"ฤดูหนาว" เปิด 6 โรคที่ต้องเฝ้าระวัง หากมี 16 อาการป่วยรับยาที่ร้านยา ฟรี!
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เตือนดูแลสุขภาพเฝ้าระวัง 6 โรคที่มากับฤดูหนาว พร้อมแนะผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ (30 บาท) หรือสิทธิบัตรทอง หากมีอาการเจ็บป่วยสามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการประจำตามสิทธิ
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เตือนดูแลสุขภาพเฝ้าระวัง 6 โรคที่มากับฤดูหนาว พร้อมแนะผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ (30 บาท) หรือสิทธิบัตรทอง หากมีอาการเจ็บป่วยสามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการประจำตามสิทธิ (สถานพยาบาล)
เข้าสู่ช่วง "ฤดูหนาว" อากาศเริ่มเย็นและมีลมหนาวพัดเข้ามา หลายคนคงชอบเพราะรู้สึกว่าเย็นสบายดี แต่รู้หรือไม่ว่าสภาพอากาศเช่นนี้อาจทำให้เราป่วยกันได้ง่ายกว่าปกติ โดยเฉพาะในกลุ่มของเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีอาการป่วยหรือสุขภาพไม่แข็งแรง
เนื่องจากเชื้อไวรัสก็ชอบอากาศแบบนี้ด้วยเช่นกันกัน ด้วยอุณหภูมิที่ต่ำซึ่งจะเอื้อต่อการอยู่รอดและแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเป็นอย่างดี ดังนั้น จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ และควรป้องกันภาวะเจ็บป่วยจากโรคที่มากับฤดูหนาว เน้นเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงตั้งแต่เนิ่นๆโดยโรคที่พบบ่อยในฤดูหนาวที่ควรระวัง มีดังต่อไปนี้
1. โรคไข้หวัด ติดต่อได้ทางอากาศ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล ระคายคอ
2. โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการหนาวสั่น ไข้ขึ้นสูง เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและศีรษะอย่างรุนแรง และอาจมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วย
3. โรคปอดบวม เกิดจากภาวะปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไว้รัส ผู้ป่วยจะมีอาการไอ คัดจมูก จาม และมีเสมหะมาก มีไข้สูงติดต่อกันเกิน 2 วัน หนาวสั่น แน่นหน้าอกหายใจไม่ออก และอาจทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด มักจะพบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ และเด็กเล็กอายุระหว่าง 5 - 10 ปี
4. โรคหัด เกิดจากเชื้อรูบีโอลาไวรัส มักระบาดช่วงปลายฤดูหนาวต่อกับฤดูร้อน มักพบในเด็กตั้งแต่อายุ 2 - 12 ปี ติดต่อกันได้ง่ายจากการไอ จามรดกันโดยตรง ทั้งนี้อาการจะคล้ายไข้หวัดธรรมดา คือ น้ำมูกไหล ไอแห้ง ตาและจมูกแดง มีไข้สูง และหากมีไข้ติดต่อกัน 3-4 วัน จะมีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย และมีตุ่มใสๆ ขึ้นในปาก กระพุ้งแก้ม และฟันกรามบน
5. อุจจาระร่วง เป็นอีกโรคที่มากับฤดูหนาวที่ควรระวัง ส่วนใหญ่สาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสโรต้า ที่ระบาดมากสุดช่วงเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ของทุกปี อาการของโรคจะมีไข้ ท้องเสียรุนแรงและอาเจียนอย่างหนัก บางรายเสียน้ำมากจนช็อกหรือเสียชีวิต
6. โรคไข้สุกใส มักระบาดช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม เกิดจากเชื้อไวรัส ชื่อไวรัสวาริเซลลา ติดต่อผ่านทางการสัมผัสตุ่มน้ำใสโดยตรง สัมผัสของใช้ มีระยะฟักตัวในร่างกาย 10-20 วัน พบมากในเด็กอายุ 5-15 ปี โดยเกิดกับผู้ที่ยังไม่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน
สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ หรือ สิทธิบัตรทอง หากมีอาการเจ็บป่วยสามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการประจำตามสิทธิ (สถานพยาบาล) กรณีมีอาการเจ็บป่วยนอกพื้นที่สามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิได้ทุกแห่ง ตรวจสอบรายชื่อสถานพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ที่เว็บไซต์ สปสช. (คลิกที่นี่)
หากมีอาการเบื้องต้นเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการ สามารถเข้ารับบริการที่ร้านยาคุณภาพของฉันได้ทุกแห่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตรวจสอบรายชื่อร้านยาคุณภาพของฉันได้ที่ (คลิก)
สิทธิบัตรทอง เจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการ
1. ปวดหัว (HEADACHE)
2. เวียนหัว (Dizziness)
3. ปวดข้อ (PAIN IN JOINT)
4. เจ็บกล้ามเนื้อ(MUSCLE PAIN)
5. ไข้ (FEVER)
6. ไอ (COUGH)
7. เจ็บคอ (SORE THROAT)
8. ปวดท้อง (STOMACHACHE)
9. ท้องผูก (CONSTIPATION)
10. ท้องเสีย (DIARRHEA)
11. ถ่ายปัสสาวะขัด,ปัสสาวะลำบา,ปัสสาวะเจ็บ (DYSURIA)
12. ตกขาวผิดปกติ(VAGINAL DISCHARGE)
13. อาการทางผิวหนัง ผื่น คัน (SKIN RASH/LESION)
14. บาดแผล (WOUND)
15. ความผิดปกติต่างๆที่เกิดขึ้นกับตา(EYE DISORDER)
16. ความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับหู (EAR DISORDER)
ขั้นตอนรับบริการ
1 ตรวจสอบรายชื่อร้านยาใกล้บ้านที่เข้าร่วมโครงการได้ที่
หรือสังเกตจากสติกเกอร์ "ร้านยาคุณภาพของฉัน" ให้บริการ
การเจ็บป่วยเล็กน้อย
2 ไปที่ร้านยา นำบัตรประชาชนไปด้วยเภสัชกรจะคัดกรองอาการเบื้องต้น
ให้ยาพร้อมคำแนะนำการใช้ยา (หรือแนะนำให้พบแพทย์ ในกรณี
ที่พบว่ามีอาการที่ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์)
3 เภสัชกุรติดตามอาการของผู้ป่วยในวันที่ 3 ของการจ่ายยา