จีนเตือนทั่วโลก เตรียมพร้อมรับมือ 'ไวรัสโคโรนา' 20 สายพันธุ์ใหม่ จากค้างคาว

จีนเตือนทั่วโลก เตรียมพร้อมรับมือ 'ไวรัสโคโรนา' 20 สายพันธุ์ใหม่ จากค้างคาว

จีนออกมาเตือนทั่วโลกให้เตรียมพร้อมรับมือกับ "ไวรัสโคโรนา" 20 สายพันธุ์ใหม่จาก "ค้างคาว" ที่อาจแพร่ระบาดมาสู่คน

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล (รพ.)รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยถึง "ไวรัสโคโรนา" ผ่านเพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ระบุว่า 

  • จีนออกมาเตือนทั่วโลกให้เตรียมพร้อมรับมือกับ "ไวรัสโคโรนา" 20 สายพันธุ์ใหม่จากค้างคาวที่อาจแพร่ระบาดมาสู่คน

ดร.ฉี เจิ่งลี่ ผู้อํานวยการศูนย์โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ สถาบันไวรัสวิทยาเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนออกมาเตือนว่าพบไวรัสโคโรนาจากค้างคาวกว่า 20 สายพันธุ์ใหม่ "มีความเสี่ยงสูง" ที่อาจก้าวข้ามมาระบาดในคน โดยตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารทางการแพทย์ Emerging Microbes & Infections เมื่อเดือนมิถุนายน 2566 โดยสื่อจีนให้ความสนใจรายงานข่าวในเดือนกันยายน 2566

อย่างไรดีนักวิจัยจากหลายสถาบันได้ออกมาเตือนถึงการล่าไวรัสที่โลกไม่รู้จัก (Exotic virus hunting) อาจเป็นการได้ไม่คุ้มเสียหรือไม่? กล่าวคือ กลับทำให้มนุษย์ และไวรัสในสัตว์ป่าเข้ามาใกล้ชิดกันมากขึ้นจนสุ่มเสี่ยงที่เจ้าหน้าที่ล่าไวรัสอาจติดเชื้อไวรัสเสียเองจนเกิดเป็น โรคระบาดติดต่อร้ายแรงไปทั่วโลกหรือไม่

• ดร. ฉี เจิ่งลี่ ได้รับสมญาว่า "หญิงค้างคาว (bat woman)" และ "นักล่าไวรัส (virus hunter)" เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนผู้ที่มีชื่อเสียง ทําการวิจัยเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาที่กระโดดข้ามจากสัตว์โดยเฉพาะค้างคาวมาติดต่อในคน

• ดร. ฉี เจิ่งลี่ เป็นผู้อํานวยการศูนย์ติดเชื้ออุบัติใหม่ สถาบันไวรัสวิทยาเมืองอู่ฮั่น และโด่งดังจากงานวิจัยเกี่ยวกับ SARS-CoV-1

• ในปี 2560 ดร.ฉี เจิ่งลี่ และทีมวิจัยค้นพบว่า ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ SARS น่าจะมีต้นกําเนิดมาจากค้างคาวเกือกม้า (Horseshoe Bat) ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน

• ดร.ฉี เจิ่งลี่ ถูกตรวจสอบอย่างใกล้ชิดในช่วงการระบาดของ โควิด-19 เนื่องจากห้องปฏิบัติการของเธอที่สถาบันไวรัสวิทยาเมืองอู่ฮั่นทําการวิจัยเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา แต่เธอปฏิเสธว่า ไวรัสโคโรนา-2019 มิได้หลุดมาจากห้องปฏิบัติการของเธอ ปัจจุบันรัฐบาลจีนยังคงสนับสนุนงานวิจัยของ ดร.ฉี เจิ่งลี่ ในการสืบค้นไวรัสในสัตว์ที่อาจแพร่ข้ามมาสู่มนุษย์

• ในผลการวิจัยล่าสุด ดร.ฉี เจิ่งลี่ และทีมวิจัยได้เตือนว่ามีโอกาส "สูงมาก" ที่จะเกิดการระบาดของไวรัสโคโรนาอีกในอนาคต

