'Oniomania' โรคเสพติดการช้อปปิ้ง โรคทางจิตที่เป็นได้ทุกเพศทุกวัย

'Oniomania' โรคเสพติดการช้อปปิ้ง โรคทางจิตที่เป็นได้ทุกเพศทุกวัย

'การช้อปปิ้ง' ถือเป็นกิจกรรมที่ใครหลายๆ คนมักจะพลาดไม่ได้ โดยเฉพาะในปัจจุบันเทรนด์การตลาด มีลด แลก แจก แถม คูปองส่วนลดมากมาย แถมภาวะความเครียดต่างๆ การเดินช้อปปิ้งจึงถือเรื่องผ่อนคลายอย่างหนึ่ง

 

Keypoint:

  • 'ช้อปปิ้ง' กิจกรรมผ่อนคลายที่สามารถเป็นโรคได้  ลองเช็กสัญญาณที่เราOniomania โรคเสพติดการช้อป หรือคลั่งช้อป
  • พฤติกรรมของนักช้อปเป็นเหมือนกับพฤติกรรมของผู้ป่วยที่มีอาการคลั่งไคล้ ซื้อซ้ำแล้วจำไม่ได้ ซื้อมาแต่ไม่ได้ใช้ เป็นโรคจิตเภทอย่างหนึ่ง
  • แก้นิสัย Oniomania สามารถทำให้หายขาดได้ เพียงแต่ต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้อง รู้เท่าทันภาวะอารมณ์ รู้ถึงเหตุผลของการจับจ่าย นำไปสู่การจัดการภาวะอารมณ์ที่ดีขึ้น

ในภาษาของแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ การชอปปิ้งเรียกว่า 'Oniomania' ที่สวยงาม คำจำกัดความนี้มาจากคำภาษากรีก 'onius' - 'for sale' และ 'mania' - 'madness' ดังนั้นปัญหาคือความอยากซื้อของ ช้อปปิ้งอย่างไม่มีเหตุผล ในเวลาเดียวกัน นักช้อปปิ้งไม่ได้ถามคำถามเกี่ยวกับความได้เปรียบในการซื้อ ความจำเป็นต้องซื้อ เขาสนุกกับกระบวนการซื้อสินค้า อารมณ์เชิงบวกที่มาพร้อมกับเขากลายเป็นยาชนิดหนึ่งการเสพติดพัฒนาจากพวกเขา

คำจำกัดความของ 'oniomania'ได้รับการเสนอครั้งแรกในประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 19 โดยจิตแพทย์ชาวเยอรมัน Emil Kraepelin ซึ่งและเพื่อนร่วมงานของเขาเป็นคนแรกที่ให้ความสนใจกับพฤติกรรมแปลก ๆ ของคนบางคนในศูนย์การค้าและร้านค้าต่างๆ จิตแพทย์ทั่วโลกต่างเห็นพ้องต้องกันว่าการช้อปปิ้งเป็นโรคจิตเภทและมีเพียงตัวแทนของ American Psychiatric Association เป็นเวลานานเท่านั้นที่ปฏิเสธที่จะรับรู้ถึงการเสพติดการช้อปปิ้งที่เป็นโรคมากเกินไป เฉพาะในปี 2009 ที่แพทย์อเมริกันยอมรับในครั้งแรกว่าพฤติกรรมของนักช้อปเป็นเหมือนกับพฤติกรรมของผู้ป่วยที่มีอาการคลั่งไคล้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

เข้าใจนักช้อปออนไลน์ เพื่อการเติบโตของ E-commerce

กรุงเทพฯติดสุดยอดเมืองช้อปปิ้งโลก

นักจิตวิทยาชี้ “ช้อปปิ้งออนไลน์” บันดาลสุขได้จริง แต่ระวังเสพติด!

ความเป็นไปได้และทางรอดค้าปลีกไทย ปี 2566

 

ทำความรู้จักกับโรค 'Oniomania'

 'Oniomania' เป็นโรคทางจิตใช้เรียกบุคคลที่มีการใช้จ่ายเงินในการซื้อของ หรือช้อปปิ้งเกินตัวจนทำให้เกิดปัญหาตามมา คนในกลุ่มนี้จะมีพฤติกรรมชอบช้อปปิ้งเป็นชีวิตจิตใจ จะรู้สึกดีทุกครั้งที่ได้จับจ่ายซื้อของ โดยไม่คำนึงถึงความจำเป็น รู้สึกอ่อนไหวง่ายกับเรื่องช้อปปิ้ง หมกมุ่นกับการช้อปปิ้ง เมื่อเห็นของลดราคา คนพวกนี้จะสวมวิญญาณสัตว์ล่าเนื้อวิ่งเข้าตะครุบเหยื่อทันที ซึ่งการกระทำดังกล่าวมักส่งผลให้เกิดปัญหาหนี้สินไปจนถึงปัญหาครอบครัว โดยผู้หญิงมักเสี่ยงต่อพฤติกรรมดังกล่าวได้มากกว่าผู้ชาย แต่ใช่ว่าผู้ชายจะไม่เป็นโรคนี้ เพราะสินค้าต่าง ๆ ไม่ได้ผลิตมาเพื่อผู้หญิงเพียงอย่างเดียว

