ค่าฝุ่น PM 2.5 กรุงเทพฯ พุ่งเกินค่ามาตรฐาน 70 พื้นที่ - เขตสาทร ระดับสีแดง
สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 คุณภาพอากาศ กรุงเทพมหานคร ช่วงบ่ายวันนี้ (16 เม.ย.66) มีแนวโน้มลดลงแต่ยังคงเกินมาตรฐานจำนวน 70 พื้นที่ - เขตสาทร อยู่ในระดับสีแดงมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ขอสรุปผลการตรวจวัด PM 2.5เวลา 13.00-15.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด)
- ตรวจวัดได้ 50-96 มคก./ลบ.ม.
- ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 61.9 มคก./ลบ.ม.
- ค่า PM 2.5 มีแนวโน้มลดลงแต่ยังคงเกินมาตรฐานจำนวน พื้นที่
อยู่ในระดับสีแดงมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน พื้นที่ คือ
1.เขตสาทร
อยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 69 พื้นที่ ได้แก่
2.เขตราชเทวี 3.เขตสัมพันธวงศ์ 4.เขตพญาไท 5.เขตวังทองหลาง 6.เขตปทุมวัน 7.เขตบางรัก 8.เขตบางคอแหลม 9.เขตยานนาวา 10.เขตจตุจักร 11.เขตบางกะปิ 12.เขตลาดกระบัง 13.เขตธนบุรี 14.เขตคลองสาน 15.เขตบางกอกน้อย 16.เขตภาษีเจริญ 17.เขตบางเขน 18.เขตบางพลัด 19.เขตบางขุนเทียน 20.เขตพระนคร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
21.เขตคลองเตย 22.เขตบางซื่อ 23.เขตหลักสี่ 24.เขตบึงกุ่ม 25.เขตสวนหลวง 26.เขตลาดพร้าว 27.เขตคลองสามวา 28.เขตสายไหม 29.เขตห้วยขวาง 30.เขตสะพานสูง 31.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 32.เขตบางแค 33.เขตจอมทอง 34.เขตดอนเมือง 35.เขตดินแดง 36.เขตพระโขนง 37.เขตราษฎร์บูรณะ 38.เขตบางกอกใหญ่ 39.เขตตลิ่งชัน 40.เขตทวีวัฒนา
41.เขตดุสิต 42.เขตหนองแขม 43.เขตบางบอน 44.เขตทุ่งครุ 45.เขตวัฒนา 46.เขตบางนา 47.เขตคันนายาว 48.เขตมีนบุรี 49.เขตหนองจอก 50.เขตประเวศ 51.สวนลุมพินี 52.สวนวชิรเบญจทัศ 53.สวนจตุจักร 54.สวนหลวง ร.9 55.สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ 56.อุทยานเบญจสิริ 57.สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน 58.สวนธนบุรีรมย์ 59.สวนเบญจกิติ 60.สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ
61.สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 62.สวนเสรีไทย 63.สวนบางแคภิรมย์ 64.สวนทวีวนารมย์ 65.สวนพระนคร 66.สวนหนองจอก 67.สวนกีฬารามอินทรา 68.สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา 69.สวนสันติภาพ 70.สวนหลวงพระราม 8
ข้อแนะนำ
- ระดับสีแดงมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ทุกคน: ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูงหรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์
- ระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
สำหรับบุคคลทั่วไป: ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น
ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง หากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลียควรปรึกษาแพทย์
1. ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM 2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)
ในวันที่ 16 เม.ย. 2566 (วันนี้) จะมีสภาพอากาศปิด ทำให้ฝุ่น PM 2.5 สามารถระบายได้จำกัด และมีแนวโน้มการสะสมตัวของฝุ่น PM 2.5 เพิ่มขึ้นได้เล็กน้อยในระยะเวลาสั้น หลังจากช่วงวันที่ 17-23 เม.ย. 2566 การระบายอากาศจะดีขึ้น ช่วงนี้บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนแล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก และทะเลจีนใต้ในวันนี้ ส่งผลให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย และวันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
ในช่วงวันที่ 17 - 23 เมษายน 2566 สถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลยังคงมีแนวโน้มที่ดีถึงปานกลาง เนื่องจากสภาพอากาศที่เปิดมากขึ้น เพดานการลอยตัวอากาศที่สูงขึ้น ประกอบกับลมทางใต้ที่กำลังแรงช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่** อย่างไรก็ตามวันที่ 17 เมษายน 2566 อาจมีสภาพอากาศที่ปิดได้ในบางพื้นที่ จึงควรเพิ่มการเฝ้าระวัง
จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 15 เมษายน 2566 จำนวน 3 จุด ดังนี้
จุดที่ 1 เวลา 13.03 น. แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง
จุดที่ 2 เวลา 13.57 น. แขวงสามวาตะวันตก เขตคลองสามวา
จุดที่ 3 เวลา 13.57 น. แขวงสามวาตะวันตก เขตคลองสามวา
(เพลิงไหม้สงบเรียบร้อยแล้ว)
แหล่งข้อมูล: ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร กรมควบคุมมลพิษ กรมอุตุนิยมวิทยา และสํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