ฝุ่น PM 2.5 เช็ก 10 เมืองมลพิษทางอากาศมากสุด กรุงเทพฯเกินค่ามาตรฐาน 8 พื้นที่

ฝุ่น PM 2.5 เช็ก 10 เมืองมลพิษทางอากาศมากสุด กรุงเทพฯเกินค่ามาตรฐาน 8 พื้นที่

สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 เว็บไซต์ IQAir รายงานคุณภาพอากาศ อันดับเมืองที่มีมลพิษทางอากาศมากที่สุดของประเทศไทย 10 อันดับแรก ส่วนค่าฝุ่น PM 2.5 กรุงเทพฯ พบเกินค่ามาตรฐานจำนวน 8 พื้นที่

สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 เว็บไซต์ IQAir รายงานคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 14 เมษายน 2566 ณ เวลา 8.17 น. อันดับเมืองที่มีมลพิษทางอากาศมากที่สุดของประเทศไทย 10 อันดับแรก ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในระดับสีม่วงและสีแดง เป็นระดับที่มีผลกระทบต่อร่างกายเป็นอย่างมากและอันตรายต่อสุขภาพ

อันดับเมืองหรือจังหวัดที่มีมลพิษมากที่สุดของประเทศไทย 10 อันดับแรก ประกอบด้วย

1.แม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน ดัชนีคุณภาพอากาศ 294 AQI

2.อำเภอพาน จ.เชียงราย ดัชนีคุณภาพอากาศ 294 AQI

3.อำเภอปาย จ.แม่ฮ่องสอน ดัชนีคุณภาพอากาศ 268 AQI

4.อำเภอแม่สาย จ.เชียงราย ดัชนีคุณภาพอากาศ 258 AQI

5.อำเภอเมืองเชียงราย จ.เชียงราย ดัชนีคุณภาพอากาศ 247 AQI

6.อำเภอเชียงของ จ.เชียงราย ดัชนีคุณภาพอากาศ 244 AQI

7.อำเภอเวียงชัย จ.เชียงราย ดัชนีคุณภาพอากาศ 228 AQI

8.อำเภอเมืองพะเยา จ.พะเยา ดัชนีคุณภาพอากาศ 226 AQI

9.อำเภอสันทราย จ.เชียงใหม่ ดัชนีคุณภาพอากาศ 200 AQI 

10.อำเภอแม่ริม จ.เชียงใหม่ ดัชนีคุณภาพอากาศ 198 AQI

ขณะที่ จ.เชียงใหม่ อยู่อันดับ 4 ประเทศที่มีมลพิษทางอากาศสูงสุดในโลกวัดได้ 180  AQI

 

ฝุ่น PM 2.5 เช็ก 10 เมืองมลพิษทางอากาศมากสุด กรุงเทพฯเกินค่ามาตรฐาน 8 พื้นที่

 

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือฝุ่น PM 2.5 พื้นที่กรุงเทพฯ ประจำวันที่ 14 เมษายน 2566 เวลา 07.00 น.

ค่าฝุ่น PM 2.5 ตรวจวัดได้ 36-60 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร พบว่าเกินค่ามาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 8 พื้นที่ ดังนี้

1.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.

2.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.

3.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

4.เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

5.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

6.เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

7.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

8.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

  • ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศปานกลาง
  • กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์สภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ฝนฟ้าคะนอง ฝน 10% ของพื้นที่

ข้อแนะนำ (ระดับสีส้ม) เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

สำหรับบุคคลทั่วไป : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น

ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง หากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลียควรปรึกษาแพทย์

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM 2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)

ในช่วงวันที่ 14-16 เม.ย.2566 คาดว่าจะมีสภาพอากาศปิด ทำให้ฝุ่น PM 2.5 สามารถระบายได้จำกัด และมีแนวโน้มการสะสมตัวของฝุ่น PM 2.5เพิ่มขึ้นได้เล็กน้อยในระยะเวลาสั้น ช่วงนี้บริเวณความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง ในขณะที่ลมใต้กำลังอ่อนที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย และวันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน

ในช่วงวันที่ 14-20 เมษายน 2566 สถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลยังคงมีแนวโน้มที่ดีถึงปานกลาง เนื่องจากสภาพอากาศที่เปิดมากขึ้น เพดานการลอยตัวอากาศที่สูงขึ้น ประกอบกับลมทางใต้ที่กำลังแรงช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่ อย่างไรก็ตามวันที่ 15-16 เมษายน 2566 อาจมีสภาพอากาศที่ปิดได้ในบางพื้นที่ จึงควรเพิ่มการเฝ้าระวัง

สำนักสิ่งแวดล้อมได้ประสานแจ้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เพิ่มความเข้มงวดการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง เพื่อเป็นการบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพอนามัยของประชาชน

เพื่อให้ประชาชนวางแผนการทำงาน การทำกิจกรรมโดยเฉพาะในพื้นที่ที่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ/มีผลกระทบต่อสุขภาพ ควรลดระยะเวลา หรืองดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง

 

ฝุ่น PM 2.5 เช็ก 10 เมืองมลพิษทางอากาศมากสุด กรุงเทพฯเกินค่ามาตรฐาน 8 พื้นที่

 

ฝุ่น PM 2.5 เช็ก 10 เมืองมลพิษทางอากาศมากสุด กรุงเทพฯเกินค่ามาตรฐาน 8 พื้นที่

 

ฝุ่น PM 2.5 เช็ก 10 เมืองมลพิษทางอากาศมากสุด กรุงเทพฯเกินค่ามาตรฐาน 8 พื้นที่