หรือเรียกได้ว่า ซื้อข้าวของแบบไม่บันยะบันยัง และมักซื้อของที่ตนไม่ต้องการ บางครั้งเหมือนขาดสติ ซื้อไปโดยไม่รู้ตัว บ่อยครั้งแสดงอาการเหมือนคนเสพยา เช่นถ้าไม่ได้ไปห้างจะมีอาการทุรนทุราย เครียด หงุดหงิด

\'Oniomania\' โรคเสพติดการช้อปปิ้ง โรคทางจิตที่เป็นได้ทุกเพศทุกวัย

สาเหตุของโรคนี้มาจากกลไกธรรมชาติของมนุษย์ที่สร้างขึ้นมาป้องกัน โรคซึมเศร้า ซึ่งตอบสนองอาการนี้โดยการโหยหาของใหม่ๆ แค่เพียงได้เห็นของใหม่ ๆ ในห้าง หรือเวลามีโฆษณาของใหม่ ๆ ทางทีวี ก็จะโหยหาและอยากช้อปเพื่อมาบรรเทาอาการซึมเศร้า แต่พอเอาของกลับมาบ้านก็จะมีความรู้สึกผิดขึ้นมา จนเกิดเสียดายจึงยิ่งไปกระตุ้นความซึมเศร้า ทำให้เกิดอาการวนไปวนมาไม่จบสิ้น

 

สัญญาณว่าเข้าข่าย  'Oniomania' หรือไม่?

กลุ่มคนที่จะเป็นโรคOniomania จะมีตั้งแต่วัยรุ่นขึ้นไป เพราะวัยนี้เป็นวัยที่มีกำลังซื้อในระดับหนึ่ง ส่วนมากผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย แต่ผู้ชายก็มีสิทธิ์เป็นโรคนี้ได้เช่นกัน ซึ่งปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยโรค Oniomania ก็มีเพศชายรวมอยู่ด้วย

นพ.คมสัน เกียรติรุ่งฤทธิ์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่าสำหรับวิธีสังเกตตัวเองและคนรอบข้างว่าเข้าข่ายโรคนี้หรือไม่นั้น ให้ดูว่าการจับจ่ายมากเกินความจำเป็นหรือไม่อย่างไร หากสิ่งของเหล่านั้นถูกซื้อมาทั้งที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ หรือซื้อซ้ำๆ ทั้งที่มีอยู่แล้วหลายชิ้น รวมถึงในรายที่ต้องหลบๆ ซ่อนๆ เวลาซื้อของเข้าบ้าน ซื้อมาแล้วมีปัญหากับคนที่บ้านแต่ก็ยังตัดสินใจซื้อ อาจเข้าข่ายเป็นโรค

สำหรับสัญญาณที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรค'Oniomania' นั้นสามารถเช็กตัวเองได้ดังนี้ 

1.ซื้อมาแต่ไม่เคยใช้  ช้อปปิ้ง หรือสั่งซื้อแล้วไม่ยอมนำมาใช้ เพราะอาจจะกลัวเก่า หรือซื้อใหม่เพื่อความสบายใจ จนลืมไปว่าจริงๆ อาจมีสินค้า หรือของชิ้นนั้นอยู่แล้ว 

2.ซื้อง่าย ซื้อเร็ว  ถ้าใครเป็นคนที่ซื้อง่ายซื้อคล่องนึกจะเอาก็จ่ายเลย ยิ่งกับของที่ไม่ค่อยได้ใช้แต่ก็ซื้อ ถือเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคคลั่งช้อปอย่างมาก

3.แอบซื้อมาใช้ ใครที่เวลาซื้อของมาต้องแอบๆ กลัวที่บ้าน หรือเพื่อนที่ทำงานจับรู้ เข้าข่ายโรคนี้เช่นเดียวกัน

\'Oniomania\' โรคเสพติดการช้อปปิ้ง โรคทางจิตที่เป็นได้ทุกเพศทุกวัย

4.ซื้อระบายอารมณ์ อารมณ์เสีย อารมณ์ไม่ดีก็กดเข้าสั่งซื้อสินค้า หรือเดินช้อปปิ้ง เพื่อความผ่อนคลายแต่จริงๆ แล้ว นี่ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณว่าเรากำลังเป็นโรคเสพติดการช้อป หรือโรคคลั่งช้อป

5.สำนึกผิดหลังซื้อเสร็จ เวลาซื้อสินค้าเยอะๆ ก็ใช่ว่าจะรู้สึกดี ถ้ามีโหมดเซ็ง เสียงดายเงิน หลังจ่ายเสร็จก็มานั่งรู้สึกผิดทีหลังแต่ก็ยังไม่หยุดช้อป