ไวรัสโคโรนา (CoV) มีสี่สกุล ได้แก่ alpha (α), beta (β), gamma (γ) และ delta (δ) CoV ทั้งหมดที่ทำให้เกิดการระบาดของมนุษย์นั้นมาจาก alpha- หรือ beta-CoV จากการจำแนกประเภทของ ICTV ล่าสุด พบว่ามี CoV สายพันธุ์ 40 ชนิดในสกุล alpha- และ beta-CoV โดย 27/40 ของสายพันธุ์ CoV (67.5%) สามารถพบได้หรือพบเฉพาะใน "ค้างคาว"

หลักฐานของการระบาดของ "ไวรัสโคโรนา" ในอนาคต

• ทีมวิจัยได้ระบุว่าพบ "ไวรัสโคโรนา" จํานวนกว่า 20 สายพันธุ์ที่มี "ความเสี่ยงสูง" ที่จะแพร่ติดเชื้อในคนได้ โดยให้เหตุผลว่าไวรัสโคโรนาเคยก่อให้เกิดการระบาดจากสัตว์สู่คนมาก่อน (เช่น SARS และ COVID-19) ดังนั้นมีความเป็นไปได้สูงที่มันจะก่อให้เกิดการระบาดอีกในอนาคต

• ผู้เชี่ยวชาญบางคนเปรียบเทียบงานวิจัยของ ดร.ฉี เจิ่งลี่ เสมือนการทำ "พจนานุกรมของไวรัสโคโรนา" ที่จะช่วยในการพยากรณ์ และป้องกันการระบาดในอนาคต

จีนเตือนทั่วโลก เตรียมพร้อมรับมือ \'ไวรัสโคโรนา\' 20 สายพันธุ์ใหม่ จากค้างคาว

ผลกระทบงานวิจัยของ ดร.ฉี เจิ่งลี่

• เน้นถึงภัยคุกคามต่อเนื่องจากไวรัสโคโรนาที่มาจากค้างคาว

• ย้ำให้เห็นว่าภาครัฐควรลงทุนด้านการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อสืบค้นหาไวรัสที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อประโยชน์แห่งการพัฒนาวัคซีน/ยาสำหรับรักษาล่วงหน้าก่อนเกิดการระบาดในอนาคต

• เตือนผู้ดูแลระบบสาธารณสุขทั่วโลกให้เตรียมรับมือการแพร่ระบาดของโรคจากไวรัสโคโรนาใหม่ๆ ในอนาคต

• การถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสโคโรนาทั้งจีโนมที่แยกเชื้อได้จากสัตว์โดย ดร.ฉี เจิ่งลี่ และทีมวิจัยสถาบันไวรัสวิทยาเมืองอู่ฮั่น จะมีคุณค่าอย่างยิ่งในการพยากรณ์ และป้องกันโรคระบาดในอนาคต

เหตุใดงานวิจัยของดร.ฉี เจิ่งลี่ จึงมีความสำคัญ

• เน้นย้ำถึงภัยคุกคามอย่างต่อเนื่องของไวรัสโคโรนาจากสัตว์สู่คน โดยเฉพาะจากค้างคาว

• เป็นพื้นฐานในการพยากรณ์ และเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดในอนาคต

• ระบุไวรัสโคโรนาสายพันธุ์จากค้างคาวที่คล้ายกับ SARS-CoV-1, MERS-CoV, และ SARS-CoV-2

• ทำให้สามารถพัฒนาวัคซีน และยารักษาก่อนที่จะเกิดการระบาด

• ติดตามเก็บตัวอย่างจากประชากรค้างคาวทำให้สามารถตรวจพบไวรัสใหม่ๆ ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ

• ถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสทั้งจีโนมเพื่อติดตามบริเวณที่กลายพันธุ์ซึ่งจำเป็นสำหรับการติดเชื้อในมนุษย์

สรุปได้ว่างานบุกเบิกของ ดร.ฉี เจิ่งลี่ เกี่ยวกับ "ไวรัสโคโรนา" จาก "ค้างคาว"

