วิธีปฏิบัติเมื่อ "สำลักอาหาร" กรณีฉุกเฉิน ภัยใกล้ตัวอันตรายถึงชีวิต

วิธีปฏิบัติเมื่อ "สำลักอาหาร" กรณีฉุกเฉิน ภัยใกล้ตัวอันตรายถึงชีวิต

วิธีปฏิบัติเมื่อ "สำลักอาหาร" เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม อันตรายกว่าที่คิด หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นกับตัวเรา

ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน เจ้าของเพจ หมอแล็บแพนด้า แนะแนวทางวิธีปฏิบัติเมื่อ "สำลักอาหาร" เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม อันตรายกว่าที่คิด หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นกับตัวเรา

1.ถ้าอยู่คนเดียว รีบหาขอบโต๊ะหรือพนักเก้าอี้ดันใส่หน้าท้องตัวเองแรงๆ

 

วิธีปฏิบัติเมื่อ \"สำลักอาหาร\" กรณีฉุกเฉิน ภัยใกล้ตัวอันตรายถึงชีวิต

 

2.ถ้าเป็นเด็กทารกให้จับนอนหงายประคองด้วยแขน หรือหน้าตัก 

 

วิธีปฏิบัติเมื่อ \"สำลักอาหาร\" กรณีฉุกเฉิน ภัยใกล้ตัวอันตรายถึงชีวิต

 

3.กดด้วยนิ้วสองนิ้วลงไปตรงๆ บริเวณกระดูกอกตรงกลาง 5 ครั้ง 

 

วิธีปฏิบัติเมื่อ \"สำลักอาหาร\" กรณีฉุกเฉิน ภัยใกล้ตัวอันตรายถึงชีวิต

 

4.คว่ำหน้าหันหัวลงประคองด้วยแขนและหน้าตัก ตบด้วยอุ้งมือกลางหลัง 5 ครั้ง

 

วิธีปฏิบัติเมื่อ \"สำลักอาหาร\" กรณีฉุกเฉิน ภัยใกล้ตัวอันตรายถึงชีวิต


5.ในกรณีที่หยุดหายใจให้รีบทำการ CPR โดยด่วน 

 

วิธีปฏิบัติเมื่อ \"สำลักอาหาร\" กรณีฉุกเฉิน ภัยใกล้ตัวอันตรายถึงชีวิต

 

6.รีบโทรแจ้งหน่วยกู้ชีพฉุกเฉิน หรือ 1669 ให้มาช่วยชีวิตทันที

 

วิธีปฏิบัติเมื่อ \"สำลักอาหาร\" กรณีฉุกเฉิน ภัยใกล้ตัวอันตรายถึงชีวิต

สำหรับ ภาวะการสำลักอาหาร คือ การที่มีเศษอาหารหรือน้ำ (Food particle) หลังกลืนอาหารหล่นเข้าไปอยู่ในหลอดลม ซึ่งจะทำให้เกิดอาการไอติดต่อกันหลายๆครั้งเพื่อขับดันให้เศษอาหารนั้นหลุดออกไปจากหลอดลม

เมื่อเกิดกระบวนการกลืนอาหารขึ้น โคนลิ้นจะผลักอาหารให้เข้าไปอยู่ในคอหอยจากนั้นฝาปิดกล่องเสียงจะเคลื่อนตัวลงมาปิดทางเข้าของกล่องเสียงรวมทั้งสายเสียงทั้ง 2 ข้างจะเคลื่อนตัวมาชิดกันเพื่อปิดทางเข้าของหลอดลมทำให้อาหารที่กำลังจะเคลื่อนตัวผ่านลงไปในทางเข้าของหลอดอาหารนั้นไม่สามารถหลุดเข้าไปในหลอดลมได้ จึงไม่เกิดการสำลักขึ้นซึ่งการสำลักอาหารนั้นจึงเกิดได้จากสาเหตุต่างๆ ดังนี้

1. คนที่พูดในขณะรับประทานอาหาร หรือในขณะกลืนอาหารนั้น ฝาปิดกล่องเสียงและสายเสียงจะเปิดออกเพื่อให้เกิดเสียงพูด อาหารจึงตกลงไปในหลอดลมและเกิดการสำลักขึ้นได้

2. ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดบริเวณคอหอย เช่นผ่าตัดโคนลิ้น ผ่าตัดมะเร็งคอหอย ผ่าตัดมะเร็งกล่องเสียงจะทำให้การทำงานของอวัยวะเหล่านี้ทำงานได้ไม่สมบูรณ์ จึงเกิดการสำลักขึ้น

3. ผู้ป่วยที่สายเสียงเป็นอัมพาตขยับและทำงานไม่ได้ก็จะเกิดการสำลักอาหารและน้ำ รวมทั้งมีอาการเสียงแหบร่วมด้วย

4. ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายแสงบริเวณลำคอ บางครั้งจะเกิดการบวมของเนื้อเยื่อในคอได้ และเกิดการสำลักอาหารได้เช่นกัน

5. ผู้ป่วยที่ได้รับการดมยาสลบมีการใส่ท่อช่วยหายใจ บางครั้งจะทำให้สายเสียงบวมและทำงานผิดปกติไปได้ จึงเกิดภาวะเสียงแหบและการสำลักอาหารขึ้นได้

การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุและตำแหน่งของอวัยวะที่ทำให้เกิดการสำลักบางกรณีสามารถรักษาได้ด้วยยา บางกรณีอาจต้องใช้การฝึกกลืนช่วยบางกรณีใช้วิธีการฝึกการออกเสียงเพื่อให้สายเสียงแข็งแรงขึ้นและบางกรณีอาจต้องอาศัยการผ่าตัด ซึ่งภาวะการสำลักอาหารนั้นถ้าเกิดขึ้นบ่อยๆ หรือรุนแรง (โดยเฉพาะในคนสูงอายุ)สามารถทำให้เกิดทางเดินหายใจอักเสบติดเชื้อได้ เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ เป็นต้น

 

ข้อมูลประกอบจาก หมอแล็บแพนด้า , bangkokhealth