รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม ได้ให้คำแนะนำว่า ถ้าดื่มเป็นประจำจะเกิดผลเสียต่อสุขภาพ ที่กังวลที่สุด คือ หากกะปริมาณเกลือด้วยมือ โดยไม่ใช้ช้อนตวงเกลือที่โรย 1 หยิบมือ อาจมีปริมาณสูงถึง 0.5-1 กรัม คิดเป็นโซเดียม 200-400 มิลลิกรัมได้เลย ซึ่งคนไทยควรบริโภคเกลือไม่เกิน 5 กรัมต่อวัน (โซเดียม 2,000 มิลลิกรัม)
แต่จากการสำรวจพบว่า คนไทยบริโภคเกลือเฉลี่ย 9.1 กรัมต่อวัน (โซเดียม 3,600 มิลลิกรัม) ซึ่งสูงเกือบ 2 เท่า ของที่ร่างกายควรได้รับ โดยส่วนใหญ่ได้รับโซเดียมมาจากการเติมเครื่องปรุงรสระหว่างการประกอบอาหาร อาหารพร้อมบริโภค อาหารกึ่งสำเร็จรูป และขนมขบเคี้ยว
อย่างไรก็ตามหากรับประทานเกลือที่อยู่ในกาแฟใปริมาณ 200 ถึง 400 กรัม คิดเป็น 10-20% ของความต้องการปริมาณโซเดียมแต่ละวัน ผู้บริโภคจึงควรมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการลิ้นเปลี่ยนรสชาติ หรือบางครั้งเกลืออาจทำให้รสชาติขมน้อยลง แต่ก็จะกลบความเข้มและรสชาดดั้งเดิมของกาแฟที่คอกาแฟเคยชื่นชอบ
การดื่มเครื่องดื่มที่มีทั้งรสชาติหวานและเค็มมากเป็นประจำ นอกจากจะทำให้หน้าบวม ขาบวม ยังเสี่ยงต่อโรคอ้วน เบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งนำไปสู่โรคไต โรคหัวใจและอัมพาตได้ในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต จะทำให้โรคกำเริบได้
“คนปกติก็ไม่ควรได้โซเดียมจากเครื่องดื่มเพราะปกติเราได้โซเดียมจากอาหารหลักมากเกินพออยู่แล้ว และสถานการณ์การกินโซเดียมเกินของคนไทยเกือบ 2 เท่า เราต้องช่วยกันรณรงค์ให้กินหวานและเค็มลดลง การขายสินค้าควรตั้งอยู่บนพื้นฐานด้านสุขภาพของผู้บริโภคด้วย และไม่ควรสร้างแบบอย่างที่อันตรายสำหรับคนรุ่นใหม่”รศ.นพ.สุรศักดิ์