ได้วางรากฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อคาดการณ์ ป้องกัน และตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนาในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น การค้นพบของเธอเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเฝ้าระวัง และการเตรียมพร้อมในระบบสาธารณสุขทั่วโลก "พจนานุกรมไวรัสโคโรนา" ของ ดร.ฉี เจิ่งลี่ น่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีคุณค่าอย่างยิ่งในการรับมือกับภัยคุกคามที่เกิดจากไวรัสโคโรนาจากสัตว์สู่คนในศตวรรษที่ 21

วิธีที่ ดร.ฉี เจิ่งลี่ และทีมวิจัยใช้ตรวจจับ และระบุสายพันธุ์ไวรัสโคโรนาที่มีความเสี่ยงสูง 20 สายพันธุ์จาก "ค้างคาว" คือ 

• เก็บตัวอย่างส่งตรวจจากประชากรค้างคาวทั่วประเทศจีน ทั้งจากอุจจาระ และการสวอปในช่องปากของค้างคาว

• ทำการทดสอบด้วยเทคนิค PCR เพื่อตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาในตัวอย่าง

• ตัวอย่างที่ PCR ให้ผลบวกต่อไวรัสโคโรนา จะถูกนำมาถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม

• นำข้อมูลรหัสพันธุกรรมโดยเฉพาะในส่วนยีนที่ควบคุมการสร้างส่วนหนามมาวิเคราะห์เปรียบความเหมือนความต่างกับส่วนหนามของโควิด-19 ที่ระบาดในคนอยู่ในขณะนี้

• ประเมินความสามารถของไวรัสในการเข้าจับกับตัวรับ “ACE2” บนผิวเซลล์ของมนุษย์ โปรตีนส่วนหนามหรือสไปค์ (spike protein) ของไวรัส SARS-CoV-2 สามารถจับกับโปรตีน ACE2 บนผิวของเซลล์ปอด ส่งผลให้ไวรัสสามารถเข้าสู่เซลล์ และเริ่มการติดเชื้อ

จีนเตือนทั่วโลก เตรียมพร้อมรับมือ \'ไวรัสโคโรนา\' 20 สายพันธุ์ใหม่ จากค้างคาว

ปัจจัยสำคัญที่ใช้ประเมินความเสี่ยงของ "ไวรัสโคโรนา" ที่แยกได้จาก "ค้างคาว"

• ตรวจสอบความคล้ายคลึงของรหัสพันธุกรรมกับโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรค (SARS-CoV-1, MERS-CoV, SARS-CoV-2)

• การมีอยู่ของการกลายพันธุ์ตำแหน่งสำคัญบริเวณส่วนหนามที่จำเป็นสำหรับการจับตัวรับ ACE2 บนผิวเซลล์มนุษย์

• หลักฐานของการวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว และการปรับรูปร่างของตัวรับเข้าจับ ACE-2

• การแพร่พันธุ์ของค้างคาวสายพันธุ์ที่ทราบกันว่าเป็นแหล่งรังโลกของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิม

• การไหลเวียนของประชากรค้างคาวที่มีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์

ตัวอย่างชนิดพันธุ์ไวรัสโคโรนา ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะข้ามมาสู่คน

  • Bat-SL-CoV-RaTG13 - 96% เหมือนกับ SARS-CoV-2
  • Bat-SL-CoV-RmYN02 – จับกับตัวรับ ACE2 เช่นเดียวกับ SARS-CoV-2
  • Bat-SL-CoV-SC2013 - คล้ายกับ MERS-CoV มาก

ผลที่อาจติดตามมาหากเราไม่เตรียมพร้อมสำหรับการระบาดของไวรัสโคโรนาครั้งใหม่ในอนาคต:

