PM 2.5 ค่าฝุ่นวันนี้ (4 ก.พ.66) กทม.ยังพบพื้นที่เกินค่ามาตรฐาน มีผลต่อสุขภาพ
อัปเดตสภาพอากาศ ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 ขณะที่ข้อมูลจาก IQAir กทม. รั้งอันดับ 42 เมืองที่มีมลพิษมากสุด ดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ที่ 65 AQI
อัปเดตสภาพอากาศ ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดได้ 24-58 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ข้อมูลจาก IQAir (เวลา 08.00 น.) กทม. รั้งอันดับ 42 เมืองที่มีมลพิษมากสุด ดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ที่ 65 AQI
ค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 2 พื้นที่ คือ
1.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
2.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
- ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศดี
-
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์สภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ฝนฟ้าคะนอง ฝน 20% ของพื้นที่
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM 2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)
คาดว่าอัตราการระบายอากาศในช่วงวันที่ 2-4 ก.พ.2566 จะไม่ดี/อ่อน เนื่องจากเพดานอากาศต่ำ เกิดสภาวะอากาศปิดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง PM 2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลงสลับกันในช่วงนี้
สำหรับในช่วงวันที่ 5-8 ก.พ.2566 คาดว่าอัตราการระบายอากาศจะดี มีฝนบางพื้นที่ จากทิศใต้ และลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยพัดเข้ามาปกคลุมแทนที่ลมหนาว ส่วนมวลอากาศเย็นที่แผ่ปกคลุมเริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบน มีอุณหภูมิสูงขึ้น กลางวันอากาศร้อน ส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง PM 2.5 มีแนวโน้มลดลง และวันนี้พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่
วงวันที่ 4 ก.พ.2566 พื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลควรเฝ้าระวังการสะสมของฝุ่นละออง เนื่องจากสภาพอากาศที่นิ่ง และปิด โดยพื้นที่ที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพกลาง กรุงธนเหนือ และกรุงธนใต้ (พื้นที่ท้ายลม)
สำนักสิ่งแวดล้อมได้ประสานแจ้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เพิ่มความเข้มงวดการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง เพื่อเป็นการบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพอนามัยของประชาชน
เพื่อให้ประชาชนวางแผนการทำงาน การทำกิจกรรมโดยเฉพาะในพื้นที่ที่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ/มีผลกระทบต่อสุขภาพ ควรลดระยะเวลา หรืองดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง