ฝุ่น PM 2.5 กรุงเทพฯเกินค่ามาตรฐาน 9 พื้นที่ เขตหนองจอกหนักสุด วัดได้ 114 AQI

ฝุ่น PM 2.5 กรุงเทพฯเกินค่ามาตรฐาน 9 พื้นที่ เขตหนองจอกหนักสุด วัดได้ 114 AQI

สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 พื้นที่กรุงเทพฯ ประจำวันที่ 16 มีนาคม 2566 พบว่าเกินมาตรฐานและเริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพจำนวน 9 พื้นที่

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือฝุ่น PM 2.5 พื้นที่กรุงเทพฯ ประจำวันที่ 16 มีนาคม 2566 เวลา 07.00 น.

 

ค่าฝุ่น PM 2.5 ตรวจวัดได้ 32-56 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร พบว่าเกินมาตรฐานจำนวน 9 พื้นที่ ดังนี้

1.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.

2.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

3.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

4.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

5.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

6.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

7.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

8.เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

9.เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

  • ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศปานกลาง
  • กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์สภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ฝนฟ้าคะนอง ฝน 10% ของพื้นที่

 

ฝุ่น PM 2.5 กรุงเทพฯเกินค่ามาตรฐาน 9 พื้นที่ เขตหนองจอกหนักสุด วัดได้ 114 AQI

 

ข้อแนะนำ 

- ระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

สำหรับบุคคลทั่วไป : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น

ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง หากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลียควรปรึกษาแพทย์

 

 

 

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM 2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)

ในช่วงวันที่ 16-22 มี.ค.2566 อากาศเริ่มอยู่ในสภาวะเปิด การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลให้ฝุ่น PM 2.5 เกิดการสะสมตัวมีแนวโน้มลดลง

ทั้งนี้ ในช่วงวันที่ 16-23 มี.ค.2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ลมใต้ และตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมแทนที่ อากาศจะเริ่มร้อนขึ้น (ยังไม่ถึงร้อนจัด) และมีหย่อมความกดอากาศต่ำเข้ามาปกคลุมแทน ควรระมัดระวังรักษาสุขภาพจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานกลางแจ้งที่ควรระวังโรคลมแดดและวันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่

ช่วงวันที่ 16 มี.ค.2566 เป็นต้นไป สถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากลมทางใต้ช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่

สำนักสิ่งแวดล้อมได้ประสานแจ้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เพิ่มความเข้มงวดการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง เพื่อเป็นการบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพอนามัยของประชาชน

เพื่อให้ประชาชนวางแผนการทำงาน การทำกิจกรรมโดยเฉพาะในพื้นที่ที่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ/มีผลกระทบต่อสุขภาพ ควรลดระยะเวลา หรืองดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง

 

สามารถตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน ผ่านช่องทางดังต่อไปนี้

  • แอปพลิเคชั่น AirBKK
  • airbkk.com
  • เฟซบุ๊ก สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
  • เฟซบุ๊ก กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม
  • เฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร
  • แอปพลิเคชั่น AirBKK
  • LINE ALERT
  • LINE OA @airbangkok

 

ฝุ่น PM 2.5 กรุงเทพฯเกินค่ามาตรฐาน 9 พื้นที่ เขตหนองจอกหนักสุด วัดได้ 114 AQI

 

ฝุ่น PM 2.5 กรุงเทพฯเกินค่ามาตรฐาน 9 พื้นที่ เขตหนองจอกหนักสุด วัดได้ 114 AQI