โรคไซโคพาธรักษาได้หรือไม่? เปิดสาเหตุพฤติกรรมผิดปกติต่อต้าน อาฆาตสังคม

โรคไซโคพาธรักษาได้หรือไม่? เปิดสาเหตุพฤติกรรมผิดปกติต่อต้าน อาฆาตสังคม

โรคไซโคพาธรักษาได้หรือไม่? เปิดสาเหตุพฤติกรรมผิดปกติต่อต้าน อาฆาตสังคม ซึ่งโรคนี้ถูกกลับมาเป็นที่พูดถึงกันอีกครั้งจาก "คดีน้องต่อล่าสุด"

กลับมาเป็นที่พูดถึงกันอีกครั้งสำหรับ "โรคไซโคพาธ" (Psychopaths) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มของโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้าน อาฆาตสังคม โดยมีลักษณะขาดความเห็นใจผู้อื่น ขาดความสำนึกผิด ความรู้สึกด้านชาไม่เกรงกลัว ขาดความยับยั้งชั่งใจ และเอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง ซึ่งว่ากันว่าโรคนี้น่ากลัวและอันตรายกว่าผู้ป่วยทางจิตเวชเสียอีก

จาก "คดีน้องต่อล่าสุด" ซึ่งหลังจากที่เจ้าหน้าที่ได้ส่งตัว นิ่ม แม่ของน้องต่อ เด็กวัย 8 เดือน ที่หายไปอย่างปริศนา เพื่อตรวจเกี่ยวกับสุขภาพจิตหลังมีรายงานว่า นิ่ม ป่วยเป็น "โรคไซโคพาธ" นั้น อย่างไรก็ตามยังไม่มีการยืนยันซึ่งต้องรอผลตรวจจากทางจิตแพทย์ต่อไป

วันนี้จะพาไปทำความรู้จัก "โรคไซโคพาธ" ว่ามีสาเหตุเกิดจากอะไร และอาการหรือการแสดงออกต่อสังคมนั้นอันตราย และรุนแรงแค่ไหน

ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า โรคไซโคพาธ มักแสดงออกจิตใจที่แข็งกระด้าง มีพฤติกรรมตอบสนองต่อความต้องการของตนเองโดยไม่สนใจผู้อื่นในสังคม มีความผิดปกติทางอารมณ์และความคิดโดยเฉพาะเมื่อต้องเข้าสังคม มักเชื่อมโยงกับพฤติกรรมความรุนแรงซ้ำๆ และก่อให้เกิดอาชญากรรม

 

สาเหตุการเกิดโรคไซโคพาธ 

ด้านทางกาย ได้แก่

  • มีความผิดปกติของสมองโดยเฉพาะส่วนหน้าและส่วนอะมิกดะลา
  • ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง
  • อุบัติเหตุทางสมอง
  • พันธุกรรม

ด้านจิตใจและสังคม ได้แก่

  • การถูกกระทำทารุณกรรมในวัยเด็ก
  • การถูกเลี้ยงดูแบบละเลยเพิกเฉย
  • อาชญากรรมในครอบครัว
  • ความแตกแยกในครอบครัว
  • สภาพสังคมรอบตัวที่โหดร้าย

 

ผู้ที่มีภาะวะไซโคพาธ ไม่จำเป็นต้องมีพฤติกรรมทางจิตอย่างผู้ป่วยจิตเวช แต่อาจเป็นบุคคลทั่วๆไปที่มีลักษณะทางจิตบางอย่างซ่อนลึกในจิตใจ อาจเกิดขึ้นในวัยเด็กและแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป เช่น

  • ขาดความรัก
  • ขาดความสนใจ
  • ไร้คำแนะนำจากผู้ปกครอง
  • ถูกกระทำทารุณในวัยเด็ก
  • ถูกเลี้ยงดูแบบละเลยเพิกเฉย
  • การเลี้ยงดูที่ไม่พึงประสงค์
  • อาชญากรรมในครอบครัว
  • ความแตกแยกในครอบครัว
  • รวมถึงสภาพสังคมรอบตัวที่โหดร้าย

 

 

โรคไซโคพาธรักษาได้หรือไม่?

ไซโคพาธ ถือเป็นหนึ่งภาวะที่รักษาได้ยากและมักมีการพยากรณ์โรคที่ไม่ดี มักไม่ร่วมมือกับการทำจิตบำบัดจึงได้ประโยชน์ค่อนข้างน้อย

  • การรักษาด้วยยา มีประโยชน์ในการรักษาโรคทางจิตเวชที่เกิดร่วมกับไซโคพาธ
  • การปรับพฤติกรรม เน้นการพัฒนาสิ่งที่สนใจในแง่ดี และการให้รางวัลเมื่อกระทำพฤติกรรมดี
  • การลงโทษ มักไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้เนื่องจากอาการด้านชาทางอารมณ์

 

โรคไซโคพาธรักษาได้หรือไม่? เปิดสาเหตุพฤติกรรมผิดปกติต่อต้าน อาฆาตสังคม