ผลที่ตามมาด้านสุขภาพ

  • อัตราการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยจะเพิ่มขึ้นหากการตอบสนองจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการระบาดล่าช้า
  • ระบบการรักษาพยาบาลของประเทศจะล้มเหลวไม่มีเตียงและอุปกรณ์พอเพียงในการรักษา
  • ความยากลำบากในการควบคุมการแพร่กระจายของไวรัสทำให้เกิดการติดเชื้อมากขึ้น
  • เกิดการระบาดใหญ่เป็นเวลานานและมีการติดเชื้อซ้ำอีก
  • การเกิดขึ้นของสายพันธุ์ใหม่อย่างต่อเนื่องที่สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจนไม่สามารถควบคุมได้

ผลที่ตามมาทางเศรษฐกิจ

  • ธุรกิจต่างๆ ถูกบังคับให้ปิดกิจการจากข้อจำกัดด้านสาธารณสุข
  • การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน และการขาดแคลนสินค้าที่จำเป็น
  • ความผันผวนของตลาดหุ้น และการชะลอตัวของเศรษฐกิจหรือภาวะถดถอย
  • ค่ารักษาพยาบาลที่สูงสำหรับการรักษา และการรักษาในโรงพยาบาล

ผลที่ตามมาทางสังคม

  • การหยุดเรียน หยุดเดินทาง หยุดกิจกรรมทางสังคม และหยุดบริการทางศาสนา
  • ผลกระทบต่อสุขภาพจิต เช่น ความวิตกกังวล อาการซึมเศร้า การใช้สารเสพติด
  • ความไม่มั่นคงทางการเมือง และการพังทลายของความไว้วางใจของประชาชนต่อสถาบันหรือรัฐบาล
  • ความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล การตรวจทดสอบคัดกรอง และการรับวัคซีน
  • การเผยแพร่ข้อมูลที่ผิด และทฤษฎีสมคบคิด

ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม

  • สต๊อกวัคซีน ยารักษาโรค อุปกรณ์ PPE
  • ปรับปรุงระบบการเฝ้าระวังทั่วประเทศเพื่อการตรวจจับการระบาดของไวรัสแต่เนิ่นๆ
  • พัฒนาแผนเพื่อเพิ่มการคัดกรอง และการติดตามผู้สัมผัสอย่างรวดเร็ว
  • เตรียมแผนการสื่อสารกับประชาชน และแผนบรรเทาทุกข์ทางเศรษฐกิจ
  • เพิ่มขีดความสามารถของโรงพยาบาลทั้งจากภาครัฐ และเอกชนด้านการดูแลสุขภาพเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วย
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการประสานงานการรับมือโรคระบาด

สรุปว่าหากไม่เตรียมพร้อม หรือขาดการวางแผนเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่อย่างเป็นระบบ และครบวงจรอาจทำให้การแพร่ระบาดยืดเยื้อ คร่าชีวิตผู้คนจำนวนมาก และทำให้สังคมและเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 อยู่แล้วสั่นคลอนยิ่งขึ้นไปอีก รัฐต้องลงทุนกับการเตรียมพร้อมรับมือการระบาดระลอกใหม่ของโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในทุกมิติโดยการถอดบทเรียนของการระบาดของโควิด-19 ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา

จีนเตือนทั่วโลก เตรียมพร้อมรับมือ \'ไวรัสโคโรนา\' 20 สายพันธุ์ใหม่ จากค้างคาว

  • การล่าไวรัสที่โลกไม่รู้จัก (Exotic virus hunting)

สิ่งที่มีคุณอนันต์ก็อาจมีโทษมหันต์ นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกหลายท่านเริ่มตระหนักถึงภัยของการติดตามค้นหาไวรัสที่เราไม่รู้จักซึ่งมีการแพร่ระบาดอยู่เฉพาะในสัตว์ป่า การล่าไวรัสที่เราไม่รู้จัก (exotic virus hunting) อาจเป็นการได้ไม่คุ้มเสียหรือไม่? กล่าวคือ กลับทำให้มนุษย์ และไวรัสในสัตว์ป่าเข้ามาใกล้ชิดกันมากขึ้นจนสุ่มเสี่ยงที่เจ้าหน้าที่ล่าไวรัสอาจติดเชื้อไวรัสเสียเองจนเกิดเป็นโรคระบาดติดต่อร้ายแรงไปทั่วโลกหรือเปล่า?

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์