6.ใช้บัตรเครดิตเต็มวงเงิน และเปิดใบใหม่ขึ้นมาเรื่อย ๆ โดยไม่ได้ชำระหนี้ของบัตรใบเก่า

7.ซื้อของโดยไม่คำนึงถึงความจำเป็นจึงทำให้มีของที่ซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้

8.โกหก หรือลักขโมยเพื่อให้ได้ชอปปิงต่อ

สาเหตุของโรค Oniomania นั้นมีหลายประการ โดยอาจมาจากตัวบุคคลเอง และอาจมาจากสิ่งเร้าภายนอก ดังนี้

  • ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยอาจมีความวิตกกังวล เกิดภาวะเครียดจึงต้องชอปปิงเพื่อคลายเครียด หรือหาทางระบายอารมณ์ด้วยการชอปปิง
  • ไม่มีความภาคภูมิใจในตนเอง ผู้ป่วยอาจต้องการสร้างตัวตนเพื่อให้เกิดการยอมรับในการเข้าสังคม เช่น การแต่งตัวตามแฟชั่นเพื่อให้ตัวเองดูดี ซื้อกระเป๋าแบรนด์เนม ซื้อเสื้อผ้าราคาแพงเพื่อให้เหนือกว่าคนอื่น เป็นต้น
  • สื่อโฆษณา การได้เห็นสินค้าที่สนใจบ่อยครั้งในอินเทอร์เน็ต หรือเห็นรีวิวตามช่องทางต่าง ๆ อาจทำให้เกิดความอยากได้ และตัดสินใจซื้อในที่สุด
  • ความสะดวกในการซื้อ ปัจจุบันมีแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์มากมายทำให้เอื้ออำนวยต่อการซื้อขาย เพียงแค่สมัครสมาชิกเหล่านักชอปจะสามารถเลือกของลงตะกร้า และรอสินค้ามาส่งถึงหน้าประตูบ้านได้เลย ความสะดวกสบายในการซื้อนี้อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเสพติดชอปปิงได้

ผลกระทบเมื่อเราเป็นโรคเสพติดการช้อปปิ้ง 

 พฤติกรรม Oniomania เสพติดการชอปปิงโดยที่ไม่คำนึงรายรับ-รายจ่ายของตนเอง หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น 

  • ช้อปสนุกแต่ทุกข์เมื่อต้องจ่าย

พฤติกรรมเสพติดการชอปปิงที่เกินตัวอาจทำให้เกิดการหยิบยืม หรือกู้ยืมเงินเพื่อมาจ่ายค่าสิ่งของที่เราซื้อไป ส่งผลให้เกิดภาระหนี้สินเพิ่มพูนมากขึ้น

  • ปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด

เพราะต้องโกหกว่าของที่ซื้อมานั้นมีคนให้มา หรือซื้อในราคาที่ถูกกว่าความเป็นจริง เมื่อคนใกล้ชิดรู้ความจริงอาจส่งผลให้สูญเสียความเชื่อใจจากคนในครอบครัว หรือคนใกล้ชิด

  • สุขภาพจิตเสื่อม

หากมีหนี้สินแล้วไม่สามารถจัดการกับหนี้สินได้ย่อมส่งผลให้เกิดภาวะเครียด ซึมเศร้า เมื่อหาทางออกของปัญหาไม่ได้อาจถึงขั้นก่อเหตุอาชญากรรม ซึ่งนำไปสู่การจับกุมและถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

\'Oniomania\' โรคเสพติดการช้อปปิ้ง โรคทางจิตที่เป็นได้ทุกเพศทุกวัย

แก้นิสัย Oniomania รักษาให้หายขาดได้ 

1.คำนึงถึงความจำเป็น

ก่อนจะซื้ออะไรควรคิดถึงว่าซื้อแล้วได้ใช้หรือไม่ และต้องมั่นใจว่าไม่ได้ซื้อของซ้ำ ไม่ซื้อของตามความอยากได้ของตัวเอง

2.ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ช่วยวางแผนการใช้จ่ายเงิน และยังเป็นการสร้างวินัยทางการเงินให้กับตัวเองอีกด้วย

3.จัดการอารมณ์ตนเอง

ปรับเปลี่ยนทัศนคติ ปรับการรับรู้ และจัดการอารมณ์เพื่อรู้เท่าทันภาวะอารมณ์ของตนเอง

Oniomania เป็นภาวะทางจิตที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากพบว่าตนเอง หรือคนใกล้ตัวมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเป็น Oniomania ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม และเพื่อป้องกันอาการรุนแรง หรือผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจตามมา สำหรับยารักษาถ้าหากว่ามีโรคอื่นร่วมด้วยจึงจะมีการใช้ยา เช่น ภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล เป็นต้น

อ้างอิง:คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ,โรงพยาบาลเพชรเวช