรือการคิดเรื่องทำร้ายตัวเอง
เมื่อเกิดอาการใน 3 ข้อนี้เกิน 1 เดือน จำเป็นต้องพบจิตแพทย์ เป็นอาการที่ส่งผลกระทบกับจิตใจและพฤติกรรมในการใช้ชีวิตอย่างมาก
สำหรับการดูแลตนเอง และผู้ใกล้ชิดเมื่อเกิดภาวะโรคเครียด ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ ดังนี้
1. การดูแลจิตใจ
- งดการรับรู้ข่าวสาร เหตุการณ์ที่ยิ่งกระตุ้นให้นึกถึงเหตุการณ์ร้าย ในทุกช่องทาง
- การกลับมาดูแลฟื้นฟูร่างกายและจิตใจอย่างเหมาะสม
- การรับฟังอย่างเปิดใจและเข้าใจ
- การแสดงความรัก ความห่วงใย และการให้กำลังใจ
- การกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ
2.การพบจิตแพทย์
เนื่องจากอาการนี้เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจอย่างมาก ควรได้รับการรักษาจากแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญควบคู่กับการดูแลจิตใจตนเองและผู้ใกล้ชิด จะช่วยบรรเทาอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ สร้างความปลอดภัย ลดความเสี่ยงอันตรายที่เกิดขึ้นจากอาการได้ การรักษาประกอบด้วยการทำจิตบำบัด ร่วมกับการใช้ยาเพื่อรักษาและบรรเทาอาการ
คำแนะนำในการดูแลเด็ก เมื่อทราบข่าวหรือเห็นภาพความรุนแรง สิ่งที่ผู้ใหญ่ควรทำการดูแลเด็กในเด็กเล็กและเด็กโต มีดังนี้
- จัดการอารมณ์ของตัวเองให้สงบ และรู้สึกสบายก่อนคุยกับเด็ก
- พูดคุยกับเด็ก ด้วยน้ำเสียงเบา ราบเรียบเพื่อให้บรรยากาศสงบ
- อธิบายความจริงให้เด็กฟัง ด้วยคำที่เข้าใจง่าย ไม่เล่าละเอียดหรือบรรยาภาพที่อาจทำให้เด็กหวาดกลัว
- ระมัดระวังการเห็นภาพสื่อที่น่ากลัวมากเกินไป
คำแนะนำดูแลเด็กเล็ก
คำแนะนำดูแลเด็กโต
ขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์